วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ღ ด ว ง ต า เ ห็ น ธ ร ร ม ღ

ด ว ง ต า เ ห็ น ธ ร ร ม
โดย... หลวงพ่อชา สุภัทโท


ดวงตาเห็นธรรมนั้นคือดวงตาเห็นอะไร

คือดวงตาเห็นสิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดเป็นเบื้องต้น
ความแปรไปเป็นท่ามกลาง ความ ดับเป็นที่สุด

สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็คือ ทั้งหมด จะเป็นรูปก็ช่าง จะเป็นนามก็ ตาม
สิ่งใดสิ่งหนึ่งครอบรวมเลยทีเดียวได้แก่ ธรรมชาติทั้งหมด
เป็น สิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะเป็นรูปธรรมก็ช่าง จะเป็นนามธรรมก็ตาม
เกิดขึ้น แล้วก็แปรดับไป

อย่างตัวสกลร่างกายของเราก็เหมือนกัน
มันเกิดแล้ว ก็แปรไปตามธรรมดาของมัน แล้วมันก็ดับไป

อย่างคนเราเกิดมาเป็นเด็ก
จากเด็กแปรมาหนุ่ม จากหนุ่มก็ แปรไปเป็นแก่
จากแก่แปรไปเป็นชรา จากชราแล้วก็ตายดับไป

ต้นไม้ ภูเขา เถาวัลย์ ก็เหมือนกัน
มันแปรไปแล้วก็แก่ ไป

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ธรรมชาติเหล่านี้
เรียกว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ความเห็นหรือความเข้าใจ
อันเกิดมาจากผู้รู้ในคราวที่นั่งฟัง ธรรมอยู่นั้น
เข้าไปถึงใจอย่างแจ่มแจ้ง

สิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น ก็เลยเข้าฝัง
ในดวงจิตของพระอัญญาโกณฑัญญะ
จนเป็นเหตุให้ถอนตัวอุปธิ หรืออุปาทาน
ออกจากสังขารทั้งหลายทั้งปวงนั้นได้

เป็นต้นว่า สักกายทิฐิ คืออาการที่ไม่ถือเนื้อถือตัว
ทั้งหลายนี้เห็นตามสกลร่างกาย ของเราแล้ว
ก็ไม่เห็นว่าเป็นตัวเป็นตนของเรา เห็นชัดลงไป
จนเป็น เหตุให้ถอนจากอุปาทานนั้น ไม่ถือตัว
ซึ่งเป็น สักกายทิฐิ และไม่มี วิจิกิจฉา

เมื่อถอนอุปาทานออกมาจากความยึดมั่นถือมั่นแล้ว
ก็มิได้สงสัยเลยในธรรมทั้งหลาย
หรือในความรู้ทั้งหลาย
เข้าไปเห็นธรรมทั้งหลายเหล่านี้
แล้วก็เปลี่ยนออกไปเลยทีเดียว

รู้ว่านี่...วิจิกิจฉา
นี่...สีลัพพตปรามาส

การปฏิบัติของท่านนั้นแน่แน่วตรงเข้าไป
ไม่ได้เคลือบแคลงสงสัย ไม่ได้ลูบหรือไม่ได้คลำ

ถึงแม้ว่าสกลร่างกาย มันจะเจ็บ มันจะไข้เป็นไปอย่างใด
ท่านก็ไม่ลูบไม่คลำมัน ไม่ได้สงสัย เสียแล้ว

การที่ไม่ได้สงสัยนี้ ก็คือถอนอุปาทานออกมาแล้ว
ถ้ามี อุปาทานอยู่ก็ต้องไปลูบไปคลำในสกลร่างกายนี้
อาการลูบคลำใน สกลร่างกายนี้ เป็น สีลัพพตปรามาส
เมื่อถอนสักกายทิฐิออกจากกายนี้
สีลัพพตปรามาสก็หมดไป วิจิกิจฉาก็ไม่มี

ถ้าถอนสักกายทิฐิขึ้นอย่างเดียว
วิจิกิจฉาก็ไม่มี สีลัพพตปรามาสก็ไม่มี

ถ้าถอนสักกายทิฐิขึ้นอย่างเดียว
วิจิกิจฉาก็ เลิก สีลัพพตปรามาสก็เลิก

ถ้ายังมีสักกายทิฐิอยู่
วิจิกิจฉาก็ยังอยู่ สีลัพพตปรามาสก็ยังอยู่
อุปาทานก็ยังอยู่

