อุทานธรรม
โดย..หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงปู่ยังกล่าวธรรมกถาต่อมาอีกว่า สมบัติพัสถานทั้งหลายมันมีประจำอยู่ในโลกนี้มาแล้วอย่างสมบูรณ์ ผู้ที่ขาดปัญญาและไร้ความสามารถ ก็ไม่อาจจะแสวงหาเพื่อยึดครองสมบัติเหล่านั้นได้ ย่อมครองตนอยู่ด้วยความฝืดเคืองและลำบากขันธ์ ส่วนผู้ที่มีปัญญา มีความสามารถ ย่อมแสวงหายึดสมบัติของโลกไว้ได้อย่างมากมาย อำนวยความสะดวกแก่ตนได้ทุกกรณี ส่วนพระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านพยายามดำเนินตนเพื่อออกจากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ไปสู่ภาวะแห่งความไม่มีอะไรเลย เพราะว่า
“ในทางโลก มี สิ่งที่ มี ส่วนในทางธรรม มี สิ่งที่ ไม่มี”
ที่มา : http://ixicado.net เครดิตภาพ : Google
วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555
ღ รู้จิต รู้ความคิด ღ
ตามรู้จิต ตามรู้ความคิด
โดย..หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
ท่านทั้งหลายได้ปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณคมน์แล้ว และได้สมาทานศีล ๕ ศีล ๘ ก็เป็นการชำระกายวาจาของตนเองให้บริสุทธิ์ เป็นการปรับพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์ ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ตรงที่มีศีล ๕ ข้อ เมื่อทุกท่านได้สมาทานศีล ๕ ข้อแล้ว และไม่ได้ละเมิดล่วงเกินข้อใดข้อหนึ่ง ท่านก็เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์และเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ จึงขอให้เตรียมตัวให้พร้อมที่จะนั่งสมาธิภาวนา
ท่านจะนั่งท่าไหน อย่างไร ก็สุดแต่ที่ท่านถนัดที่สุด นั่งในท่าที่สบาย อย่าเกร็งร่างกายหรือกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่ง นั่งให้สบาย หายใจให้สบาย บัดนี้ท่านทั้งหลายได้เตรียมพร้อมแล้ว ขอได้โปรดประนมมือขึ้น น้อมนึกในใจว่า บัดนี้ข้าพเจ้าจะนั่งสมาธิเพื่อปฏิบัติบูชาพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ให้จิตของข้าพเจ้าแน่วแน่เป็นสมาธิมีสติปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในสภาวธรรมตามความเป็นจริง นึกในใจ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ น้อมจิตน้อมใจเชื่อมั่นลงไปว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ใจ พระธรรมอยู่ที่ใจ พระอริยสงฆ์อยู่ที่ใจ อาการที่พระพุทธเจ้ามีอยู่ที่ใจคือใจรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี อาการที่มีธรรมอยู่ในใจคือการทรงไว้ซึ่งความรู้สึกเช่นนั้นตลอดเวลา อาการที่พระสงฆ์อยู่ในใจคือความมีสติกำหนดจิตนึกบริกรรมภาวนาพุทโธไว้ตลอดเวลาไม่ให้พรากจากกัน แล้วเอามือวางลงบนตัก กำหนดรู้ลงที่จิต นึก พุท พร้อมลมเข้า โธ พร้อมลมออกก็ได้ ถ้านึกพุทโธพร้อมลมเข้าลมออก ช่วงหายใจยังห่าง จิตสามารถส่งกระแสออกไปทางอื่นได้ ให้ปล่อยความรู้ลมหายใจเสีย นึกพุทโธเร็วๆเข้า โดยนึกพุทโธด้วยความเบาใจ อย่าไปข่มความรู้สึก อย่าไปบังคับจิตให้สงบ นึกพุทโธๆๆเอาไว้ อย่าไปนึกว่าเมื่อใดจิตจะสงบ เมื่อใดจิตจะรู้ เมื่อใดจิตจะสว่าง ให้กำหนดรู้ลงที่จิตอย่างเดียว นึกพุทโธๆๆพุทโธก็อยู่กับจิต จิตก็อยู่กับพุทโธ เมื่อมีการตั้งใจนึกพุทโธ สติสัมปชัญญะจะมาเอง หน้าที่เพียงนึกพุทโธๆๆไว้จนกว่าจะถึงเวลาอันสมควร จิตจะสงบหรือไม่สงบไม่สำคัญ ให้เรานึกพุทโธไว้โดยไม่ขาดระยะเป็นเวลานานๆ จนกระทั่งจิตมันคล่องตัวต่อการนึกพุทโธ ในที่สุดจิตจะนึกพุทโธๆๆเองโดยไม่ได้ตั้งใจ เมื่อจิตนึกพุทโธเองโดยไม่ได้ตั้งใจ แสดงว่าการภาวนาของเรากำลังจะได้ผลแล้ว
ในเมื่อจิตนึกอยู่ที่พุทโธๆๆ พุทโธก็เป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ เมื่อจิตมีเครื่องรู้ สติมีเครื่องระลึก ผู้ปฏิบัติตั้งใจปฏิบัติให้มากๆ กระทำให้มากๆ ในที่สุดจิตจะเกิดความสงบ มีอาการหลายๆ อย่างที่จะพึงเกิดขึ้น ในบางครั้งจะรู้สึกว่าง่วงนอน มีอาการเคลิ้มๆ เหมือนจะหลับ ในตอนนี้ผู้ภาวนาเกิดกลัวว่าจะนอนหลับ จึงไปฝืนความรู้สึกเช่นนั้น เมื่อฝืนแล้วความรู้สึกก็คืนมาสู่สภาวะธรรมดา แล้วเราก็บริกรรมภาวนากันใหม่ ถ้าหากผู้ใดภาวนาแล้วมีอาการเคลิ้มๆลงไปเหมือนกับจะง่วงนอน ขอให้ปล่อยให้เป็นไปอย่างนั้น อย่าไปฝืน ถ้าจะเกิดความหลับขึ้นมา ก็ปล่อยให้หลับอยู่ในขณะที่นั่งอยู่นั่นแหละ เพราะจิตที่จะก้าวลงสู่สมาธิในเบื้องต้นมีอาการคล้ายกับจะหลับ สำหรับผู้หัดภาวนาใหม่ๆเมื่อภาวนามากเข้า จิตจะมีอาการเคลิ้มๆลงไป ถ้าเราปล่อยลงไปประคองให้มันเป็นไปตามเรื่องตามราวของมัน ในที่สุดจิตของเราจะเกิดอาการหลับ บางทีมีอาการวูบลงไป บางทีก็ค่อยเคลิ้มๆไป เกิดอาการหลับลงไปจริงๆ เมื่อมีอาการอย่างนั้นเกิดขึ้นแล้ว หลังจากนั้นจิตจะเกิดความสว่างขึ้น พอจิตเกิดความสว่าง จิตจะเริ่มบรรลุถึงความเป็น พุทธะ ผู้รู้ พุทธะ ผู้ตื่น พุทธะ ผู้เบิกบาน ในตอนนี้คำบริกรรมภาวนาจะหายไป ยังเหลือแต่จิตผู้รู้ปรากฏสว่างอยู่เท่านั้น
ในระยะแรกๆ เราจะรู้สึกว่าความสว่างพุ่งออกมาทางสายตา เมื่อกระแสจิตส่งออกไปข้างนอกตามแสงสว่าง จะเกิดภาพนิมิตต่างๆขึ้นมา เมื่อเกิดภาพนิมิตต่างๆขึ้นให้ผู้ภาวนากำหนดรู้อยู่ที่จิตเพียงอย่างเดียว อย่าไปเอะใจหรือตื่นใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ให้กำหนดว่านิมิตนี้เป็นเพียงเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ และนิมิตนี้เกิดขึ้นตอนที่จิตสงบเป็นสมาธิ แล้วประคองจิตให้อยู่ในสภาพที่สงบ นิ่ง สว่างอยู่ตามเดิม ในตอนนี้สำหรับผู้ภาวนาใหม่ สติสัมปชัญญะยังตามเหตุการณ์ไม่ทัน ในเมื่อเกิดนิมิตขึ้นมาแล้วมักจะหลง หลงติด บางทีก็เกิดความดีใจ บางทีก็เกิดความกลัว และเกิดความเอะใจขึ้นมา สมาธิถอน นิมิตนั้นหายไป แต่ถ้าสมาธิไม่ถอน จิตไปอยู่ที่นิมิตนั้น ถ้านิมิตนั้นแสดงความเคลื่อนไหว เช่น เดินไปวิ่งไป จิตของผู้ภาวนาจะละฐานที่ตั้งเดิม ละแม้กระทั่งตัวเอง จิตจะตามนิมิตนั้นไป คิดว่ามีตัวมีตน เดินตามเขาไป เขาพาไปขึ้นเขาลงห้วยหรือไปที่ไหนก็ตามเขาไปเรื่อยๆ ถ้าหากว่าผู้โชคดีก็ไปเห็นเทวดา เทวดาก็พาไปเที่ยวสวรรค์ ถ้าหากว่าผู้โชคไม่ดีจะไปเห็นสัตว์นรก สัตว์นรกก็พาไปเที่ยวนรก อันนี้เพราะผู้ภาวนามีสติยังอ่อน ยังควบคุมจิตของตนเองให้รู้อยู่ภายในไม่ได้ ในเมื่อเห็นนิมิตต่างๆอย่างนั้น อย่าไปสำคัญว่าสิ่งที่เราเห็นนั้นเป็นของดีวิเศษ แท้ที่จริงเป็นแต่เพียงเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติเท่านั้น นักภาวนาที่ฉลาดจะกำหนดรู้อยู่ที่จิต ถึงความรู้สึกว่านิมิตสักแต่ว่านิมิต ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา แล้วก็ประคองจิตให้อยู่ในสภาวะเดิมไม่เปลี่ยนแปลง สมาธิจิตจะสงบนิ่งอยู่ นิมิตเหล่านั้นจะทรงตัวอยู่ให้เราได้พิจารณาได้นาน บางทีนิมิตนั้นอาจจะเกิดประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ ทำให้เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันเหตุการณ์ภายใน แต่แท้ที่จริงนิมิตนั้นแม้จะเป็นสิ่งที่เห็นในสมาธิก็ตาม เป็นเพียงเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ เหมือนมองเห็นรูปด้วยตาภายนอกเมื่อเรายังไม่ได้กำหนดจิตทำสมาธิ จะมีค่าเหนือกว่ากันหน่อยก็ตรงที่อันหนึ่งเห็นด้วยตาธรรมดา แต่อีกอันหนึ่งเห็นด้วยอำนาจสมาธิ แต่ ถ้าไปหลงติดนิมิตนั้นก็เป็นผลเสียสำหรับผู้ปฏิบัติ บางครั้งไปเข้าใจว่านิมิตนั้นเป็นวิญญาณมาจากโลกอื่น เข้ามาเพื่อจะขอแบ่งส่วนบุญ และเมื่อเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น เราก็ตั้งใจแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล ในเมื่อคิดแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล ความคิดทำให้สมาธิถอน ในเมื่อสมาธิถอนขึ้นมาแล้ว นิมิตนั้นก็หายไปหมด วิญญาณเหล่านั้นเลยไม่ได้รับบุญกุศลที่เราให้
ขอทำความเข้าใจกันอีกครั้งว่า นิมิตที่เกิดขึ้นภายในสมาธินั้น ให้ทำความเข้าใจเพียงแต่ว่าเป็นมโนภาพเอาไว้ก่อน อย่ารีบไปตัดสินว่าเป็นของจริงของแท้ ให้นึกว่าเป็นมโนภาพที่เราปรุงแต่งขึ้นมาเอง ให้ทำความรู้สึกไว้อย่างนี้ ท่านจะเกิดความเฉลียวฉลาด
