วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน

ประโยชน์ของสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ♦

1. ทำคนให้ฉลาด เพราะจะรู้จักทั้งบัญญัติและปรมัตถ์เป็นอย่างดี ละเอียดรอบคอบขึ้นมาก

2. ทำคนให้มีศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม

3. ทำคนให้สนิทสนมกลมกลืนกัน กรุณาเอ็นดูสงสารกัน พลอยยินดีอนุโมทนาสาธุการเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี

4. ทำคนให้เว้นจากเบียดเบียนกัน เว้นจากการเอารัดเอาเปรียบกัน

5. ทำคนให้รู้จักตัวเอง และรู้จักปกครองตัวเอง

6. ทำคนให้ว่านอนสอนง่าย ไม่มานะถือตัว ไม่เย่อหยิ่งจองหอง

7. ทำคนให้หันหน้าเข้าหากัน เพราะต่างฝ่ายต่างลดทิฏฐิมานะลง

8. ทำคนให้หนักแน่นในกตัญญูกตเวทิตา

9. ทำคนให้เป็นผู้ประเสริฐ เพราะเหตุว่า การปฏิบัติธรรมนี้ย่อมเป็นไปเพื่อคุณสมบัติเหล่านี้ คือ

1.เพื่อละนิวรณ์ 5

2.เพื่อละกามคุณ 5

3.เพื่อหัดให้คนเป็นผู้รู้จักประหยัด

4.เพื่อละอุปาทานขันธ์ 5

5.เพื่อละสังโยชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท

6.เพื่อละคติ 4 คือ นรกภูมิ เปตติวิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ และดิรัจฉานภูมิ เมื่อได้ญาณ 16 ในวิปัสสนากรรมฐานโดยเด็ดขาดไม่ว่าจะเกิดอีกกี่ชาติ(พระโสดาบันเกิดไม่เกิน7ชาติ เป็นอย่างมาก)ส่วนสมถกรรมฐานเมื่อได้ฌานที่ 1 ขึ้นไปก็อาจนำไปเกิดในพรหมโลกได้ แต่ก็ยังคงเวียนว่ายมาเกิดในอบายถูมิ4ได้อีกในชาติต่อๆไป ดังนั้น สมถกรรมฐานจึงไม่ ใช่การปฏิบัติที่ละ อบายภูมิ 4 ได้โดยเด็ดขาด

7.เพื่อละความตระหนี่ 5 คือ ตระหนี่ที่อยู่ ตระหนี่ตระกูล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม

8.เพื่อละสังโยชน์เบื้องบน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา

9.เพื่อละตะปูตรึงใจ 5 คือ สงสัยในพระพุทธ สงสัยในพระธรรม สงสัยในพระสงฆ์ สงสัยในสิกขา ความโกรธไม่พอใจในเพื่อนพรหมจรรย์

10.เพื่อละเครื่องผูกพันจิตใจ 5 คือ ไม่ปราศจากความชอบใจทะยานอยากในกาม ในรูปความสุขในการกิน การนอน การรักษาศีลเพื่อเทพนิกาย

11.เพื่อก้าวล่วงความโศกเศร้าเสียใจ (ทุกข์ทั้งหลาย) ดับทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุมรรคผล นิพพาน

12.อานิสงส์อย่างสูงให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อย่างกลางก็ให้สำเร็จเป็นพระอนาคามี สกทาคามี โสดาบัน อย่างต่ำไปกว่านั้นที่เป็นสามัญ ก็เป็นผู้ที่มีคติเที่ยงที่จะไปสู่สุคติ

13.ชื่อว่า ได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยปฏิบัติบูชา

14.ชื่อว่า เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้า

15.ชื่อว่า เป็นผู้ได้บำเพ็ญสิกขา 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

16.ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาท เพราะมีสติอยู่กับรูปนามเสมอ ความไม่ประมาทนั้นคือ อยู่ไม่ปราศจากสตินั่นเอง

17.ชื่อว่า ได้เป็นผู้ทรงธรรม

18.ชื่อว่า ได้เป็นผู้ปฏิบัติถูกต้อง

19.ชื่อว่า ได้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 ทางสายกลาง

20.ชื่อว่า ได้เข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง คือถึงด้วยอำนาจแห่งการปฏิบัติ คือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เกิดกับการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตั้งแต่ ภังคญาณ เป็นต้นไป จนถึง มรรคญาณ ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณ


ที่มา : http://th.wikipedia.org/
เครดิตภาพ : Google

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น