เมื่อดวงตาเห็นธรรมก็หลุดพ้นจากอุปาทาน

อันนี้แสดงว่าธรรมะที่สมเด็จพระบรมศาสดาของเราท่านแสดงในคราวนั้น
พระอัญญาโกณฑัญญะฟังแล้วได้ดวงตาเห็นธรรม

ดวงตานั้นก็คือผู้รู้แจ้งนั่นเอง เรียกว่าดวงตาเห็นธรรม
คือเห็นธรรม หรือธรรมดาอันนี้เอง
เมื่อเห็นชัดลงไปอย่างนี้ก็ถอนอุปาทานได้

ฉะนั้นการถอนอุปาทานได้นี้
จึงรู้สึกว่ามันเกิด ผู้รู้ขึ้นมาจริงๆ
เมื่อก่อนก็รู้อยู่เหมือนกันแต่มันถอนอุปาทานไม่ได้ นั่น

เรียกว่าผู้รู้ธรรมอยู่
แต่ไม่เห็นธรรม
เห็นธรรมอยู่แต่ไม่เป็นธรรม
เพราะ ไม่รู้ตามสภาวะของมัน

ฉะนั้นพระบรมศาสดาท่านจึงตรัส

“อัญญาสิ อัญญาสิวตโภ โกณทัญโญ ได้รู้แล้วหนอ รู้แล้วหนอ”

รู้อะไรละ ท่านรู้ อะไร ก็คือได้รู้ธรรมชาติที่มันเป็นอยู่นี่เอง

เราทั้งหลายมักหลงธรรมชาติ
อย่างสกลร่างกายนี้ กายของ เรานี้
ประกอบขึ้นด้วยดิน น้ำ ไฟ ลม มันก็เป็นธรรมชาติ
ที่เรียกว่า วัตถุที่มองเห็นด้วยตา
มันอยู่ด้วยอาหารเจริญมา เจริญมา เจริญขึ้น มา
แล้วก็แปรไป ถึงที่สุดมันก็ดับไปเช่นกัน

วิญญาณ จิต ผู้รู้ ผู้คุ้มครองภายใน
ส่วนข้างในนั้น ผู้คุ้มครองอยู่ซึ่งกายนี้
ก็คือ วิญญาณ ผู้รู้ นี้ แหละ
ผู้รู้ผู้เดียวนี้แหละ

ถ้าไปรับทางตาก็เป็นจักษุวิญญาณ
ถ้าไปรับ ทางหูก็เรียกโสตวิญญาณ
ถ้าไปรับทางจมูกก็เรียกฆานะวิญญาณ
ไป รับทางลิ้นก็เรียกชิวหาวิญญาณ
ไปรับทางกายก็เรียกกายวิญญาณ
รับทางจิตก็เรียกมโนวิญญาณ

ตัววิญญาณนี้ตัวเดียว
เกิดขึ้นที่ไหนก็เรียกว่าผู้รู้ทั้งนั้น

ไปรู้ ทางตา ก็เรียกไปอย่างหนึ่ง
ไปรู้ทางหู จมูก ก็เรียกไปอย่างหนึ่ง
รู้ที่ตา รู้ที่หู รู้ที่จมูก รู้ที่ลิ้น รู้ที่กาย รู้ที่จิต
มันก็ตัวผู้รู้อันเดียวนี้แหละ

ผู้รู้อัน เดียวนี้ไม่ใช่ผู้อื่น
ตัวผู้รู้อันเดียวนี้เรียกว่าวิญญาณ
ก็วิญญาณหก อย่างนี้แหละ
ชื่อมันว่าหกเฉยๆ
คือมันไปรู้อยู่ที่นั่นบ้างที่นี่บ้าง
รู้ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย จิต อย่างนี้แหละ

ไปรู้ที่ตาบ้าง รู้ที่หูบ้าง รู้ที่จมูกบ้าง
ที่ลิ้นบ้าง ที่กายบ้าง ที่จิตบ้าง
เขาจึงเรียกว่าหก
ความจริงมันไม่มีหกหรอก
มันไปรู้ในช่องทั้งหกเท่านั้นแหละ