สมมติว่าเมื่อภาวนาแล้วจิตมีวิตก วิจาร ปีติ มีความสุข และมีความละเอียดสงบนิ่งลงไปถึงขั้นอัปปนาสมาธิ และผู้ภาวนาสามารถที่จะฝึกฝนอบรมกาย ทำวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ให้คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ ฝึกฝนจนมีความคล่องตัว นึกอยากจะเข้าฌานเมื่อใดก็เข้าได้ เมื่อเข้าฌานไปแล้วจิตจะรู้อยู่ในสิ่งๆเดียว หรือในจุดๆเดียว ความรู้อะไรต่างๆไม่เกิดขึ้นในขณะนั้น ถึงแม้ว่าความรู้อะไรไม่เกิดขึ้น ผู้ภาวนาก็ไม่ควรเสียอกเสียใจและไม่ควรกลัวว่าจิตของตนจะไปติดสมถะ ความจริง เมื่อจิตนิ่งสงบลงไปสู่ความเป็นสมถะในขั้นอัปปนาสมาธิ อยู่ในขั้นฌานที่ ๔ โดยธรรมชาติของจิตที่อยู่ในฌานขั้นนี้ จะไม่มีความรู้ความเห็นอันใดปรากฏขึ้น นอกจากจิตจะไปรู้อยู่ในสิ่งๆเดียว คือรู้เฉพาะในจิตอันเดียวเท่านั้น ประกอบพร้อมด้วยความเบิกบานแจ่มใส สว่างไสวอยู่ภายในจิต จิตจะไม่มีความรู้เกิดขึ้น
ถึงกระนั้นก็ตาม ถ้าผู้ภาวนาสามารถทำจิตให้เป็นไปดังเช่นที่กล่าวนี้บ่อยๆ ครั้งเข้า ถ้าต้องการให้จิตของท่านก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา โดยไม่ต้องไปหยิบยกเอาอะไรมาเป็นเครื่องพิจารณา เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิขั้นฌานแล้วจะมีความรู้สึกสัมผัสรู้ว่ามีกาย ในเมื่อกายมีปรากฏขึ้น จิตจะมีความคิด เมื่อเกิดความคิดขึ้น ผู้ภาวนารีบกำหนดรู้ ตามความคิดนั้นไป ในตอนนี้จิตของเราจะคิดเรื่องบุญ เรื่องบาป เรื่องดี เรื่องชั่ว เรื่องกุศล เรื่องอกุศล เรื่องโลก เรื่องธรรม ปล่อยให้เขาคิดไปตามลำพังของเขา อย่าไปห้าม หน้าที่ของเราเพียงทำสติตามรู้ไปโดยถือเอาความคิดเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติอีกครั้งหนึ่ง ในเมื่อเราหมั่นอบรมทำสติตามรู้ความคิดหลังถอนจากสมาธิแล้ว ทำจนคล่องแคล่ว ทำจนชำนิชำนาญ จนสามารถทำสติตามทันความคิด เมื่อสติตามทันความคิดขึ้นมาเมื่อใด จิตก็จะสงบเป็นสมาธิ มีปีติ มีความสุข แล้วก็จะสงบละเอียดลงไปเป็นเอกัคคตา เช่นเดียวกับการภาวนาในเบื้องต้น ข้อที่ควรสังเกตมีอยู่อย่างหนึ่ง เมื่อจิตถอนออกจากอัปปนาสมาธิ พอสัมผัสรู้ว่ามีกาย จิตจะมีความรู้ขึ้นมา เมื่อเราทำสติตามรู้ความคิดนั้นไป สติจะตามความคิดและตามจ้องดูกันไปตลอดเวลา จิตเมื่อยิ่งคิดมากก็ยิ่งมีความสบาย เพราะจิตคิดด้วยพลังสมาธิที่ผ่านมาแล้ว แล้วเมื่อเราทำสติตามรู้ ตามทันความคิดนั้น ความคิดกลายเป็นตัวปัญญา ปัญญาคือความรู้ที่เกิดขึ้น ธรรมชาติของความรู้สึกนึกคิดย่อมมีเกิด มีดับ เมื่อผู้ภาวนาทำสติตามรู้ความคิดอยู่อย่างนั้น หนักๆเข้าจิตก็จะรู้ความเกิด ความดับ อะไรเกิด อะไรดับ ก็คือความคิดนั่นเอง จิตเป็นผู้เกิด จิตเป็นผู้ดับ ในเมื่อสติตามรู้ทันความเกิดดับของจิต จิตก็จะเกิดปัญญาขึ้นมา มีความรู้ มีความสำคัญมั่นหมายในสภาวะที่เกิดดับ-เกิดดับนั้นด้วยอนิจสัญญา คำว่าอนิจสัญญาคือความสำคัญมั่นหมายว่าไม่เที่ยง ในเมื่อจิตรู้สภาวะความไม่เที่ยงที่เกิดดับ จิตก็ก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา
ดังนั้น ในเมื่อผู้ภาวนาทำจิตให้สงบนิ่งเป็นสมาธิบ่อยๆจิตก็ได้รับผลจากสมาธิ ได้รับความสุขจากสมาธิ หากพอจิตออกจากสมาธิก็รีบลุกออกจากที่นั่ง ถ้าทำอย่างนี้แล้วจิตก็ไปติดอยู่แค่ขั้นสมถะ จากที่เคยทดสอบและทดลองมาแล้ว ควรจะได้ใช้สติกำหนดตามความคิดที่เกิดขึ้นหลังจากที่จิตถอนออกมาจากสมาธิแล้ว ดังที่กล่าวแล้ว การทำสติกำหนดตามรู้ความคิด ผู้ภาวนาจะต้องมีความตั้งใจจดจ้อง เป็นการพิจารณาสภาวธรรมในแง่วิปัสสนากัมมัฏฐาน ขอให้ท่านนักปฏิบัติทั้งหลายพึงทำความเข้าใจอย่างนี้
เมื่อทำจิตให้เป็นสมาธิ มีปีติ มีความสุข มีเอกัคคตา มีความสงบ จิตไปนิ่ง ว่างวางเฉยอยู่ อย่าไปภูมิอกภูมิใจความเป็นเพียงแค่นั้น เดี๋ยวจิตก็ติดสมถะ ไม่ก้าวขึ้นสู่วิปัสสนา เมื่อเป็นเช่นนั้นจะทำอย่างไร ก็ทำอย่างที่ได้อธิบายมาแล้ว คือเมื่อจิตถอนออกจากฌานมาสัมผัสรู้ว่ามีกาย ก็รีบทำสติตามรู้ความคิดนี้ทันที ความคิดจะเรื่องโลกเรื่องบาป เรื่องบุญอะไร ปล่อยให้เขาคิดไป อย่าไปห้าม ตามรู้ไปจนกว่าสติจะตามทันความคิด แม้ว่ามันจะคิดไม่หยุด ไม่เกิดความสงบอีกก็ตาม แต่ถ้าหากว่าสติตามทันกันไปเรื่อยๆเป็นอันใช้ได้ ถ้าความคิดที่เป็นจิตฟุ้งซ่าน คือจิตธรรมดาที่เราไม่มีสติ ยิ่งคิดไปยิ่งยุ่งในสมอง คิดไปเท่าไรยิ่งหนักอก คิดไปมากเท่าใดยิ่งวุ่นวาย แต่ถ้าคิดด้วยความมีสติสัมปชัญญะ โดยอาศัยพลังของสมาธิ ยิ่งคิดก็ยิ่งปลอดโปร่ง ยิ่งคิดก็ยิ่งมีความเพลิดเพลิน คิดไปเสวยปีติและความสุขไปอีก อันนี้เป็นลักษณะของจิตที่เดินวิปัสสนากัมมัฏฐาน
และมีปัญหาที่จะพึงทำความเข้าใจอีกอย่างหนึ่ง นักภาวนาทั้งหลาย ในการเริ่มภาวนาในตอนต้นๆนี้ เช่น การบริกรรมภาวนา “พุทโธ” เป็นต้น ทำไปแล้วจิตมีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา จิตสงบลงเป็นสมาธิ มีความสุขสบายเหลือล้น พอทำจิตไปเรื่อยๆ แล้วภายหลังจิตไม่เป็นเช่นนั้น พอกำหนดลงไปนิดหน่อยมันมีแต่ความคิด บางท่านก็เข้าใจว่าภูมิจิตภูมิใจของตัวเองเสื่อมแล้ว เมื่อก่อนนี้ภาวนาจิตสงบ แต่ขณะนี้จิตไม่สงบ จิตฟุ้งซ่าน แต่ขอให้สังเกตให้ดี ศีลอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา ในเมื่อศีลดี สมาธิเกิดขึ้นแล้ว สมาธิก็พลอยดีไปด้วย เรียกว่าสัมมาสมาธิ ในเมื่อสมาธิเป็นสัมมาสมาธิ เป็นอุบายให้เกิดปัญญา ดังนั้น ผู้ภาวนาซึ่งเมื่อก่อนมีจิตสงบนิ่ง ภายหลังมาทำสมาธิมากๆแล้วไม่เกิด เพียงเป็นสมาธิเพียงนิดหน่อย สงบนิดเดียวเท่านั้น แล้วก็มีแต่ความคิดเกิดขึ้นๆไม่หยุดหย่อน ก็ไปเข้าใจว่าการทำสมาธิของตนเองนั้นเสื่อมแล้ว บางท่านก็พยายามบังคับจิตให้หยุดคิด เมื่อเกิดมีการบังคับขึ้นก็เกิดอาการปวดศีรษะ เพราะเป็นการฝืนกฎธรรมชาติที่มันจะเป็นไป เพราะฉะนั้น ขอให้ท่านพึงสังเกตให้ดี เมื่อทำจิตเป็นสมาธิเมื่อใดก็มีแต่จิตสงบนิ่งเป็นสมถะ มันก็ไม่มีความก้าวหน้า กำหนดจิตพิจารณาลงไปนิดหน่อย จิตสงบ เมื่อสงบแล้วมีความคิด อาการเช่นนี้แสดงว่าจิตกำลังก้าวหน้ากำลังอยากค้นคว้าหาความจริงในความเป็นไปของสภาวธรรม
สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากจิตฟุ้งซ่าน เป็นเรื่องของปัญญาที่เกิดมาจากสมาธิ เพราะเราไม่เห็นว่าจิตของเรานี้ฝึกไปได้สารพัดอย่าง ไม่มีขอบเขต เพราะจิตของเราไม่ได้คิดเรื่องรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เราจึงสำคัญว่าจิตของเราฟุ้งซ่าน แต่แท้ที่จริง การพิจารณาธรรม รู้ธรรม เห็นธรรมนี้ ก็หมายถึงเห็นความคิด รู้ความคิดของตนนั่นเอง คือความมีสติสัมปชัญญะ เมื่อกำหนดจิตลงไปแล้ว เกิดความคิดขึ้นมา คิดไม่หยุด เราก็ทำสติตามรู้ความคิดดังที่กล่าวแล้ว นี่แสดงว่าจิตต้องการก้าวหน้า ต้องการเดินหน้า ต้องการพิจารณาค้นคว้า ผู้ที่ปฏิบัติรู้เท่าไม่ถึงการณ์คิดว่าจิตของตัวเองฟุ้งซ่าน ก็พยายามบังคับจิตของตนเองอยู่อย่างนั้นแหละ บังคับให้มันหยุดคิด ในเมื่อบังคับแล้วมันจะไม่คิด ไม่คิดก็กลายเป็นจิตที่โง่ คำว่าสมาธิอบรมปัญญาก็ไม่เกิด เพราะฉะนั้น อย่าพยายามไปบังคับจิตให้หยุดคิด หน้าที่ของเราคือทำสติตามรู้ความคิดไปทำสติตามรู้ไป ความคิดนั่นแหละคือเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ ความคิดเป็นฐานที่ตั้งอันมั่นคงของสติ ตราบใดที่จิตยังมีความคิด สติยังมีความระลึก สิ่งที่เราจะพึงได้จากการภาวนาคือความที่สติมีพลังแก่กล้าขึ้นจนเป็นมหาสติ เป็นสติที่มีฐานที่ตั้งอย่างมั่นคง แล้วกลายเป็นสติพละ เป็นสติที่มีพละกำลังอันเข้มแข็ง กลายเป็นสตินทรีย์ สติเป็นใหญ่ในธรรมทั้งปวง เมื่อเป็นสติพละ เป็นสตินทรีย์ เมื่อสติตัวนี้เพิ่งพลังแก่กล้าขึ้น จึงกลายเป็นสติวินโย จิตของเราจะมีสติเป็นผู้นำ แม้จะตั้งใจก็ตาม ไม่ตั้งใจก็ตาม จิตจะมีความสำนึกรู้ผิดชอบชั่วดีอยู่ตลอดเวลา ในเมื่อจิตกระทบอารมณ์อันใดขึ้นมา สติตัวนี้จะออกไปรับและพิจารณาให้เกิดรู้เหตุรู้ผลขึ้นมา เมื่อรู้เหตุรู้ผลแล้วจิตมันก็จะปล่อยวางไปเอง
ที่มา : www.thaniyo.com
เครดิตภาพ : Google
โดย..หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
ท่านทั้งหลายได้ปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณคมน์แล้ว และได้สมาทานศีล ๕ ศีล ๘ ก็เป็นการชำระกายวาจาของตนเองให้บริสุทธิ์ เป็นการปรับพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์ ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ตรงที่มีศีล ๕ ข้อ เมื่อทุกท่านได้สมาทานศีล ๕ ข้อแล้ว และไม่ได้ละเมิดล่วงเกินข้อใดข้อหนึ่ง ท่านก็เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์และเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ จึงขอให้เตรียมตัวให้พร้อมที่จะนั่งสมาธิภาวนา
