อุบายทำให้จิตสงบ 10 ประการ
1. มักน้อย ในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติเราต้องมักน้อย ปรารถนาน้อย เหมือนพระที่พอใจในอัฐบริขารเพียง 8 ประการ เมื่อมักน้อยแล้วจิตจะนิ่งง่าย เพราะสิ่งกระทบใจให้เกิดความโลภ โกรธ หลงลดน้อยลง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการกิน หากรู้จักกินอย่างพอดี เพียงแค่พอให้ร่างกายนี้อยู่ได้เพื่อปฏิบัติธรรม ความอิ่มที่พอดีย่อมจะเกื้อกูลการปฏิบัติ ไม่ใช่สร้างความง่วงเหงาหาวนอนมาขัดขวาง เหมือนกับการกินจนพุงกางด้วยความมักมาก หรือติดใจในรสชาติแล้วกินมากจนเกินอิ่ม
2. สันโดษ หากต้องการให้จิตสงบต้องสันโดษ คือ รู้จักพอ พอใจในสิ่งที่ตนเป็น ตนมี ตนได้รับ ทำเต็มที่เท่าที่จะทำได้ แต่พอใจกับผลที่ได้รับ แล้วจิตจะสงบ มีความสุข ไม่ว้าวุ่น ไม่ดิ้นรน
3. ความสงัด พยายามหาโอกาสอยู่ในที่ที่สงบเงียบ สงัดกาย สงัดใจ เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติ แล้วจะทำให้จิตสงบได้ง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ พระธุดงค์จึงเลือกที่จะออกไปสู่ป่าเพื่อหาที่สงัด เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
4. ปลีกตัวออกจากหมู่คณะ ที่บางคนเรียกว่าการปลีกวิเวกนั้น สามารถสร้างความสงบให้เกิดขึ้น และช่วยเพิ่มพลังสติ สมาธิ และปัญญาให้มากขึ้นได้ หากต้องการประพฤติปฏิบัติธรรมให้ได้มรรคผลก้าวหน้า จึงต้องพยายามปลีกตัวอยู่ห่างจากหมู่คณะ เพื่อจะได้ไม่ต้องพูดคุยและทำในเรื่องที่ไร้สาระ กระตุ้นให้เกิดกิเลสตัณหาที่จะทำให้พลังจิตอ่อนลง จิตจึงสงบยาก
5. ความเพียร เป็นตัวการสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จทุกประเภท ความเพียรจึงเป็นองค์ประกอบของหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จ อย่างอิทธิบาท 4 สัมมัปปธาน 4 และพละ 5 ซึ่งเป็นหลักธรรมสำคัญที่ผู้ปฏิบัติพึงนำมาใช้ในการฝึกฝนตนเอง ฉะนั้น หากต้องการให้จิตสงบ6. ศีล อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ศีลเป็นพื้นฐานของความสงบนิ่ง และเป็นปกติของจิต
6. ศีล อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ศีลเป็นพื้นฐานของความสงบนิ่ง และเป็นปกติของจิต
7. สมาธิ เมื่อฝึกฝนจนเกิดเป็นสมาธิแล้ว ต้งอรู้จักนำสมาธิแต่ละชนิดไปใช้ให้เกิดประโยชน์และเกื้อกูลต่อการประพฤติปฏิบัติ เช่น ใช้ขณิกสมาธิเป็นพื้นฐานในการศึกษาเล่าเรียน การทำกิจการงาน การสร้างสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และใช้อุปจารสมาธิเป็นพื้นฐานของการฝึกวิปัสสนากรรมฐานจนเห็นสรรพสิ่งเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ และเกิดปัญญาเห็นแจ้งในที่สุด
8. ปัญญา เมื่อเกิดสมาธิขึ้นแล้ว ต้องรู้จักนำปัญญาที่เกิดจากสมาธิมาพิจารณาสิ่งกระทบจนปัญญาญาณเห็นแจ้งเกิด เพื่อให้จิตปล่อยวางสิ่งที่เป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน และสงบนิ่งอย่างแท้จริงด้วยอุเบกขา
9. ความหลุดพ้น เมื่อปฏิบัติแล้วต้องโยนิโสมนสิการจนกระทั่งจิตสามารถเห็นแจ้งถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาของสรรพสิ่ง แล้วความหลุดพ้นจากสิ่งเศร้าหมอง คือกิเลสใหญ่ทั้ง 3 ตัว คือโลภ โกรธ หลง จึงจะเกิด และสามารถนำจิตพ้นไปจากกิเลสที่เหลือได้
10. ความรู้ความเห็นว่าหลุดพ้นนั้นมีด้วยกันมากมายหลายแนวความเชื่อ บ้างเชื่อว่าบุคคลสามารถหลุดพ้นได้ด้วยศรัทธา หากศรัทธาในพระพุทธเจ้ามากพอจะหลุดพ้นได้ ก่อนตายจึงกอดพระพุทธเจ้าไว้แน่น เพราะเชื่อว่าตายแล้วจะได้ไปอยู่กับพระพุทธเจ้า โดยลืมพิจารณาไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนว่า จริง ๆ แล้วศรัทธาแบบนั้นไม่ได้ทำให้ความโลภ ความโกรธ ความหลง หมดไปได้เลย แต่กลับเป็นศรัทธาที่อยู่บนพื้นฐานของความหลงเสียเอง จึงยังห่างไกลนักจากความหลุดพ้น ในขณะที่บ้างก็เข้าใจว่า สมาธิจะทำให้หลุดพ้นได้เหมือนอาจารย์ทั้งสองของเจ้าชายสิทธัตถะ คือ อุทกกดาบสและอาฬารดาบส ซึ่งตายในอรูปฌาณสมาบัติ ด้วยเข้าใจผิดว่านั่นคือนิพพาน
ความเข้าใจที่ผิด ๆ เกี่ยวกับควาหลุดพ้น จึงสารถสร้างความเสียายที่ยิ่งใหญ่แก่ผู้ปฏิบัติ เพราะฉะนั้นก่อนจะเชื่ออะไร จึงต้องอาศัยปัญญาโยนิโสมนสิการพิจารณาให้ถ่องแท้เสียก่อน อย่าเชื่อโดยไม่ได้พิสูจน์ด้วยการประพฤติปฏิบัติจนเห็นจริงด้วยตนเอง
ความเข้าใจที่ผิด ๆ เกี่ยวกับความหลุดพ้น
จึงสามารถสร้างความเสียหายที่ยิ่งใหญ่แก่ผู้ปฏิบัติ
เพราะฉะนั้นก่อนจะเชื่ออะไร จึงต้องอาศัยปัญญาโยนิโสมนสิการพิจารณาให้ถ่องแท้เสียก่อน
อย่าเชื่อโดยไม่ได้พิสูจน์ด้วยการประพฤติปฏิบัติจนเห็นจริงด้วยตนเอง
จากหนังสือ ยิ่งกว่าสุขเมื่อจิตเป็นอิสระ ของ ดร.สนอง วรอุไร
ที่มา : http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=9719.0
เครดิตภาพ : Google
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น