นักปฏิบัติธรรม เมื่อได้เข้ามาศึกษาธรรมะ ได้ปฏิบัติธรรมะ
พิจารณาอยู่ซึ่ง สติปัฏฐาน เฝ้าดูอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกของตนอยู่
จากอายตนะภายนอก อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ทั้งที่เป็น อดีตปัจจุบัน และอนาคต ที่มากระทบ หรือเกิดขึ้นเองทางมโนทวารนั้น
สิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นจากการเฝ้าดูจิตของตนนั้น
นักปฏิบัติบางท่านอาจความรู้สึกว่า..
"ตนเองเป็นคนที่ไม่ดี มีความคิดที่ไม่ดี "
....มีแต่ ราคะ โลภะ โทษะ โมหะ...
มีจิตที่คิดในกามารมณ์ มีจิตคิดโลภอยากได้ต้องการ
มีความโกรธแวบเกิดขึ้นอยู่ ในทันทีที่กระทบ ไม่ว่าทางตา หรือ หู
ทั้งๆที่อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านั้น เป็นสิ่งที่ตนเองไม่ต้องการให้เกิด
เป็นสิ่งที่ตนเองนั้นรู้ว่า ไม่ดี เป็นอารมณ์ที่ตนเองนั้นไม่ต้องการ..
แต่อารมณ์ต่างๆเหล่านั้นก็มักเกิดอยู่เสมอๆ
จนรู้สึกว่า " เรานั้นช่างแย่เหลือเกิน ช่างเลวเหลือเกิน "
...จิตใจหดหู่ เศร้าหมอง เพราะความรู้สึกนั้นๆ ...
ที่เราท่านทุกข์อยู่นั้น..
เพราะเราท่านคิดว่า..ความคิดนั้นๆนั่น
....เป็นความคิดของเรา....
....เป็นเราที่คิด....
...เป็นเราที่ไม่ดี....
....เป็นจิตของเรา เป็นเราที่เลว....
พิจารณาอยู่ซึ่ง สติปัฏฐาน เฝ้าดูอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกของตนอยู่
จากอายตนะภายนอก อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ทั้งที่เป็น อดีตปัจจุบัน และอนาคต ที่มากระทบ หรือเกิดขึ้นเองทางมโนทวารนั้น
สิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นจากการเฝ้าดูจิตของตนนั้น
นักปฏิบัติบางท่านอาจความรู้สึกว่า..
"ตนเองเป็นคนที่ไม่ดี มีความคิดที่ไม่ดี "
....มีแต่ ราคะ โลภะ โทษะ โมหะ...
มีจิตที่คิดในกามารมณ์ มีจิตคิดโลภอยากได้ต้องการ
มีความโกรธแวบเกิดขึ้นอยู่ ในทันทีที่กระทบ ไม่ว่าทางตา หรือ หู
ทั้งๆที่อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านั้น เป็นสิ่งที่ตนเองไม่ต้องการให้เกิด
เป็นสิ่งที่ตนเองนั้นรู้ว่า ไม่ดี เป็นอารมณ์ที่ตนเองนั้นไม่ต้องการ..
แต่อารมณ์ต่างๆเหล่านั้นก็มักเกิดอยู่เสมอๆ
จนรู้สึกว่า " เรานั้นช่างแย่เหลือเกิน ช่างเลวเหลือเกิน "
...จิตใจหดหู่ เศร้าหมอง เพราะความรู้สึกนั้นๆ ...
ที่เราท่านทุกข์อยู่นั้น..
เพราะเราท่านคิดว่า..ความคิดนั้นๆนั่น
....เป็นความคิดของเรา....
....เป็นเราที่คิด....
...เป็นเราที่ไม่ดี....
....เป็นจิตของเรา เป็นเราที่เลว....
ขอท่านนักปฏิบัติ ระลึกถึงหลักในพระธรรมคำสอน
ในพระไตรลักษณ์เพื่อใช้ในการพิจารณาสภาวธรรม
นั่นคือ " อนัตตา " ความไม่ใช่ตัวตนของเรา "
ความที่เรานั้นไม่สามารที่จะควบคุมได้
สมเด็จพระพุทธองค์ทรงสอนไว้ให้พิจารณาว่า
" ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ควรยึดถือเอา "
ไม่ควรยึดถือเอาซึ่ง ขันธ์ ๕ ประการ
คือ รูป เวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณ
เพราะสิ่งใดก็ตามที่เราเข้าไปยึดถือ สิ่งนั้นนำมาซึ่งความทุกข์
ความคิดของเราก็เช่นเดียวกัน
มันเกิดการกระทบ มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วมันก็จะดับไปของมันเอง
มันคิดก็เป็นเรื่องของความคิด ความปรุงแต่ง เป็นเรืองของมัน
ขอเราเป็นแต่เพียงผู้รู้ ผู้ดู เพราะแท้จริงจิตที่เราคิดว่าเรานั้น ก็เป็น " อนัตตา "
ในพระไตรลักษณ์เพื่อใช้ในการพิจารณาสภาวธรรม
นั่นคือ " อนัตตา " ความไม่ใช่ตัวตนของเรา "
ความที่เรานั้นไม่สามารที่จะควบคุมได้
สมเด็จพระพุทธองค์ทรงสอนไว้ให้พิจารณาว่า
" ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ควรยึดถือเอา "
ไม่ควรยึดถือเอาซึ่ง ขันธ์ ๕ ประการ
คือ รูป เวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณ
เพราะสิ่งใดก็ตามที่เราเข้าไปยึดถือ สิ่งนั้นนำมาซึ่งความทุกข์
ความคิดของเราก็เช่นเดียวกัน
มันเกิดการกระทบ มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วมันก็จะดับไปของมันเอง
มันคิดก็เป็นเรื่องของความคิด ความปรุงแต่ง เป็นเรืองของมัน
ขอเราเป็นแต่เพียงผู้รู้ ผู้ดู เพราะแท้จริงจิตที่เราคิดว่าเรานั้น ก็เป็น " อนัตตา "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น