ท่านจะนั่งท่าไหน อย่างไร ก็สุดแต่ที่ท่านถนัดที่สุด นั่งในท่าที่สบาย อย่าเกร็งร่างกายหรือกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่ง นั่งให้สบาย หายใจให้สบาย บัดนี้ท่านทั้งหลายได้เตรียมพร้อมแล้ว ขอได้โปรดประนมมือขึ้น น้อมนึกในใจว่า บัดนี้ข้าพเจ้าจะนั่งสมาธิเพื่อปฏิบัติบูชาพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ให้จิตของข้าพเจ้าแน่วแน่เป็นสมาธิมีสติปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในสภาวธรรมตามความเป็นจริง นึกในใจ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ น้อมจิตน้อมใจเชื่อมั่นลงไปว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ใจ พระธรรมอยู่ที่ใจ พระอริยสงฆ์อยู่ที่ใจ อาการที่พระพุทธเจ้ามีอยู่ที่ใจคือใจรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี อาการที่มีธรรมอยู่ในใจคือการทรงไว้ซึ่งความรู้สึกเช่นนั้นตลอดเวลา อาการที่พระสงฆ์อยู่ในใจคือความมีสติกำหนดจิตนึกบริกรรมภาวนาพุทโธไว้ตลอดเวลาไม่ให้พรากจากกัน แล้วเอามือวางลงบนตัก กำหนดรู้ลงที่จิต นึก พุท พร้อมลมเข้า โธ พร้อมลมออกก็ได้ ถ้านึกพุทโธพร้อมลมเข้าลมออก ช่วงหายใจยังห่าง จิตสามารถส่งกระแสออกไปทางอื่นได้ ให้ปล่อยความรู้ลมหายใจเสีย นึกพุทโธเร็วๆเข้า โดยนึกพุทโธด้วยความเบาใจ อย่าไปข่มความรู้สึก อย่าไปบังคับจิตให้สงบ นึกพุทโธๆๆเอาไว้ อย่าไปนึกว่าเมื่อใดจิตจะสงบ เมื่อใดจิตจะรู้ เมื่อใดจิตจะสว่าง ให้กำหนดรู้ลงที่จิตอย่างเดียว นึกพุทโธๆๆพุทโธก็อยู่กับจิต จิตก็อยู่กับพุทโธ เมื่อมีการตั้งใจนึกพุทโธ สติสัมปชัญญะจะมาเอง หน้าที่เพียงนึกพุทโธๆๆไว้จนกว่าจะถึงเวลาอันสมควร จิตจะสงบหรือไม่สงบไม่สำคัญ ให้เรานึกพุทโธไว้โดยไม่ขาดระยะเป็นเวลานานๆ จนกระทั่งจิตมันคล่องตัวต่อการนึกพุทโธ ในที่สุดจิตจะนึกพุทโธๆๆเองโดยไม่ได้ตั้งใจ เมื่อจิตนึกพุทโธเองโดยไม่ได้ตั้งใจ แสดงว่าการภาวนาของเรากำลังจะได้ผลแล้ว
ในเมื่อจิตนึกอยู่ที่พุทโธๆๆ พุทโธก็เป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ เมื่อจิตมีเครื่องรู้ สติมีเครื่องระลึก ผู้ปฏิบัติตั้งใจปฏิบัติให้มากๆ กระทำให้มากๆ ในที่สุดจิตจะเกิดความสงบ มีอาการหลายๆ อย่างที่จะพึงเกิดขึ้น ในบางครั้งจะรู้สึกว่าง่วงนอน มีอาการเคลิ้มๆ เหมือนจะหลับ ในตอนนี้ผู้ภาวนาเกิดกลัวว่าจะนอนหลับ จึงไปฝืนความรู้สึกเช่นนั้น เมื่อฝืนแล้วความรู้สึกก็คืนมาสู่สภาวะธรรมดา แล้วเราก็บริกรรมภาวนากันใหม่ ถ้าหากผู้ใดภาวนาแล้วมีอาการเคลิ้มๆลงไปเหมือนกับจะง่วงนอน ขอให้ปล่อยให้เป็นไปอย่างนั้น อย่าไปฝืน ถ้าจะเกิดความหลับขึ้นมา ก็ปล่อยให้หลับอยู่ในขณะที่นั่งอยู่นั่นแหละ เพราะจิตที่จะก้าวลงสู่สมาธิในเบื้องต้นมีอาการคล้ายกับจะหลับ สำหรับผู้หัดภาวนาใหม่ๆเมื่อภาวนามากเข้า จิตจะมีอาการเคลิ้มๆลงไป ถ้าเราปล่อยลงไปประคองให้มันเป็นไปตามเรื่องตามราวของมัน ในที่สุดจิตของเราจะเกิดอาการหลับ บางทีมีอาการวูบลงไป บางทีก็ค่อยเคลิ้มๆไป เกิดอาการหลับลงไปจริงๆ เมื่อมีอาการอย่างนั้นเกิดขึ้นแล้ว หลังจากนั้นจิตจะเกิดความสว่างขึ้น พอจิตเกิดความสว่าง จิตจะเริ่มบรรลุถึงความเป็น พุทธะ ผู้รู้ พุทธะ ผู้ตื่น พุทธะ ผู้เบิกบาน ในตอนนี้คำบริกรรมภาวนาจะหายไป ยังเหลือแต่จิตผู้รู้ปรากฏสว่างอยู่เท่านั้น
ในระยะแรกๆ เราจะรู้สึกว่าความสว่างพุ่งออกมาทางสายตา เมื่อกระแสจิตส่งออกไปข้างนอกตามแสงสว่าง จะเกิดภาพนิมิตต่างๆขึ้นมา เมื่อเกิดภาพนิมิตต่างๆขึ้นให้ผู้ภาวนากำหนดรู้อยู่ที่จิตเพียงอย่างเดียว อย่าไปเอะใจหรือตื่นใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ให้กำหนดว่านิมิตนี้เป็นเพียงเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ และนิมิตนี้เกิดขึ้นตอนที่จิตสงบเป็นสมาธิ แล้วประคองจิตให้อยู่ในสภาพที่สงบ นิ่ง สว่างอยู่ตามเดิม ในตอนนี้สำหรับผู้ภาวนาใหม่ สติสัมปชัญญะยังตามเหตุการณ์ไม่ทัน ในเมื่อเกิดนิมิตขึ้นมาแล้วมักจะหลง หลงติด บางทีก็เกิดความดีใจ บางทีก็เกิดความกลัว และเกิดความเอะใจขึ้นมา สมาธิถอน นิมิตนั้นหายไป แต่ถ้าสมาธิไม่ถอน จิตไปอยู่ที่นิมิตนั้น ถ้านิมิตนั้นแสดงความเคลื่อนไหว เช่น เดินไปวิ่งไป จิตของผู้ภาวนาจะละฐานที่ตั้งเดิม ละแม้กระทั่งตัวเอง จิตจะตามนิมิตนั้นไป คิดว่ามีตัวมีตน เดินตามเขาไป เขาพาไปขึ้นเขาลงห้วยหรือไปที่ไหนก็ตามเขาไปเรื่อยๆ ถ้าหากว่าผู้โชคดีก็ไปเห็นเทวดา เทวดาก็พาไปเที่ยวสวรรค์ ถ้าหากว่าผู้โชคไม่ดีจะไปเห็นสัตว์นรก สัตว์นรกก็พาไปเที่ยวนรก อันนี้เพราะผู้ภาวนามีสติยังอ่อน ยังควบคุมจิตของตนเองให้รู้อยู่ภายในไม่ได้ ในเมื่อเห็นนิมิตต่างๆอย่างนั้น อย่าไปสำคัญว่าสิ่งที่เราเห็นนั้นเป็นของดีวิเศษ แท้ที่จริงเป็นแต่เพียงเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติเท่านั้น นักภาวนาที่ฉลาดจะกำหนดรู้อยู่ที่จิต ถึงความรู้สึกว่านิมิตสักแต่ว่านิมิต ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา แล้วก็ประคองจิตให้อยู่ในสภาวะเดิมไม่เปลี่ยนแปลง สมาธิจิตจะสงบนิ่งอยู่ นิมิตเหล่านั้นจะทรงตัวอยู่ให้เราได้พิจารณาได้นาน บางทีนิมิตนั้นอาจจะเกิดประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ ทำให้เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันเหตุการณ์ภายใน แต่แท้ที่จริงนิมิตนั้นแม้จะเป็นสิ่งที่เห็นในสมาธิก็ตาม เป็นเพียงเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ เหมือนมองเห็นรูปด้วยตาภายนอกเมื่อเรายังไม่ได้กำหนดจิตทำสมาธิ จะมีค่าเหนือกว่ากันหน่อยก็ตรงที่อันหนึ่งเห็นด้วยตาธรรมดา แต่อีกอันหนึ่งเห็นด้วยอำนาจสมาธิ แต่ ถ้าไปหลงติดนิมิตนั้นก็เป็นผลเสียสำหรับผู้ปฏิบัติ บางครั้งไปเข้าใจว่านิมิตนั้นเป็นวิญญาณมาจากโลกอื่น เข้ามาเพื่อจะขอแบ่งส่วนบุญ และเมื่อเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น เราก็ตั้งใจแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล ในเมื่อคิดแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล ความคิดทำให้สมาธิถอน ในเมื่อสมาธิถอนขึ้นมาแล้ว นิมิตนั้นก็หายไปหมด วิญญาณเหล่านั้นเลยไม่ได้รับบุญกุศลที่เราให้
ขอทำความเข้าใจกันอีกครั้งว่า นิมิตที่เกิดขึ้นภายในสมาธินั้น ให้ทำความเข้าใจเพียงแต่ว่าเป็นมโนภาพเอาไว้ก่อน อย่ารีบไปตัดสินว่าเป็นของจริงของแท้ ให้นึกว่าเป็นมโนภาพที่เราปรุงแต่งขึ้นมาเอง ให้ทำความรู้สึกไว้อย่างนี้ ท่านจะเกิดความเฉลียวฉลาด
สมมติว่าเมื่อภาวนาแล้วจิตมีวิตก วิจาร ปีติ มีความสุข และมีความละเอียดสงบนิ่งลงไปถึงขั้นอัปปนาสมาธิ และผู้ภาวนาสามารถที่จะฝึกฝนอบรมกาย ทำวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ให้คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ ฝึกฝนจนมีความคล่องตัว นึกอยากจะเข้าฌานเมื่อใดก็เข้าได้ เมื่อเข้าฌานไปแล้วจิตจะรู้อยู่ในสิ่งๆเดียว หรือในจุดๆเดียว ความรู้อะไรต่างๆไม่เกิดขึ้นในขณะนั้น ถึงแม้ว่าความรู้อะไรไม่เกิดขึ้น ผู้ภาวนาก็ไม่ควรเสียอกเสียใจและไม่ควรกลัวว่าจิตของตนจะไปติดสมถะ ความจริง เมื่อจิตนิ่งสงบลงไปสู่ความเป็นสมถะในขั้นอัปปนาสมาธิ อยู่ในขั้นฌานที่ ๔ โดยธรรมชาติของจิตที่อยู่ในฌานขั้นนี้ จะไม่มีความรู้ความเห็นอันใดปรากฏขึ้น นอกจากจิตจะไปรู้อยู่ในสิ่งๆเดียว คือรู้เฉพาะในจิตอันเดียวเท่านั้น ประกอบพร้อมด้วยความเบิกบานแจ่มใส สว่างไสวอยู่ภายในจิต จิตจะไม่มีความรู้เกิดขึ้น
ถึงกระนั้นก็ตาม ถ้าผู้ภาวนาสามารถทำจิตให้เป็นไปดังเช่นที่กล่าวนี้บ่อยๆ ครั้งเข้า ถ้าต้องการให้จิตของท่านก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา โดยไม่ต้องไปหยิบยกเอาอะไรมาเป็นเครื่องพิจารณา เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิขั้นฌานแล้วจะมีความรู้สึกสัมผัสรู้ว่ามีกาย ในเมื่อกายมีปรากฏขึ้น จิตจะมีความคิด เมื่อเกิดความคิดขึ้น ผู้ภาวนารีบกำหนดรู้ ตามความคิดนั้นไป ในตอนนี้จิตของเราจะคิดเรื่องบุญ เรื่องบาป เรื่องดี เรื่องชั่ว เรื่องกุศล เรื่องอกุศล เรื่องโลก เรื่องธรรม ปล่อยให้เขาคิดไปตามลำพังของเขา อย่าไปห้าม หน้าที่ของเราเพียงทำสติตามรู้ไปโดยถือเอาความคิดเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติอีกครั้งหนึ่ง ในเมื่อเราหมั่นอบรมทำสติตามรู้ความคิดหลังถอนจากสมาธิแล้ว ทำจนคล่องแคล่ว ทำจนชำนิชำนาญ จนสามารถทำสติตามทันความคิด เมื่อสติตามทันความคิดขึ้นมาเมื่อใด จิตก็จะสงบเป็นสมาธิ มีปีติ มีความสุข แล้วก็จะสงบละเอียดลงไปเป็นเอกัคคตา เช่นเดียวกับการภาวนาในเบื้องต้น ข้อที่ควรสังเกตมีอยู่อย่างหนึ่ง เมื่อจิตถอนออกจากอัปปนาสมาธิ พอสัมผัสรู้ว่ามีกาย จิตจะมีความรู้ขึ้นมา เมื่อเราทำสติตามรู้ความคิดนั้นไป สติจะตามความคิดและตามจ้องดูกันไปตลอดเวลา จิตเมื่อยิ่งคิดมากก็ยิ่งมีความสบาย เพราะจิตคิดด้วยพลังสมาธิที่ผ่านมาแล้ว แล้วเมื่อเราทำสติตามรู้ ตามทันความคิดนั้น ความคิดกลายเป็นตัวปัญญา ปัญญาคือความรู้ที่เกิดขึ้น ธรรมชาติของความรู้สึกนึกคิดย่อมมีเกิด มีดับ เมื่อผู้ภาวนาทำสติตามรู้ความคิดอยู่อย่างนั้น หนักๆเข้าจิตก็จะรู้ความเกิด ความดับ อะไรเกิด อะไรดับ ก็คือความคิดนั่นเอง จิตเป็นผู้เกิด จิตเป็นผู้ดับ ในเมื่อสติตามรู้ทันความเกิดดับของจิต จิตก็จะเกิดปัญญาขึ้นมา มีความรู้ มีความสำคัญมั่นหมายในสภาวะที่เกิดดับ-เกิดดับนั้นด้วยอนิจสัญญา คำว่าอนิจสัญญาคือความสำคัญมั่นหมายว่าไม่เที่ยง ในเมื่อจิตรู้สภาวะความไม่เที่ยงที่เกิดดับ จิตก็ก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา
