วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

♦ หาจิตให้เจอ ♦


"การหาจิตให้เจอ"
โดยพระครูเกษมธรรมทัต (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี)

วิปัสสนา คือ ความรู้แจ้งเห็นจริงการเจริญสติ จึงต้องระลึกให้ตรงกับสภาวธรรมชาติ(จิต - เจตสิก - รูป = ปรมัตถธรรม) ที่เป็นจริง ให้บ่อยๆ เนืองๆ


ถ้าไม่ระลึกตรงต่อปรมัตถ์ ก็จะไปสู่บัญญัติ ไปรู้ที่บัญญัติอารมณ์อันเป็นสมมุติ เป็นของปลอม ไม่มีสภาวะ ไม่มีสภาพความเป็นจริงโดยแท้ไม่มีเกิดดับ ไม่เป็นไตรลักษณ์

เห็นของจริงตามความเป็นจริง ทิ้งสมมุติ เพิกบัญญัติอยู่กับปรมัตถ์ล้วนๆ ให้มากๆ รู้จักปรับ รู้จักปล่อย รู้จักวางไม่ยึด ไม่ติด ไม่เอาอะไรทั้งหมด



ต้องเข้าใจว่า ปรมัตถ์ ไม่ใช่รูปร่าง ท่าทาง ทรวดทรง สัณฐานความหมาย ชื่อ ภาษา - ชื่อหรือภาษาที่จิตคิด นึกถึง จดจำเป็นภาษา-คำ-ประโยค เกิดเป็นอารมณ์ของจิตอันเป็นการอยู่กับ 'บัญญัติอารมณ์'


วิตก-ตรึก / วิจาร-นึก / สัญญา-จำ เคล้าไปในอารมณ์ ปรุงแต่งจิตให้แล่นไปสู่อารมณ์ที่เป็นสมมุติ ปรุงๆ จิตก็มีอารมณ์เป็นเรื่องเป็นราวเป็นสมมุติขึ้นมา (แต่ตัวความตรึก นึก ระลึกรู้ เองนั้นเป็นปรมัตถ์)
ถ้ามาระลึกรู้ที่ปรมัตถ์ เรื่องก็จะขาดลง ภาษา หลุดจากเรื่อง ชื่อความหมาย เรื่องขาดลง คำพูดหาย ภาษา ชื่อภาษา รูปร่าง มโนภาพหายไป ก็คือ เรื่องขาดลง เหมือนฉายหนัง เอาแสงผ่านฟิล์มภาพบนจอเปรียบเสมือนอารมณ์ เป็น สมมุติบัญญัติฟิล์มและแสงเป็นปรมัตถ์ เมื่อฟิล์มขาด ภาพบนจอก็หายไป


ถ้าสติมารู้ความคิด ก็คือ กลับมาสู่ปัจจุบันเรื่องอดีตและอนาคตก็จะหายไปการที่สติอยู่กับอารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน อารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์จิตก็จะมีความสบาย เบา ผ่องใส เพราะกิเลสถูกขัดเกลาออกไปจิตใจจะปกติขึ้น แต่ถ้าเผลอไปสู่เรื่องอดีต อนาคตก็จะเกิดความยินดียินร้าย โลภ โกรธ หลง ฟุ้งซ่าน ทุกข์ ฯลฯเพราะว่าขาด สติ ดูแลรักษา จิต

ดังนี้ ปัญญาก็จะเกิด

ทางกายก็เช่นกัน สติจะรู้อยู่แค่ที่กาย ไม่ขยายไปสู่รูปร่าง ทรวดทรงสัณฐาน มโนภาพ ของกาย - รู้แค่ความรู้สึก ความไหว ความสั่นสะเทือนความสบาย ความไม่สบาย (ถ้านึกท่าทาง ก็จะไปนึกตีความหมายขยายออกเป็นสมมุติ) เพราะฉะนั้น รู้กาย ก็คือ รู้แค่ความรู้สึกเท่านั้น
เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ไหว ตึง กระเพื่อม ล้วนมากระทบ แล้วก็ดับไปเวทนาก็เกิดดับ จิต (ตัวรู้) ก็เกิดดับ