เพราะช่องทั้งหกมันเป็นประตูผ่านเข้ามาสู่ผู้รู้อันเดียว
ผู้รู้เดียว สามารถจะรู้ทั่วถึงในทวารทั้งหกอย่างนี้
เราจึงเรียกว่าวิญญาณหก

วิญญาณหกนี่แยกออกโดยปริยัติ
ความเป็นจริงมีผู้รู้ผู้เดียว เท่านั้น

รู้ทางตาก็ว่าอย่างหนึ่ง
รู้ทางหูก็ว่าอย่างหนึ่ง
รู้ทางจมูก ทาง ลิ้น ทางกาย ทางใจ ก็ว่าอย่างหนึ่ง

ความเป็นจริงก็คือคนเดียวนี้เองแหละ

วิญญาณคือผู้รู้ผู้เดียว คือดวงจิตของเรา
ผู้รู้นี้แหละจะเป็นเหตุ
ให้มีอำนาจสามารถรู้สภาวะหรือธรรมชาติตามเป็นจริง

ถ้าตัวนี้ยังมีเครื่องปกปิดอยู่เมื่อใด
ความรู้อันนี้ท่านเรียกว่า โมหธรรม
คือรู้ไปในทางที่ผิด รู้ผิด เห็นผิด

ก็ตัววิญญาณตัวเดียวนี้ แหละ
ผู้รู้ตัวเดียวนี้เองไม่มีตัวอื่นอีก

รู้ผิดเห็นผิด รู้ถูกเห็นถูก ก็ตัวเดียวนี้เอง

เพราะเช่นนี้ท่านจึงว่าเป็น มิจฉาทิฐิ สัมมาทิฐิ
ไม่มีสองตัว มีตัวเดียว
ผิดก็เกิดขึ้นจากตัวเดียว ถูกก็เกิดขึ้นจากตัวเดียว

เมื่อโมหะเกิดในทางที่ผิด
ก็เรียกว่าโมหะมันกำบัง ความรู้อัน นี้มันก็ผิดไป
เมื่อความรู้ผิด มันก็มีความเห็นผิด
ดำริผิด การงานผิด เลี้ยงชีวิตผิด ผิดไปหมด เป็นมิจฉาทิฐิ

อันนี้ท่านจึงว่าองค์ของมรรคก็เหมือนกัน

สัมมาทิฐิคือความเห็นชอบ
ความเห็นชอบก็เกิดจากผู้รู้ เดียว

ถ้ามันชอบแล้ว ความไม่ชอบมันก็หายไป
ถ้ามันถูกแล้ว ความผิดมันก็หายไป

ฉะนั้นสมเด็จพระบรมศาสดา
ท่านประพฤติหรือปฏิบัติอยู่นั้น
ทรงทรมานสกลร่างกายของท่านด้วยเรื่องอาหารบริโภคต่างๆ
จนร่าง กายท่านซูบผอมลงไป
อย่างที่เราเรียนมาฟังมา
แล้วท่านก็พิจารณา เข้าไป
พิจารณาเข้าไป เข้าไป เข้าไป แล้วก็ถอนออกมา

ได้ความรู้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้ตรัสรู้ทางจิต
เพราะกายนี้มันไม่รู้จักอะไร
กาย นี้จะให้มันกินก็ได้ จะไม่ให้มันกินก็ได้
ฆ่ามันทิ้งเมื่อไรก็ได้ กายนี้ฆ่า ทิ้งได้

เมื่อท่านได้ความรู้แล้วว่า
พระพุทธเจ้าทั้งหลายบำเพ็ญทางจิต
ความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอยู่ที่จิต
เมื่อท่านมาพิจารณาถึง จิตของท่าน
ท่านก็ได้ออกจากการปฏิบัติทรมานกาย

เมื่อท่านแสดงธรรม
เรื่อง กามสุขัลลิกานุโยโค อัตตกิลมถานุ โยโค
ท่านจึงแสดงขึ้นอย่างชัดแจ้งเลยทีเดียว
เพราะท่านได้เห็นแล้ว
ธรรมเทศนาอันนี้มันจึงชัดในใจของพวกคนทั้งหลาย
ที่มา : http://buddhadham.zzl.org
เครดิตภาพ : Google


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น