ดังนั้น ในเมื่อผู้ภาวนาทำจิตให้สงบนิ่งเป็นสมาธิบ่อยๆจิตก็ได้รับผลจากสมาธิ ได้รับความสุขจากสมาธิ หากพอจิตออกจากสมาธิก็รีบลุกออกจากที่นั่ง ถ้าทำอย่างนี้แล้วจิตก็ไปติดอยู่แค่ขั้นสมถะ จากที่เคยทดสอบและทดลองมาแล้ว ควรจะได้ใช้สติกำหนดตามความคิดที่เกิดขึ้นหลังจากที่จิตถอนออกมาจากสมาธิแล้ว ดังที่กล่าวแล้ว การทำสติกำหนดตามรู้ความคิด ผู้ภาวนาจะต้องมีความตั้งใจจดจ้อง เป็นการพิจารณาสภาวธรรมในแง่วิปัสสนากัมมัฏฐาน ขอให้ท่านนักปฏิบัติทั้งหลายพึงทำความเข้าใจอย่างนี้
เมื่อทำจิตให้เป็นสมาธิ มีปีติ มีความสุข มีเอกัคคตา มีความสงบ จิตไปนิ่ง ว่างวางเฉยอยู่ อย่าไปภูมิอกภูมิใจความเป็นเพียงแค่นั้น เดี๋ยวจิตก็ติดสมถะ ไม่ก้าวขึ้นสู่วิปัสสนา เมื่อเป็นเช่นนั้นจะทำอย่างไร ก็ทำอย่างที่ได้อธิบายมาแล้ว คือเมื่อจิตถอนออกจากฌานมาสัมผัสรู้ว่ามีกาย ก็รีบทำสติตามรู้ความคิดนี้ทันที ความคิดจะเรื่องโลกเรื่องบาป เรื่องบุญอะไร ปล่อยให้เขาคิดไป อย่าไปห้าม ตามรู้ไปจนกว่าสติจะตามทันความคิด แม้ว่ามันจะคิดไม่หยุด ไม่เกิดความสงบอีกก็ตาม แต่ถ้าหากว่าสติตามทันกันไปเรื่อยๆเป็นอันใช้ได้ ถ้าความคิดที่เป็นจิตฟุ้งซ่าน คือจิตธรรมดาที่เราไม่มีสติ ยิ่งคิดไปยิ่งยุ่งในสมอง คิดไปเท่าไรยิ่งหนักอก คิดไปมากเท่าใดยิ่งวุ่นวาย แต่ถ้าคิดด้วยความมีสติสัมปชัญญะ โดยอาศัยพลังของสมาธิ ยิ่งคิดก็ยิ่งปลอดโปร่ง ยิ่งคิดก็ยิ่งมีความเพลิดเพลิน คิดไปเสวยปีติและความสุขไปอีก อันนี้เป็นลักษณะของจิตที่เดินวิปัสสนากัมมัฏฐาน
และมีปัญหาที่จะพึงทำความเข้าใจอีกอย่างหนึ่ง นักภาวนาทั้งหลาย ในการเริ่มภาวนาในตอนต้นๆนี้ เช่น การบริกรรมภาวนา “พุทโธ” เป็นต้น ทำไปแล้วจิตมีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา จิตสงบลงเป็นสมาธิ มีความสุขสบายเหลือล้น พอทำจิตไปเรื่อยๆ แล้วภายหลังจิตไม่เป็นเช่นนั้น พอกำหนดลงไปนิดหน่อยมันมีแต่ความคิด บางท่านก็เข้าใจว่าภูมิจิตภูมิใจของตัวเองเสื่อมแล้ว เมื่อก่อนนี้ภาวนาจิตสงบ แต่ขณะนี้จิตไม่สงบ จิตฟุ้งซ่าน แต่ขอให้สังเกตให้ดี ศีลอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา ในเมื่อศีลดี สมาธิเกิดขึ้นแล้ว สมาธิก็พลอยดีไปด้วย เรียกว่าสัมมาสมาธิ ในเมื่อสมาธิเป็นสัมมาสมาธิ เป็นอุบายให้เกิดปัญญา ดังนั้น ผู้ภาวนาซึ่งเมื่อก่อนมีจิตสงบนิ่ง ภายหลังมาทำสมาธิมากๆแล้วไม่เกิด เพียงเป็นสมาธิเพียงนิดหน่อย สงบนิดเดียวเท่านั้น แล้วก็มีแต่ความคิดเกิดขึ้นๆไม่หยุดหย่อน ก็ไปเข้าใจว่าการทำสมาธิของตนเองนั้นเสื่อมแล้ว บางท่านก็พยายามบังคับจิตให้หยุดคิด เมื่อเกิดมีการบังคับขึ้นก็เกิดอาการปวดศีรษะ เพราะเป็นการฝืนกฎธรรมชาติที่มันจะเป็นไป เพราะฉะนั้น ขอให้ท่านพึงสังเกตให้ดี เมื่อทำจิตเป็นสมาธิเมื่อใดก็มีแต่จิตสงบนิ่งเป็นสมถะ มันก็ไม่มีความก้าวหน้า กำหนดจิตพิจารณาลงไปนิดหน่อย จิตสงบ เมื่อสงบแล้วมีความคิด อาการเช่นนี้แสดงว่าจิตกำลังก้าวหน้ากำลังอยากค้นคว้าหาความจริงในความเป็นไปของสภาวธรรม
สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากจิตฟุ้งซ่าน เป็นเรื่องของปัญญาที่เกิดมาจากสมาธิ เพราะเราไม่เห็นว่าจิตของเรานี้ฝึกไปได้สารพัดอย่าง ไม่มีขอบเขต เพราะจิตของเราไม่ได้คิดเรื่องรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เราจึงสำคัญว่าจิตของเราฟุ้งซ่าน แต่แท้ที่จริง การพิจารณาธรรม รู้ธรรม เห็นธรรมนี้ ก็หมายถึงเห็นความคิด รู้ความคิดของตนนั่นเอง คือความมีสติสัมปชัญญะ เมื่อกำหนดจิตลงไปแล้ว เกิดความคิดขึ้นมา คิดไม่หยุด เราก็ทำสติตามรู้ความคิดดังที่กล่าวแล้ว นี่แสดงว่าจิตต้องการก้าวหน้า ต้องการเดินหน้า ต้องการพิจารณาค้นคว้า ผู้ที่ปฏิบัติรู้เท่าไม่ถึงการณ์คิดว่าจิตของตัวเองฟุ้งซ่าน ก็พยายามบังคับจิตของตนเองอยู่อย่างนั้นแหละ บังคับให้มันหยุดคิด ในเมื่อบังคับแล้วมันจะไม่คิด ไม่คิดก็กลายเป็นจิตที่โง่ คำว่าสมาธิอบรมปัญญาก็ไม่เกิด เพราะฉะนั้น อย่าพยายามไปบังคับจิตให้หยุดคิด หน้าที่ของเราคือทำสติตามรู้ความคิดไปทำสติตามรู้ไป ความคิดนั่นแหละคือเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ ความคิดเป็นฐานที่ตั้งอันมั่นคงของสติ ตราบใดที่จิตยังมีความคิด สติยังมีความระลึก สิ่งที่เราจะพึงได้จากการภาวนาคือความที่สติมีพลังแก่กล้าขึ้นจนเป็นมหาสติ เป็นสติที่มีฐานที่ตั้งอย่างมั่นคง แล้วกลายเป็นสติพละ เป็นสติที่มีพละกำลังอันเข้มแข็ง กลายเป็นสตินทรีย์ สติเป็นใหญ่ในธรรมทั้งปวง เมื่อเป็นสติพละ เป็นสตินทรีย์ เมื่อสติตัวนี้เพิ่งพลังแก่กล้าขึ้น จึงกลายเป็นสติวินโย จิตของเราจะมีสติเป็นผู้นำ แม้จะตั้งใจก็ตาม ไม่ตั้งใจก็ตาม จิตจะมีความสำนึกรู้ผิดชอบชั่วดีอยู่ตลอดเวลา ในเมื่อจิตกระทบอารมณ์อันใดขึ้นมา สติตัวนี้จะออกไปรับและพิจารณาให้เกิดรู้เหตุรู้ผลขึ้นมา เมื่อรู้เหตุรู้ผลแล้วจิตมันก็จะปล่อยวางไปเอง
ที่มา : www.thaniyo.com
เครดิตภาพ : Google
ღ รู้เอง เห็นเองด้วยปัญญา ღ
รู้เอง เห็นเองด้วยปัญญา
ทุกขเวทนา..ไม่ใช่ตัวตน…เป็นทุกขลักษณะ…เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย…เพราะสิ่งนี้มี จึงเกิดสิ่งนี้…เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ…
จิต..ไม่ใช่ตัวตน แต่จิตอาศัยธาตุ๔ และขันธุ์๕ อยู่ ชั่วคราว
จิต…ไม่ใช่ขันธุ์๕ ….ขันธุ์๕ ไม่ใช่จิต…ขันธุ์๕ ไม่ใช่ตัวตน ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิต เป็นกระบวนการของขันธุ์๕….ไม่ใช่ของจิต
เพ่งดูให้ชัด…พิจารณาให้เห็น และยอมรับที่มันเป็นเช่นนั้น…เพราะความแปรปรวน ความไม่เที่ยงของขันธุ์๕ จึงทุกข์…
ขันธุ์๕ เป็นทุกข์ ขันธุ์๕ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา…เป็นสภาวะที่อาศัยกันเกิดขึ้น…
ใช้ปัญญาทบทวนเช่นนี้อยู่บ่อยๆ…พิจารณาอยู่เสมอ..แยกทุกข์ออกจากจิต…แยกจิตออกจากนามปรุงแต่ง…
เมื่อเกิดทุกข์เวทนา …เพราะเมื่อรู้ว่าขันธุ์คเป็นตัวทุกข์ จิตก็หลงคิดว่าขันธุ์๕เป็นของตน….ใช้ปัญญาสอนจิตเนืองๆ
การปฏิบัติภาวนาที่มีสมาธิเป็นพื้นฐาน พิจารณาเห็นตามความเป็นจริงได้ง่าย….
เมื่อจิตถูกกระทบกระเทือนหวั่นไหว…ก็รู้ว่ากายก็หวั่นไหวตาม คือการเต้นของชีพจรแรงขึ้น ถี่ขึ้น…ตามสภาวะที่มากระทบนั้น …
จิตเชื่อมส่งถึงกาย…ทางกระแสประสาทอัตโนมัติ….เห็นกายทำงาน…ทำจิตให้นิ่งสงบไว้…กายก็จะสงบลงตามมา..
เปรียบเหมือนรถวิ่งมาด้วยความเร็ว…เมื่อมีเหตุให้ต้องแตะเบรค…แรงส่งของรถก็ยังคงมีอาจทำให้ล้อรถลื่นไหลไปข้างหน้า..จึงหยุดสนิท
เห็นเวทนาเกิด…เห็นจิต…เห็นกาย….เห็นธรรม….ยิ่งนานวันจะเห็นสภาวะที่ละเอียดขึ้น…
ที่มา : www.waewdao11.wordpress.com
เครดิตภาพ : Google
ทุกขเวทนา..ไม่ใช่ตัวตน…เป็นทุกขลักษณะ…เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย…เพราะสิ่งนี้มี จึงเกิดสิ่งนี้…เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ…
จิต..ไม่ใช่ตัวตน แต่จิตอาศัยธาตุ๔ และขันธุ์๕ อยู่ ชั่วคราว
จิต…ไม่ใช่ขันธุ์๕ ….ขันธุ์๕ ไม่ใช่จิต…ขันธุ์๕ ไม่ใช่ตัวตน ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิต เป็นกระบวนการของขันธุ์๕….ไม่ใช่ของจิต
เพ่งดูให้ชัด…พิจารณาให้เห็น และยอมรับที่มันเป็นเช่นนั้น…เพราะความแปรปรวน ความไม่เที่ยงของขันธุ์๕ จึงทุกข์…
ขันธุ์๕ เป็นทุกข์ ขันธุ์๕ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา…เป็นสภาวะที่อาศัยกันเกิดขึ้น…
ใช้ปัญญาทบทวนเช่นนี้อยู่บ่อยๆ…พิจารณาอยู่เสมอ..แยกทุกข์ออกจากจิต…แยกจิตออกจากนามปรุงแต่ง…
เมื่อเกิดทุกข์เวทนา …เพราะเมื่อรู้ว่าขันธุ์คเป็นตัวทุกข์ จิตก็หลงคิดว่าขันธุ์๕เป็นของตน….ใช้ปัญญาสอนจิตเนืองๆ
การปฏิบัติภาวนาที่มีสมาธิเป็นพื้นฐาน พิจารณาเห็นตามความเป็นจริงได้ง่าย….
เมื่อจิตถูกกระทบกระเทือนหวั่นไหว…ก็รู้ว่ากายก็หวั่นไหวตาม คือการเต้นของชีพจรแรงขึ้น ถี่ขึ้น…ตามสภาวะที่มากระทบนั้น …
จิตเชื่อมส่งถึงกาย…ทางกระแสประสาทอัตโนมัติ….เห็นกายทำงาน…ทำจิตให้นิ่งสงบไว้…กายก็จะสงบลงตามมา..