จะต้องระลึกรู้สัมผัสสัมพันธ์ทั้งทางกายและใจ รู้ความไหวทางกายรู้ความไหวทางจิต รู้สัมพันธ์กันไปทั้งส่วนที่เป็นรูปและนามเข้าสู่ความเป็นปกติ ไร้จากการบังคับแม้แต่จิตส่งออกนอกก็ไม่ต้องดึงกลับ (เพราะถ้าดึงกลับก็คือยังไม่ปกติยังบังคับบัญชาอยู่) สติรู้ความคิด เดี๋ยวก็กลับมาเอง


สติเองก็ดับ ระลึกรู้แล้วก็จบ ดับ เพราะฉะนั้น สติต้องเกิดบ่อยๆ เนืองๆเมื่อฝึกมากๆ ขึ้น จะไม่มีการจัดแจง ไม่มีกฎระเบียบว่าจะต้องเอาอะไรไปตรงไหนก่อน แล้วแต่อะไรจะเกิดก็รู้ตรงนั้น เมื่อนั้นพร้อมที่จะรู้เสมอ


จิต มีลักษณะอย่างไรจิต คือ สภาพรู้ รู้อารมณ์นั้น อารมณ์นี้ สภาพดู...สภาพดู นี้เอง ที่จะต้องเข้าไปรู้ตัวของตัวเองจิตที่ปรุงแต่ง คิดนึก ก็รู้ (จิตที่มีเจตสิกปรุงแต่ง)อีกระดับที่รู้ได้ยาก คือ จิตของผุ้ที่ปฏิบัติ มีสติ สัมปชัญญะสงบสำรวม นิ่งอยู่ ไม่คิดอะไร แม้จิตเช่นนี้ ไม่ปรุงแต่งแต่ก็เป็นกระแสของสภาพรู้อยู่ เป็นสภาพรู้อยู่ต้องเข้าไประลึกรู้จักจิตในสภาพนี้ ขณะที่ทรงตัวอยู่ นิ่ง หยุดไม่คิดอะไร เฉยๆ นิ่งๆ แต่ก็เป็นสภาพที่เกิดดับสภาพรู้เกิดดับอยู่เรื่อย ก็จะเห็นตัวเองดับ

เมื่อจิตเข้าไปดูจิต เห็นจิตดับไปอย่างรวดเร็ว และก็ดับไปพร้อมๆ กันจิตเช่นนี้ต้องทวนกระแส หัดดูใกล้ๆ กระชั้น กระชับเข้ามาอย่าขยายออกไปข้างนอก

จิตจะรู้จิตได้ คือ ต้องทำให้มันหยุดอยู่ ไม่แล่นไป ไม่ค้นหาไม่ขวนขวายใดๆ อยู่กับที่ นิ่งๆ เฉยๆ จิตจะทวนเข้ามารู้ตัวเองดูสภาพรู้ (ตัวดู = ตัวรู้ = สภาพรู้ = ผู้รู้ = รู้อารมณ์อยู่)ถึงจิตจะอยู่นิ่ง ก็ยังรู้อยู่ ยิ่งจะไม่ดูก็จะยิ่งรู้ยิ่งจะดูก็จะไม่เห็น ยิ่งทำ ยิ่งค้นหา ก็ยิ่งไม่เห็นแต่ถ้าหยุดดู ก็จะรู้ขึ้น

เพราะฉะนั้น การปฏิบัติมากๆ ขึ้น คือ หยุดดู หยุดค้นหาจิตจะรู้ตัวเอง เห็นอาการในตัวเอง เห็นความจริงของตัวเองดูผู้รู้ ดูความรู้สึก

ถ้าดูจิตไม่เป็น การปฏิบัติจะไม่ก้าวไปไหนอย่างดีก็มาติดที่ความว่าง กายนิ่ง เพราะเมื่อมีสมาธิ กายจะไม่ค่อยรู้สึกก็จะว่าง ไม่มีอะไรให้ดู ก็จะว่าง เป็นสมถะแต่ถ้าดูจิตเป็น ก็จะเห็นสภาพเกิดดับอยู่เรื่อยๆวิปัสสนาจะไม่ว่างเปล่า มีรูปนามป้อนให้เห็นเกิดดับอยู่ตลอดสติต้องอยู่กับรูปนามตลอดไป

ที่มา :
http://www.larndham.org/




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น