เปรียบเหมือนรถวิ่งมาด้วยความเร็ว…เมื่อมีเหตุให้ต้องแตะเบรค…แรงส่งของรถก็ยังคงมีอาจทำให้ล้อรถลื่นไหลไปข้างหน้า..จึงหยุดสนิท
เห็นเวทนาเกิด…เห็นจิต…เห็นกาย….เห็นธรรม….ยิ่งนานวันจะเห็นสภาวะที่ละเอียดขึ้น…
ที่มา : www.waewdao11.wordpress.com
เครดิตภาพ : Google
วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555
ღ สุขเพราะละ ღ
สุขเพราะละ
โดย...พระไพศาล วิสาโล
ในทัศนะของคนทั่วไป ความสุขของชีวิตอยู่ที่การมีหรือหามาได้มาก ๆ ไม่ว่าทรัพย์สินเงินทอง ชื่อเสียง เกียรติยศ อำนาจ ยิ่งมีมากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นสุขมากเท่านั้น ความสำเร็จหรือความเจริญก้าวหน้าก็เช่นกัน วัดกันที่ตรงนั้น ถ้ามีเงินมากขึ้น มีรถยนต์เพิ่มขึ้น มีบ้านหลังใหญ่ขึ้น หรือมีตำแหน่งที่สูงขึ้น ก็ถือว่ามีความสำเร็จและเจริญก้าวหน้ามากกว่าเดิม
ความสุขทางใจหรือความสุขทางธรรมนั้นสวนทางกับความสุขทางโลก คนเราจะพบกับความสุขทางใจได้ต่อเมื่อรู้จักลดละหรือสละออกไป เริ่มจากการสละหรือให้สิ่งของที่มีอยู่แก่ผู้อื่น เมื่อเราให้ทานหรือบริจาคข้าวของเงินทอง เราย่อมรู้สึกปีติยินดี โดยเฉพาะเมื่อเห็นผู้รับมีความสุข เราก็พลอยมีความสุขด้วย คนที่คิดแต่จะเอาเข้าตัวอย่างเดียว จะไม่มีวันรู้จักความสุขชนิดนี้ เพราะถูกความเห็นแก่ตัวครอบงำ
การให้หรือสละสิ่งของนอกจากเป็นการลดความเห็นแก่ตัวแล้ว ยังเป็นการลดความยึดติดถือมั่นในทรัพย์ด้วย ยิ่งของนั้น ๆเป็นสิ่งที่เรารักหรือหวงแหนมากเท่าไร การสละออกไปก็ยิ่งทำให้ความยึดมั่นใน “ของกู”เบาบางลงมากเท่านั้น เป็นการฝึกฝนจิตใจให้รู้จักปล่อยวาง จึงช่วยให้เรามีความสุขใจได้ง่ายขึ้น เพราะหากมีเหตุให้ต้องสูญเสียทรัพย์ เราก็จะปล่อยวางได้รวดเร็ว ไม่มัวเศร้าโศกเสียใจหรือหวนหาอาลัย หรือเป็นทุกข์สองต่อ คือ นอกจากเสียของแล้ว ยังเสียอารมณ์อีกต่างหาก
นอกจากความยึดติดถือมั่นในทรัพย์แล้ว ความยึดติดในอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ความโกรธเกลียด ความคับแค้นข้องขัด ความน้อยเนื้อต่ำใจ ก็เป็นสิ่งที่ต้องลดละด้วยจึงจะทำให้เรามีความสุขอย่างแท้จริง การลดละอย่างหลัง ทำไม่ได้ด้วยการให้ทาน แต่ต้องอาศัยวิธีการอื่น ได้แก่ การควบคุมกายวาจาไม่ให้ทำตามอำนาจของอารมณ์ และการฝึกจิตให้เป็นอิสระหรือปล่อยวางอารมณ์เหล่านั้นได้ วิธีการดังกล่าวก็คือ ศีล และ ภาวนา นั่นเอง
จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติธรรมหรือการทำบุญในพุทธศาสนา ล้วนเป็นไปเพื่อการลดละหรือสละวางสิ่งซึ่งก่อความข้องขัดในจิตใจ ซึ่งมีแก่นแกนอยู่ที่ความยึดติดถือมั่นในตัวตน หรือยึดมั่นว่าเป็น “ตัวกู ของกู” ความยึดติดถือมั่นดังกล่าวแสดงอาการออกมาในหลายรูปลักษณ์ เช่น อยากได้ไม่รู้จักพอ (ตัณหา) อยากใหญ่ใคร่เด่น(มานะ) และติดยึดในความเห็นของตน(ทิฏฐิ) ตราบใดที่ยังมีความยึดติดถือมั่นในตัวตนอย่างแน่นหนา ก็ยากจะมีความสุขใจได้ แม้มีวัตถุพรั่งพร้อมและมีอำนาจล้นแผ่นดินก็ตาม
ความสำเร็จทางโลกนั้นมุ่งที่การแสวงหาสิ่งต่าง ๆ มาครอบครองให้มากที่สุด สิ่งที่มักตามมาก็คือ ความยึดติดถือมั่นในตัวตนเพิ่มพูนมากขึ้น ทำให้เกิดความอยากได้มากขึ้นกว่าเดิม ไม่มีความสุขกับสิ่งที่มี ขณะเดียวกันก็เกิดความหลงตัวว่าเก่งและสูงเด่น รวมทั้งยึดมั่นในความเห็นของตนเหนียวแน่นกว่าเดิม ซึ่งมักนำไปสู่การวิวาทบาดหมางและทะเลาะวิวาท ดังนั้นจึงมักมีเรื่องร้อนใจอยู่เนือง ๆ สุขแต่กาย แต่ใจไม่เป็นสุข
อย่างไรก็ตามใช่ว่าใครมาปฏิบัติธรรมแล้วจะพบกับความสุขใจไปเสียหมด ก็หาไม่ ตราบใดที่การกระทำดังกล่าวไม่ได้ช่วยลดละความยึดติดถือมั่นในตัวตน หรือตัณหา มานะ ทิฐิเลย จิตใจก็ย่อมรุ่มร้อน ข้องขัด หาความสงบเย็นได้ยาก
มีคนจำนวนไม่น้อยเมื่อให้ทาน ใจก็ไม่ได้ลดละ กลับอยากได้มากขึ้น เช่น ทำบุญถวายสังฆทาน ก็อธิษฐานขอให้มั่งมี ได้โชคลาภ หาไม่ก็อยากประกาศให้สาธารณชนรู้ว่าตนเป็นคนใจบุญ บางคนชอบทำบุญ แต่ไม่อยากอุทิศส่วนบุญให้ใคร เพราะกลัวว่าบุญของตนจะเหลือน้อยลง
ส่วนใครที่เคร่งศีลหรือขยันทำสมาธิภาวนา แล้วเกิดความหลงตน รู้สึกว่าตนเองบริสุทธิ์กว่าคนอื่น หรือเหยียดผู้อื่นว่าด้อยกว่าตน อย่างนี้ก็ยากจะมีความสุขใจได้ เพราะมีมานะแน่นหนา ตัวตนใหญ่ขึ้น ไม่ถือว่ามีความก้าวหน้าในการปฏิบัติ เพราะแทนที่กิเลสจะลดลง กลับพอกพูนมากขึ้น พระพุทธองค์ถึงกับตรัสว่า บุคคลที่เคร่งในศีลวัตร หรือได้คุณพิเศษทางจิต เช่นได้ฌานสมาบัติ แต่หากเกิดความรู้สึกลำพองใจว่าฉันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ส่วนคนอื่นไม่ได้เป็นอย่างฉัน เกิดอาการยกตนข่มผู้อื่นแล้ว ล้วนเป็น “อสัตบุรุษ”ทั้งสิ้น
ทาน ศีล ภาวนา นั้น เป็นเสมือนเครื่องขัดเกลากิเลสออกไปจากจิตใจ ยิ่งขัดเกลามากเท่าไร จิตใจก็จะงดงามผ่องแผ้วมากเท่านั้น ไม่ต่างจากหินก้อนโตเทอะทะผิวหยาบ เมื่อถูกช่างแกะสลักเอาส่วนเกินออกไป สิ่งที่เหลือคือองค์พระปฏิมาอันงดงาม
หากให้ทาน รักษาศีล บำเพ็ญภาวนาแล้ว กิเลสไม่ได้ลดลง ยังมีความยึดติดถือมั่นในตัวตนแน่นหนา ก็แสดงว่าทำผิดแล้ว หรือพูดให้ถูกต้องกว่านั้นก็คือ “ทำผิดในสิ่งที่ถูก” ความดีนั้นหากทำไม่ถูก วางใจไม่เป็น มันก็เป็นโทษแก่ตนเองได้ ท่านอาจารย์พุทธทาสจึงเตือนเสมอว่า ระวังอย่าให้ความดีกัดเจ้าของ
ไหน ๆ จะทำความดีแล้ว ก็ควรทำโดยมุ่งลดละหรือสกัดส่วนเกินที่พอกหุ้มจิตใจออกไป เช่น เวลาทำบุญก็นึกถึงประโยชน์ของผู้รับเป็นสำคัญ ไม่นึกปรารถนาอะไรให้ตัวเอง หรือถ้าจะตั้งจิตปรารถนา ก็ขอให้กิเลสลดลง ความโลภเบาบาง ในทำนองเดียวกันเมื่อรักษาศีล ก็อย่าไปเพ่งโทษหรือจับผิดคนอื่น แต่หันมาดูใจของตนเองว่ากิเลสหรือมานะเพิ่มพูนขึ้นหรือไม่ เมื่อทำสมาธิภาวนาก็อย่ามัวเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น แม้จะได้ความสงบก็ไม่ควรประมาทหรือหลงดีใจ เพราะสิ่งสำคัญอยู่ที่ว่า ความยึดติดถือมั่นในตัวตนลดลงหรือไม่ ถ้ายึดติดถือมั่นในตัวตนมากขึ้น ก็ถือว่าถอยหลัง
ผู้ที่ลดละความยึดติดถือมั่นในตัวตนได้เป็นลำดับ จิตใจจะสงบเย็นและเป็นสุขมากขึ้น เป็นความสุขที่มาจากภายใน ทำให้พึ่งพาวัตถุหรือสิ่งภายนอกน้อยลง ผลที่ตามมาก็คือ อยู่ง่ายกินง่าย บุคคลที่ลดละได้อย่างสิ้นเชิง แม้มีข้าวของไม่กี่ชิ้นก็มีความสุขล้นเหลือ ตรงข้ามกับคนที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในทางโลก ยิ่งมีมากแต่ความสุขกลับลดลง
ที่มา : www.visalo.org
เครดิตภาพ : Google
โดย...พระไพศาล วิสาโล
ในทัศนะของคนทั่วไป ความสุขของชีวิตอยู่ที่การมีหรือหามาได้มาก ๆ ไม่ว่าทรัพย์สินเงินทอง ชื่อเสียง เกียรติยศ อำนาจ ยิ่งมีมากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นสุขมากเท่านั้น ความสำเร็จหรือความเจริญก้าวหน้าก็เช่นกัน วัดกันที่ตรงนั้น ถ้ามีเงินมากขึ้น มีรถยนต์เพิ่มขึ้น มีบ้านหลังใหญ่ขึ้น หรือมีตำแหน่งที่สูงขึ้น ก็ถือว่ามีความสำเร็จและเจริญก้าวหน้ามากกว่าเดิม
ความสุขทางใจหรือความสุขทางธรรมนั้นสวนทางกับความสุขทางโลก คนเราจะพบกับความสุขทางใจได้ต่อเมื่อรู้จักลดละหรือสละออกไป เริ่มจากการสละหรือให้สิ่งของที่มีอยู่แก่ผู้อื่น เมื่อเราให้ทานหรือบริจาคข้าวของเงินทอง เราย่อมรู้สึกปีติยินดี โดยเฉพาะเมื่อเห็นผู้รับมีความสุข เราก็พลอยมีความสุขด้วย คนที่คิดแต่จะเอาเข้าตัวอย่างเดียว จะไม่มีวันรู้จักความสุขชนิดนี้ เพราะถูกความเห็นแก่ตัวครอบงำ
การให้หรือสละสิ่งของนอกจากเป็นการลดความเห็นแก่ตัวแล้ว ยังเป็นการลดความยึดติดถือมั่นในทรัพย์ด้วย ยิ่งของนั้น ๆเป็นสิ่งที่เรารักหรือหวงแหนมากเท่าไร การสละออกไปก็ยิ่งทำให้ความยึดมั่นใน “ของกู”เบาบางลงมากเท่านั้น เป็นการฝึกฝนจิตใจให้รู้จักปล่อยวาง จึงช่วยให้เรามีความสุขใจได้ง่ายขึ้น เพราะหากมีเหตุให้ต้องสูญเสียทรัพย์ เราก็จะปล่อยวางได้รวดเร็ว ไม่มัวเศร้าโศกเสียใจหรือหวนหาอาลัย หรือเป็นทุกข์สองต่อ คือ นอกจากเสียของแล้ว ยังเสียอารมณ์อีกต่างหาก
นอกจากความยึดติดถือมั่นในทรัพย์แล้ว ความยึดติดในอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ความโกรธเกลียด ความคับแค้นข้องขัด ความน้อยเนื้อต่ำใจ ก็เป็นสิ่งที่ต้องลดละด้วยจึงจะทำให้เรามีความสุขอย่างแท้จริง การลดละอย่างหลัง ทำไม่ได้ด้วยการให้ทาน แต่ต้องอาศัยวิธีการอื่น ได้แก่ การควบคุมกายวาจาไม่ให้ทำตามอำนาจของอารมณ์ และการฝึกจิตให้เป็นอิสระหรือปล่อยวางอารมณ์เหล่านั้นได้ วิธีการดังกล่าวก็คือ ศีล และ ภาวนา นั่นเอง
จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติธรรมหรือการทำบุญในพุทธศาสนา ล้วนเป็นไปเพื่อการลดละหรือสละวางสิ่งซึ่งก่อความข้องขัดในจิตใจ ซึ่งมีแก่นแกนอยู่ที่ความยึดติดถือมั่นในตัวตน หรือยึดมั่นว่าเป็น “ตัวกู ของกู” ความยึดติดถือมั่นดังกล่าวแสดงอาการออกมาในหลายรูปลักษณ์ เช่น อยากได้ไม่รู้จักพอ (ตัณหา) อยากใหญ่ใคร่เด่น(มานะ) และติดยึดในความเห็นของตน(ทิฏฐิ) ตราบใดที่ยังมีความยึดติดถือมั่นในตัวตนอย่างแน่นหนา ก็ยากจะมีความสุขใจได้ แม้มีวัตถุพรั่งพร้อมและมีอำนาจล้นแผ่นดินก็ตาม
ความสำเร็จทางโลกนั้นมุ่งที่การแสวงหาสิ่งต่าง ๆ มาครอบครองให้มากที่สุด สิ่งที่มักตามมาก็คือ ความยึดติดถือมั่นในตัวตนเพิ่มพูนมากขึ้น ทำให้เกิดความอยากได้มากขึ้นกว่าเดิม ไม่มีความสุขกับสิ่งที่มี ขณะเดียวกันก็เกิดความหลงตัวว่าเก่งและสูงเด่น รวมทั้งยึดมั่นในความเห็นของตนเหนียวแน่นกว่าเดิม ซึ่งมักนำไปสู่การวิวาทบาดหมางและทะเลาะวิวาท ดังนั้นจึงมักมีเรื่องร้อนใจอยู่เนือง ๆ สุขแต่กาย แต่ใจไม่เป็นสุข
อย่างไรก็ตามใช่ว่าใครมาปฏิบัติธรรมแล้วจะพบกับความสุขใจไปเสียหมด ก็หาไม่ ตราบใดที่การกระทำดังกล่าวไม่ได้ช่วยลดละความยึดติดถือมั่นในตัวตน หรือตัณหา มานะ ทิฐิเลย จิตใจก็ย่อมรุ่มร้อน ข้องขัด หาความสงบเย็นได้ยาก
มีคนจำนวนไม่น้อยเมื่อให้ทาน ใจก็ไม่ได้ลดละ กลับอยากได้มากขึ้น เช่น ทำบุญถวายสังฆทาน ก็อธิษฐานขอให้มั่งมี ได้โชคลาภ หาไม่ก็อยากประกาศให้สาธารณชนรู้ว่าตนเป็นคนใจบุญ บางคนชอบทำบุญ แต่ไม่อยากอุทิศส่วนบุญให้ใคร เพราะกลัวว่าบุญของตนจะเหลือน้อยลง
ส่วนใครที่เคร่งศีลหรือขยันทำสมาธิภาวนา แล้วเกิดความหลงตน รู้สึกว่าตนเองบริสุทธิ์กว่าคนอื่น หรือเหยียดผู้อื่นว่าด้อยกว่าตน อย่างนี้ก็ยากจะมีความสุขใจได้ เพราะมีมานะแน่นหนา ตัวตนใหญ่ขึ้น ไม่ถือว่ามีความก้าวหน้าในการปฏิบัติ เพราะแทนที่กิเลสจะลดลง กลับพอกพูนมากขึ้น พระพุทธองค์ถึงกับตรัสว่า บุคคลที่เคร่งในศีลวัตร หรือได้คุณพิเศษทางจิต เช่นได้ฌานสมาบัติ แต่หากเกิดความรู้สึกลำพองใจว่าฉันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ส่วนคนอื่นไม่ได้เป็นอย่างฉัน เกิดอาการยกตนข่มผู้อื่นแล้ว ล้วนเป็น “อสัตบุรุษ”ทั้งสิ้น
ทาน ศีล ภาวนา นั้น เป็นเสมือนเครื่องขัดเกลากิเลสออกไปจากจิตใจ ยิ่งขัดเกลามากเท่าไร จิตใจก็จะงดงามผ่องแผ้วมากเท่านั้น ไม่ต่างจากหินก้อนโตเทอะทะผิวหยาบ เมื่อถูกช่างแกะสลักเอาส่วนเกินออกไป สิ่งที่เหลือคือองค์พระปฏิมาอันงดงาม
หากให้ทาน รักษาศีล บำเพ็ญภาวนาแล้ว กิเลสไม่ได้ลดลง ยังมีความยึดติดถือมั่นในตัวตนแน่นหนา ก็แสดงว่าทำผิดแล้ว หรือพูดให้ถูกต้องกว่านั้นก็คือ “ทำผิดในสิ่งที่ถูก” ความดีนั้นหากทำไม่ถูก วางใจไม่เป็น มันก็เป็นโทษแก่ตนเองได้ ท่านอาจารย์พุทธทาสจึงเตือนเสมอว่า ระวังอย่าให้ความดีกัดเจ้าของ
ไหน ๆ จะทำความดีแล้ว ก็ควรทำโดยมุ่งลดละหรือสกัดส่วนเกินที่พอกหุ้มจิตใจออกไป เช่น เวลาทำบุญก็นึกถึงประโยชน์ของผู้รับเป็นสำคัญ ไม่นึกปรารถนาอะไรให้ตัวเอง หรือถ้าจะตั้งจิตปรารถนา ก็ขอให้กิเลสลดลง ความโลภเบาบาง ในทำนองเดียวกันเมื่อรักษาศีล ก็อย่าไปเพ่งโทษหรือจับผิดคนอื่น แต่หันมาดูใจของตนเองว่ากิเลสหรือมานะเพิ่มพูนขึ้นหรือไม่ เมื่อทำสมาธิภาวนาก็อย่ามัวเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น แม้จะได้ความสงบก็ไม่ควรประมาทหรือหลงดีใจ เพราะสิ่งสำคัญอยู่ที่ว่า ความยึดติดถือมั่นในตัวตนลดลงหรือไม่ ถ้ายึดติดถือมั่นในตัวตนมากขึ้น ก็ถือว่าถอยหลัง
ผู้ที่ลดละความยึดติดถือมั่นในตัวตนได้เป็นลำดับ จิตใจจะสงบเย็นและเป็นสุขมากขึ้น เป็นความสุขที่มาจากภายใน ทำให้พึ่งพาวัตถุหรือสิ่งภายนอกน้อยลง ผลที่ตามมาก็คือ อยู่ง่ายกินง่าย บุคคลที่ลดละได้อย่างสิ้นเชิง แม้มีข้าวของไม่กี่ชิ้นก็มีความสุขล้นเหลือ ตรงข้ามกับคนที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในทางโลก ยิ่งมีมากแต่ความสุขกลับลดลง
ที่มา : www.visalo.org
เครดิตภาพ : Google
ღ รู้ทันกิเลส ღ
รู้ทันกิเลส
โดย...พระไพศาล วิสาโล
ใจนี้เป็นใหญ่ แต่หากว่าเราเปิดช่องให้กิเลสครองใจ กิเลสก็กลายเป็นใหญ่แทน ถึงตอนนั้นแล้วใจก็ต้องคล้อยตามกิเลส ธรรมชาติของใจ โดยเฉพาะใจที่ไม่มีการอบรม มักคล้อยตามกิเลส ยิ่งอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้น ยั่วยุ ปลุกเร้า ก็จะทำให้คนเราหลงตามกิเลสไปไม่มีที่สิ้นสุด
การที่เรามีสติ รู้ทันกิเลส ทำให้กิเลสเบาบางและดับไป บางคนอาจจะถามว่า ทำไมโกรธ รู้ว่าโกรธแล้วทำไมยังไม่หายโกรธ อันนี้เป็นเพราะสติยังไม่กล้าแข็งรวดเร็ว คือสติเกิดขึ้นมาแวบเดียว ไม่ใช่สติที่ตั้งมั่น
อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ พอรู้ว่าความโกรธเกิดขึ้น ก็มีความรู้สึกเจือปนอยู่ลึก ๆ ว่า ไม่พอใจ อยากจะให้ความโกรธหายไป พูดอีกอย่างหนึ่งคือ เกิดโทสะต่อความโกรธ สังเกตไหม มันเกิดโทสะต่อความโกรธ เกิดโทสะต่อความหงุดหงิด เวลาหงุดหงิดเกิดขึ้น ก็ไม่พอใจความหงุดหงิด เวลาเกิดความโกรธเกิดขึ้น ก็ไม่พอใจความโกรธ มันโกรธซ้อนโกรธ
เมื่อเป็นอย่างนี้ ความโกรธจะหายไปได้ยังไง ในเมื่อสติที่เรามี เป็นสติที่ไม่บริสุทธิ์ล้วน ๆแต่เจือไปด้วยความโกรธ เพราะฉะนั้นจึงเกิดปัญหาว่า รู้ตัวว่าโกรธแล้วแต่ทำไมไม่หายโกรธ นั่นเพราะสติที่มีไม่ใช่สติที่บริสุทธิ์แต่เจือด้วยโทสะต่อความโกรธนั้น ๆ ก็เท่ากับซ้ำเติมหรือ สาดน้ำมันเข้ากองไฟ แล้วความโกรธจะหายไปได้อย่างไร
แต่ถ้าเรามีสติ ที่บริสุทธิ์ล้วน ๆ ที่เป็นกลาง ก็จะทำให้จิตตั้งมั่น ไม่ถลำเข้าไปในความโกรธหรือปรุงให้ความโกรธเพิ่มพูนขึ้น เพราะว่าเมื่อไม่มีโทสะเจือปนอยู่ ก็จะดับความโกรธได้ง่าย พูดอีกอย่างคือดับสนิท ไม่เกิดขึ้นมาอีก เหมือนกับดับไฟด้วยน้ำบริสุทธิ์ ไม่มีน้ำมันเจือปน ไฟนั้นย่อมดับไปในที่สุด
คัดย่อ : รู้ทันกิเลส (วารสารธรรมมาตา)
ที่มา : www.visalo.org
เครดิตภาพ : Google
โดย...พระไพศาล วิสาโล
ใจนี้เป็นใหญ่ แต่หากว่าเราเปิดช่องให้กิเลสครองใจ กิเลสก็กลายเป็นใหญ่แทน ถึงตอนนั้นแล้วใจก็ต้องคล้อยตามกิเลส ธรรมชาติของใจ โดยเฉพาะใจที่ไม่มีการอบรม มักคล้อยตามกิเลส ยิ่งอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้น ยั่วยุ ปลุกเร้า ก็จะทำให้คนเราหลงตามกิเลสไปไม่มีที่สิ้นสุด
การที่เรามีสติ รู้ทันกิเลส ทำให้กิเลสเบาบางและดับไป บางคนอาจจะถามว่า ทำไมโกรธ รู้ว่าโกรธแล้วทำไมยังไม่หายโกรธ อันนี้เป็นเพราะสติยังไม่กล้าแข็งรวดเร็ว คือสติเกิดขึ้นมาแวบเดียว ไม่ใช่สติที่ตั้งมั่น
อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ พอรู้ว่าความโกรธเกิดขึ้น ก็มีความรู้สึกเจือปนอยู่ลึก ๆ ว่า ไม่พอใจ อยากจะให้ความโกรธหายไป พูดอีกอย่างหนึ่งคือ เกิดโทสะต่อความโกรธ สังเกตไหม มันเกิดโทสะต่อความโกรธ เกิดโทสะต่อความหงุดหงิด เวลาหงุดหงิดเกิดขึ้น ก็ไม่พอใจความหงุดหงิด เวลาเกิดความโกรธเกิดขึ้น ก็ไม่พอใจความโกรธ มันโกรธซ้อนโกรธ
เมื่อเป็นอย่างนี้ ความโกรธจะหายไปได้ยังไง ในเมื่อสติที่เรามี เป็นสติที่ไม่บริสุทธิ์ล้วน ๆแต่เจือไปด้วยความโกรธ เพราะฉะนั้นจึงเกิดปัญหาว่า รู้ตัวว่าโกรธแล้วแต่ทำไมไม่หายโกรธ นั่นเพราะสติที่มีไม่ใช่สติที่บริสุทธิ์แต่เจือด้วยโทสะต่อความโกรธนั้น ๆ ก็เท่ากับซ้ำเติมหรือ สาดน้ำมันเข้ากองไฟ แล้วความโกรธจะหายไปได้อย่างไร
แต่ถ้าเรามีสติ ที่บริสุทธิ์ล้วน ๆ ที่เป็นกลาง ก็จะทำให้จิตตั้งมั่น ไม่ถลำเข้าไปในความโกรธหรือปรุงให้ความโกรธเพิ่มพูนขึ้น เพราะว่าเมื่อไม่มีโทสะเจือปนอยู่ ก็จะดับความโกรธได้ง่าย พูดอีกอย่างคือดับสนิท ไม่เกิดขึ้นมาอีก เหมือนกับดับไฟด้วยน้ำบริสุทธิ์ ไม่มีน้ำมันเจือปน ไฟนั้นย่อมดับไปในที่สุด
คัดย่อ : รู้ทันกิเลส (วารสารธรรมมาตา)
ที่มา : www.visalo.org
เครดิตภาพ : Google
วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555
ღ จิตเบิกบาน งานสัมฤทธิ์ ღ
จิตเบิกบาน งานสัมฤทธิ์
โดย..พระไพศาล วิสาโล
ใจของเรานั้นมีทั้งพลังบวกและพลังลบ พลังลบอันได้แก่ความโกรธ เกลียด เครียด ท้อ นั้นล้วนมีที่มาจากอัตตาหรือความเห็นแก่ตัว ส่วนพลังบวก คือความรัก ความเมตตา ความเสียสละ ล้วนมีมโนธรรมเป็นบ่อเกิด ทั้งอัตตาและมโนธรรมนั้นเป็นพลังที่ขับเคลื่อนชีวิตเรา และอยู่เบื้องหลังความทุกข์และความสุขของมนุษย์ทุกคน
การมองเห็นว่ามนุษย์มีแต่ความเห็นแก่ตัว ทำให้เรามองคนอื่นในแง่ลบ ขณะเดียวกันก็ทำให้เราละเลยที่จะดึงเอาพลังบวกมาหล่อเลี้ยงชีวิตจิตใจ กลับปล่อยให้พลังลบครองใจ จึงรู้สึกรุ่มร้อนหรือเป็นทุกข์อยู่เนือง ๆ ขณะเดียวกันความสัมพันธ์กับผู้อื่นก็เต็มไปด้วยความขัดแย้งและร้าวฉาน เมื่อใดที่เราตระหนักว่ามนุษย์ทุกคนมีพลังบวกอยู่ด้วย ไม่เพียงวิถีแห่งความสุขภายในจะปรากฏแก่เราเท่านั้น เรายังเห็นถึงความสำคัญในการทำความดีหรือมีน้ำใจต่อผู้อื่น แม้แต่ผู้ที่ชอบเอาเปรียบเบียดเบียน เพราะความดีของเรานั้นสามารถกระตุ้นพลังบวกในใจเขาให้มีพลังจนสามารถชนะความเห็นแก่ตัวได้
พลังบวกมิได้หมายถึงคุณธรรมหรือความใฝ่ดีเท่านั้น หากยังรวมถึงความตื่นรู้ อิสระ โปร่งโล่ง ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า โพธิจิต เป็นภาวะที่ว่างจากความยึดติดถือมั่นในตัวตน ทำให้เกิดความสงบเย็นและเป็นสุขอย่างแท้จริง ภาวะดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถสัมผัสได้และหล่อเลี้ยงใจเป็นครั้งคราว ซึ่งท่านพุทธทาสภิกขุเรียกว่า “นิพพานชิมลอง” การประสบสัมผัสกับภาวะดังกล่าวช่วยให้เรามีพลังในการทำความดีอย่างเบิกบาน อีกทั้งยังช่วยให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข ตลอดจนสามารถเผชิญกับความผันผวนปรวนแปรในชีวิตหรือแรงบีบคั้นต่าง ๆ นานาได้อย่างไม่หวั่นไหว พูดง่าย ๆ คือ แม้ถูกกระทบ แต่ใจไม่กระเทือน
ที่มา : www.visalo.org
เครดิตภาพ : Google
โดย..พระไพศาล วิสาโล
ใจของเรานั้นมีทั้งพลังบวกและพลังลบ พลังลบอันได้แก่ความโกรธ เกลียด เครียด ท้อ นั้นล้วนมีที่มาจากอัตตาหรือความเห็นแก่ตัว ส่วนพลังบวก คือความรัก ความเมตตา ความเสียสละ ล้วนมีมโนธรรมเป็นบ่อเกิด ทั้งอัตตาและมโนธรรมนั้นเป็นพลังที่ขับเคลื่อนชีวิตเรา และอยู่เบื้องหลังความทุกข์และความสุขของมนุษย์ทุกคน
การมองเห็นว่ามนุษย์มีแต่ความเห็นแก่ตัว ทำให้เรามองคนอื่นในแง่ลบ ขณะเดียวกันก็ทำให้เราละเลยที่จะดึงเอาพลังบวกมาหล่อเลี้ยงชีวิตจิตใจ กลับปล่อยให้พลังลบครองใจ จึงรู้สึกรุ่มร้อนหรือเป็นทุกข์อยู่เนือง ๆ ขณะเดียวกันความสัมพันธ์กับผู้อื่นก็เต็มไปด้วยความขัดแย้งและร้าวฉาน เมื่อใดที่เราตระหนักว่ามนุษย์ทุกคนมีพลังบวกอยู่ด้วย ไม่เพียงวิถีแห่งความสุขภายในจะปรากฏแก่เราเท่านั้น เรายังเห็นถึงความสำคัญในการทำความดีหรือมีน้ำใจต่อผู้อื่น แม้แต่ผู้ที่ชอบเอาเปรียบเบียดเบียน เพราะความดีของเรานั้นสามารถกระตุ้นพลังบวกในใจเขาให้มีพลังจนสามารถชนะความเห็นแก่ตัวได้
พลังบวกมิได้หมายถึงคุณธรรมหรือความใฝ่ดีเท่านั้น หากยังรวมถึงความตื่นรู้ อิสระ โปร่งโล่ง ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า โพธิจิต เป็นภาวะที่ว่างจากความยึดติดถือมั่นในตัวตน ทำให้เกิดความสงบเย็นและเป็นสุขอย่างแท้จริง ภาวะดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถสัมผัสได้และหล่อเลี้ยงใจเป็นครั้งคราว ซึ่งท่านพุทธทาสภิกขุเรียกว่า “นิพพานชิมลอง” การประสบสัมผัสกับภาวะดังกล่าวช่วยให้เรามีพลังในการทำความดีอย่างเบิกบาน อีกทั้งยังช่วยให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข ตลอดจนสามารถเผชิญกับความผันผวนปรวนแปรในชีวิตหรือแรงบีบคั้นต่าง ๆ นานาได้อย่างไม่หวั่นไหว พูดง่าย ๆ คือ แม้ถูกกระทบ แต่ใจไม่กระเทือน
ที่มา : www.visalo.org
เครดิตภาพ : Google
วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555
ღ ดูจิต เห็นจิต ღ
การปฏิบัติธรรม คือการทำให้ตนเองมีความรู้สึกตัวอยู่เนือง ความรู้สึกนั้นคือตัวสติ ตามรู้กาย ตามรู้ใจไปอย่างธรรมดา ๆ คำว่า ‘ตามรู้’ ตัวนี้ หมายถึง ความรู้ตามความเป็นจริง คือกายมีอาการอย่างไรก็รู้ จิตมีอาการอย่างไรก็รู้ การตามรู้นี้ตรงกับคำว่า ‘อนุปัสสนา’ ในมหาสติปัฏฐานสูตร รู้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ไม่ใช่ถลำไปตามสิ่งที่ถูกรู้ ยกตัวอย่างเช่น เวลาได้ยินเขาด่าว่าติเตียน...รู้สึกโกรธ...ให้รู้ตามว่าโกรธ...พร้อมคำถามที่ตามด้วยสติ
โกรธ...ได้อะไร...? คำตอบคือได้ความทุกข์ร้อนใจ
ไม่โกรธได้อะไร? คำตอบคือความสบายไม่ทุกข์ร้อน
ในจิตใจ...ลงท้ายคือ...ไม่รู้จะไปโกรธไปทำไม
การตามรู้อันเป็นอนุปัสสนานี้เมื่อทำไปเรื่อย ๆ ในที่สุดจะเห็นตามความจริงว่า กายไม่ใช่เรา จิตไม่ใช่เรา แล้วจิตจะค่อย ๆ คลายความยึดถือกายและจิตไปตามลำดับ จนเข้าถึงความว่างด้วยการปล่อยวาง จิตผ่องใสไร้ขอบเขตพ้นจากการปรุงแต่งจนสามารถพ้นทุกข์ได้ในที่สุด
ในมุมกลับกัน ถ้าการปฏิบัติที่ไม่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ไม่ตามรู้กาย ไม่ตามรู้ใจ ค้นคิดหาแต่วิธีการปฏิบัติ หรือพยายามแต่จะทำอย่างนั้นอย่างนี้ วนอยู่กับการหาหนทางก็จะเหน็ดเหนื่อย ท้ายสุดคือความรู้สึกว่าการปฏิบัติธรรมเพื่อแสวงหาความพ้นทุกข์เป็นเรื่องยากเข็ญอย่างที่กล่าวมาข้างต้น
จิตของอริยบุคคลบังเกิดได้ด้วยการเจริญสติ...สติเป็นบาทแรกและบาทสุดท้ายของมรรคผลและนิพพาน ฉะนั้นผู้แสวงหาความพ้นทุกข์ต้องรู้จักการเจริญสติ
การเจริญสติมิได้มีเฉพาะเวลานั่งขัดสมาธิภาวนาเท่านั้น หากเราท่านทั้งหลายสามารถเจริญสติได้ตลอดเวลา ด้วยการใช้สติกำกับกายใจอย่าให้ไหลไปตามอารมณ์...ตามสิ่งเร้าภายนอกที่เข้ามากระทบอายตนะทั้งหก...ทำไปเรื่อย ๆ ทำให้เคยชินก็จะเห็นผลในไม่ช้า
ผลที่ตามมาก็ไม่ต้องถามใคร...ไม่ต้องมีนิมิตบอก แต่เราจะรู้ได้ด้วยตนเองอย่างชัดเจน...กายจะเบาจิตจะเบา เพราะความโกรธจะค่อยจางหาย ความโลภก็จะบางเบาลง
ทั้งปวงก็เพราะจิตแนบแน่นอยู่กับสติที่ประกอบด้วย...เหตุผลแห่งความจริงที่เรียกว่า ‘ธรรม’ อยู่ทุกเมื่อ อยู่ทุกขณะ
จิตเบา...กายก็เบา จิตสงบกายก็สงบ ฉะนั้นอย่าประหลาดใจที่เราจะเห็นว่า ผู้ปฏิบัติธรรมจะมีวรรณะผ่องใส น่าเคารพนับถืออย่างที่เห็นอยู่โดยทั่วไป
การดูจิต...ตามรู้จิต อย่าดูด้วยความอยาก ไม่ต้องตั้งท่า ไม่ต้องแสวงหา เพียงให้มีความรู้สึกตัว (สติ) แล้วตามรู้ไปธรรมดา...รู้แล้ววาง รู้แล้ววางไปเรื่อย ๆ ดูเฉพาะที่เป็นเรื่องปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้นในจิต
ต้องดูบ่อย ๆ หรือตามรู้อยู่เสมอ ๆ ยิ่งรู้ได้ถี่มากขึ้นโดยไม่ตั้งใจมากเท่าไหร่ยิ่งดีเรียกว่าสติรู้ทันเร็วขึ้นก้าวหน้าขึ้น
เหตุผลที่การตามดูจิตดูกายควรงดเว้นความอยาก...การตั้งท่าเพ่งเล็งก็เพราะนัยเดียวกับการนั่งบริกรรมภาวนาทำสมาธิ ถ้าทำอย่างตั้งอกตั้งใจมากเกินไปก็จะกลายเป็นการปรุงแต่ง เป็นการก้าวสู่ความเคร่งเครียด จนยากจะเห็นธรรมชาติจริง ๆ ของจิต
ซึ่งจะทำให้บรรลุผลช้า!
บทสรุปเกี่ยวกับการตามดู...ตามรู้จิตที่กล่าวมาทั้งหมด ก็เพื่อการเห็นว่าตัวความรู้สึกทั้งหลายนั้นเป็น ‘นามธรรม’ ไม่ใช่ตัวเรา นามธรรมจะแสดงธรรมให้ดู แสดงให้เห็นความจริงที่ว่า เมื่อเกิดขึ้นจะตั้งอยู่ท้ายสุดก็ดับไปเสมอ...เมื่อเห็นมากขึ้นเห็นบ่อยครั้ง ความรู้ที่ได้จะซึมซับจนจิตเริ่มปล่อยวางความรู้สึกต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ตัวเราลงได้ คือเมื่อสุขก็ไม่หลงยินดี เมื่อทุกข์ก็ไม่ยินร้าย...อยู่กับภาวะกลาง ๆ อันเป็นภาวะแห่งความพ้นทุกข์ในที่สุด
ที่มา : www.dhamma5minutes.com
เครดิตภาพ : Google
โกรธ...ได้อะไร...? คำตอบคือได้ความทุกข์ร้อนใจ
ไม่โกรธได้อะไร? คำตอบคือความสบายไม่ทุกข์ร้อน
ในจิตใจ...ลงท้ายคือ...ไม่รู้จะไปโกรธไปทำไม
การตามรู้อันเป็นอนุปัสสนานี้เมื่อทำไปเรื่อย ๆ ในที่สุดจะเห็นตามความจริงว่า กายไม่ใช่เรา จิตไม่ใช่เรา แล้วจิตจะค่อย ๆ คลายความยึดถือกายและจิตไปตามลำดับ จนเข้าถึงความว่างด้วยการปล่อยวาง จิตผ่องใสไร้ขอบเขตพ้นจากการปรุงแต่งจนสามารถพ้นทุกข์ได้ในที่สุด
ในมุมกลับกัน ถ้าการปฏิบัติที่ไม่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ไม่ตามรู้กาย ไม่ตามรู้ใจ ค้นคิดหาแต่วิธีการปฏิบัติ หรือพยายามแต่จะทำอย่างนั้นอย่างนี้ วนอยู่กับการหาหนทางก็จะเหน็ดเหนื่อย ท้ายสุดคือความรู้สึกว่าการปฏิบัติธรรมเพื่อแสวงหาความพ้นทุกข์เป็นเรื่องยากเข็ญอย่างที่กล่าวมาข้างต้น
จิตของอริยบุคคลบังเกิดได้ด้วยการเจริญสติ...สติเป็นบาทแรกและบาทสุดท้ายของมรรคผลและนิพพาน ฉะนั้นผู้แสวงหาความพ้นทุกข์ต้องรู้จักการเจริญสติ
การเจริญสติมิได้มีเฉพาะเวลานั่งขัดสมาธิภาวนาเท่านั้น หากเราท่านทั้งหลายสามารถเจริญสติได้ตลอดเวลา ด้วยการใช้สติกำกับกายใจอย่าให้ไหลไปตามอารมณ์...ตามสิ่งเร้าภายนอกที่เข้ามากระทบอายตนะทั้งหก...ทำไปเรื่อย ๆ ทำให้เคยชินก็จะเห็นผลในไม่ช้า
ผลที่ตามมาก็ไม่ต้องถามใคร...ไม่ต้องมีนิมิตบอก แต่เราจะรู้ได้ด้วยตนเองอย่างชัดเจน...กายจะเบาจิตจะเบา เพราะความโกรธจะค่อยจางหาย ความโลภก็จะบางเบาลง
ทั้งปวงก็เพราะจิตแนบแน่นอยู่กับสติที่ประกอบด้วย...เหตุผลแห่งความจริงที่เรียกว่า ‘ธรรม’ อยู่ทุกเมื่อ อยู่ทุกขณะ
จิตเบา...กายก็เบา จิตสงบกายก็สงบ ฉะนั้นอย่าประหลาดใจที่เราจะเห็นว่า ผู้ปฏิบัติธรรมจะมีวรรณะผ่องใส น่าเคารพนับถืออย่างที่เห็นอยู่โดยทั่วไป
การดูจิต...ตามรู้จิต อย่าดูด้วยความอยาก ไม่ต้องตั้งท่า ไม่ต้องแสวงหา เพียงให้มีความรู้สึกตัว (สติ) แล้วตามรู้ไปธรรมดา...รู้แล้ววาง รู้แล้ววางไปเรื่อย ๆ ดูเฉพาะที่เป็นเรื่องปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้นในจิต
ต้องดูบ่อย ๆ หรือตามรู้อยู่เสมอ ๆ ยิ่งรู้ได้ถี่มากขึ้นโดยไม่ตั้งใจมากเท่าไหร่ยิ่งดีเรียกว่าสติรู้ทันเร็วขึ้นก้าวหน้าขึ้น
เหตุผลที่การตามดูจิตดูกายควรงดเว้นความอยาก...การตั้งท่าเพ่งเล็งก็เพราะนัยเดียวกับการนั่งบริกรรมภาวนาทำสมาธิ ถ้าทำอย่างตั้งอกตั้งใจมากเกินไปก็จะกลายเป็นการปรุงแต่ง เป็นการก้าวสู่ความเคร่งเครียด จนยากจะเห็นธรรมชาติจริง ๆ ของจิต
ซึ่งจะทำให้บรรลุผลช้า!
บทสรุปเกี่ยวกับการตามดู...ตามรู้จิตที่กล่าวมาทั้งหมด ก็เพื่อการเห็นว่าตัวความรู้สึกทั้งหลายนั้นเป็น ‘นามธรรม’ ไม่ใช่ตัวเรา นามธรรมจะแสดงธรรมให้ดู แสดงให้เห็นความจริงที่ว่า เมื่อเกิดขึ้นจะตั้งอยู่ท้ายสุดก็ดับไปเสมอ...เมื่อเห็นมากขึ้นเห็นบ่อยครั้ง ความรู้ที่ได้จะซึมซับจนจิตเริ่มปล่อยวางความรู้สึกต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ตัวเราลงได้ คือเมื่อสุขก็ไม่หลงยินดี เมื่อทุกข์ก็ไม่ยินร้าย...อยู่กับภาวะกลาง ๆ อันเป็นภาวะแห่งความพ้นทุกข์ในที่สุด
ที่มา : www.dhamma5minutes.com
เครดิตภาพ : Google
วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555
พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
โดย.. หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
การปฏิบัติธรรม หมายถึง การปฏิบัติฝึกจิตให้ปลอดพ้นจากกิเลสอย่างแท้จริง ด้วยวิถีทาง สมถะและวิปัสสนากรรมฐาน ตามลำดับ
จิต คือ พุทโธ
จิต นี้ก็คือ ธรรม เป็นสภาวะพิเศษที่ไม่ไปไม่มา เป็นความบริสุทธิ์ล้วนๆ เหนือความดีและความชั่วทั้งปวง ไม่อาจจัดเป็นลักษณะรูปหรือนามได้
เมื่อได้เข้าถึงสภาวะดังกล่าวของจิตแล้ว อาการต่างๆ ของจิตที่เป็นไป หรือจะเรียกว่ากิริยาแห่งจิตก็ได้ ทั้งในภาคสมถะและวิปัสสนาตามลำดับ ย่อมต้องถือว่าเป็นของภายนอก เป็นสิ่งแปลกปลอมปรุงแต่ง ไม่ควรยึดถือเอาเป็นแก่นสารสาระ แม้แต่ฌานสมาบัติก็เป็นเพียงของประจำโลกเท่านั้น มิใช่เป็นหนทางวิเศษแต่อย่างใดเลย จะเห็นได้จากการบำเพ็ญเพียรของสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ พระองค์ทรงละเสียซึ่งลักษณะธรรมเหล่านี้โดยสิ้นเชิง คือ
เมื่อพระองค์ออกจาก จตุถฌาน ละเวทนาขาดสิ้น สภาวะจิตถึงการดับรอบตัวเองแล้ว ภวังคจิตขาดแล้วไม่สืบต่ออีกเลย สิ้นสุดสังสารวัฏ ณ ขณะนั้นเลย เรียกว่า นิพพาน
ฉะนั้น ไม่ว่าแสง สี ฌานสมาบัติใดๆ หรือแม้แต่ภวังคจิตเองก็ไม่น่าจะไปกำหนดรู้เพื่อการถืออะไร เพราะเป็นของเกิดๆ ดับๆ เป็นของปรุงแต่งขึ้น เป็นของประจำโลก จิตที่กล่าวถึงนี้แลแท้จริงก็มีการเกิดๆ ดับๆ อยู่ร่ำไป จึงกล่าวได้ว่า ตัวจิตเองก็ไม่คงทนถาวรอะไร ถึงซึ่งการดับรอบ โดยสิ้นเชิงเช่นกัน เมื่อกล่าวเป็นธรรมเป็นจริงแล้ว แม้พุทโธ ธัมโม สังโฆ ก็ยังหมายถึง สมมติบัญญัติอยู่นั่นเอง
สมเด็จพระบรมศาสดา จึงตรัสว่า พระองค์ได้ทำลายเรือน หรืออาณาจักรของตัณหาแล้ว ตัณหาไม่สามารถสร้างเหย้าเรือนให้เป็นภพเป็นชาติ แม้ตัวจิตเองยังสภาพเดิม คือ ฐีติจิต ฐีติธรรม อันเป็นธรรมดา ด้วยเหตุนี้เอง ภิกษุทั้งหลายพึงสังวรอย่างยิ่งยวด ไม่พึงปรับอาบัติหรือโทษต่างๆ แก่พระอรหันต์ ก็อย่าว่าแต่ความผิดบาปเลย แม้ความดี พระอรหันต์ท่านก็ละได้เด็ดขาด ท่านอยู่เหนือความดีความชั่วทั้งหลายแล้วโดยสิ้นเชิง อย่าถือพระสูตรบางอย่างที่ว่า มีการปรับโทษพระอรหันต์เช่น ความผิดที่ไม่ร่วมสมาคม หรือสังฆกรรมกับหมู่สงฆ์ดังนี้
เมื่อจักปฏิบัติธรรมแล้วก็ไม่ควรวุ่นวายกับชาดกนิทาน ของแปลกของปลอมอะไรนั่น มุ่งพิจารณาจิตไม่ว่าพบเห็น ได้ยิน ได้ฟัง สิ่งใดให้ย้อนเข้ามาในจิตให้ได้จนสามารถรู้จิต เห็นจิต เข้าถึงสภาวะความรู้แจ้งแทงตลอดในธรรม จนถึงความดับรอบของจิตใจในขั้นสุดท้าย
การพ้นสมมติบัญญัติย่อมหมายรวมไปถึงธรรมด้วย เช่นอายตนะทั้งหลาย ซึ่งเปรียบเสมือนฉายา หรือแม้ตัวจิตเองก็ตาม มิว่าจะพูดกันครั้งใด ก็ไม่พ้นสมมติบัญญัติไปได้
การหยุดคิดลึก นั่นก็หมายถึง หยุดพูด หยุดเคลื่อนไหว หยุดกิริยาแห่งจิต ซึ่งหมายถึง หยุดสังสารวัฏฏ์นั่นเอง เพราะไม่ว่าเราจะกำหนดจิตคิดถึงสิ่งใดๆ สิ่งนั้นก็ยังเป็นสิ่งภายนอก เป็นของปรุงแต่งขึ้นในโลก เช่น การกำหนดรู้ ย่อมมีสิ่งที่ต้องกำหนด (อาจจะเป็นรูปก็ดี นามก็ดี) เสื่อมสลาย เพราะเป็นของปรุงแต่งจากเหตุปัจจัยทั้งสิ้น
ฉะนั้น สภาวะของอุเบกขาสัมโพชญงค์ (ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง) จึงเป็นของยากที่จะแสดงออกเป็นคำพูด มีแต่ความนิ่งวางเฉย พร้อมกับรู้ชัดเลยทีเดียวว่า สรรพสิ่งทั้งหลายเสมอกันสิ้น ไม่ว่าสัตว์ บุคคล เรา เขา หรือแม้พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และสัตว์โลกทั้งหลาย ก็มีสภาพอันเดียวกันเสมอกัน แต่ที่เห็นแตกต่างกัน เพราะการยึดถือในสิ่งที่แตกต่างกันคือ ผิดไปจากสัจธรรมแท้เท่านั้น ความประพฤติปฏิบัติและจริยธรรมก็แลดูผิดแผกกันไปต่างๆ นานา
การที่บุคคลใดสามารถปฏิบัติเข้าถึงสภาวะที่จะตัดสินใจได้ว่าสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งภายนอกกับตัวเรานี้ แท้จริงเป็นของสิ่งเดียวกันโดยแท้ (นี่คือสภาวะของความเป็นอยู่ของผู้บรรลุพระนิพพาน) จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า สภาวะเป็นจริง หรือที่เรียกว่าสัจธรรมนั้นมีอยู่ตลอดกาล หากไม่ท้อถอยหรือละความเพียรเสียก่อน ย่อมมีโอกาสเข้าถึงสัจธรรมได้เป็นที่แน่นอน
ที่มา : www.dannipparn.com
เครดิตภาพ : Google
โดย.. หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
การปฏิบัติธรรม หมายถึง การปฏิบัติฝึกจิตให้ปลอดพ้นจากกิเลสอย่างแท้จริง ด้วยวิถีทาง สมถะและวิปัสสนากรรมฐาน ตามลำดับ
จิต คือ พุทโธ
จิต นี้ก็คือ ธรรม เป็นสภาวะพิเศษที่ไม่ไปไม่มา เป็นความบริสุทธิ์ล้วนๆ เหนือความดีและความชั่วทั้งปวง ไม่อาจจัดเป็นลักษณะรูปหรือนามได้
เมื่อได้เข้าถึงสภาวะดังกล่าวของจิตแล้ว อาการต่างๆ ของจิตที่เป็นไป หรือจะเรียกว่ากิริยาแห่งจิตก็ได้ ทั้งในภาคสมถะและวิปัสสนาตามลำดับ ย่อมต้องถือว่าเป็นของภายนอก เป็นสิ่งแปลกปลอมปรุงแต่ง ไม่ควรยึดถือเอาเป็นแก่นสารสาระ แม้แต่ฌานสมาบัติก็เป็นเพียงของประจำโลกเท่านั้น มิใช่เป็นหนทางวิเศษแต่อย่างใดเลย จะเห็นได้จากการบำเพ็ญเพียรของสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ พระองค์ทรงละเสียซึ่งลักษณะธรรมเหล่านี้โดยสิ้นเชิง คือ
เมื่อพระองค์ออกจาก จตุถฌาน ละเวทนาขาดสิ้น สภาวะจิตถึงการดับรอบตัวเองแล้ว ภวังคจิตขาดแล้วไม่สืบต่ออีกเลย สิ้นสุดสังสารวัฏ ณ ขณะนั้นเลย เรียกว่า นิพพาน
ฉะนั้น ไม่ว่าแสง สี ฌานสมาบัติใดๆ หรือแม้แต่ภวังคจิตเองก็ไม่น่าจะไปกำหนดรู้เพื่อการถืออะไร เพราะเป็นของเกิดๆ ดับๆ เป็นของปรุงแต่งขึ้น เป็นของประจำโลก จิตที่กล่าวถึงนี้แลแท้จริงก็มีการเกิดๆ ดับๆ อยู่ร่ำไป จึงกล่าวได้ว่า ตัวจิตเองก็ไม่คงทนถาวรอะไร ถึงซึ่งการดับรอบ โดยสิ้นเชิงเช่นกัน เมื่อกล่าวเป็นธรรมเป็นจริงแล้ว แม้พุทโธ ธัมโม สังโฆ ก็ยังหมายถึง สมมติบัญญัติอยู่นั่นเอง
สมเด็จพระบรมศาสดา จึงตรัสว่า พระองค์ได้ทำลายเรือน หรืออาณาจักรของตัณหาแล้ว ตัณหาไม่สามารถสร้างเหย้าเรือนให้เป็นภพเป็นชาติ แม้ตัวจิตเองยังสภาพเดิม คือ ฐีติจิต ฐีติธรรม อันเป็นธรรมดา ด้วยเหตุนี้เอง ภิกษุทั้งหลายพึงสังวรอย่างยิ่งยวด ไม่พึงปรับอาบัติหรือโทษต่างๆ แก่พระอรหันต์ ก็อย่าว่าแต่ความผิดบาปเลย แม้ความดี พระอรหันต์ท่านก็ละได้เด็ดขาด ท่านอยู่เหนือความดีความชั่วทั้งหลายแล้วโดยสิ้นเชิง อย่าถือพระสูตรบางอย่างที่ว่า มีการปรับโทษพระอรหันต์เช่น ความผิดที่ไม่ร่วมสมาคม หรือสังฆกรรมกับหมู่สงฆ์ดังนี้
เมื่อจักปฏิบัติธรรมแล้วก็ไม่ควรวุ่นวายกับชาดกนิทาน ของแปลกของปลอมอะไรนั่น มุ่งพิจารณาจิตไม่ว่าพบเห็น ได้ยิน ได้ฟัง สิ่งใดให้ย้อนเข้ามาในจิตให้ได้จนสามารถรู้จิต เห็นจิต เข้าถึงสภาวะความรู้แจ้งแทงตลอดในธรรม จนถึงความดับรอบของจิตใจในขั้นสุดท้าย
การพ้นสมมติบัญญัติย่อมหมายรวมไปถึงธรรมด้วย เช่นอายตนะทั้งหลาย ซึ่งเปรียบเสมือนฉายา หรือแม้ตัวจิตเองก็ตาม มิว่าจะพูดกันครั้งใด ก็ไม่พ้นสมมติบัญญัติไปได้
การหยุดคิดลึก นั่นก็หมายถึง หยุดพูด หยุดเคลื่อนไหว หยุดกิริยาแห่งจิต ซึ่งหมายถึง หยุดสังสารวัฏฏ์นั่นเอง เพราะไม่ว่าเราจะกำหนดจิตคิดถึงสิ่งใดๆ สิ่งนั้นก็ยังเป็นสิ่งภายนอก เป็นของปรุงแต่งขึ้นในโลก เช่น การกำหนดรู้ ย่อมมีสิ่งที่ต้องกำหนด (อาจจะเป็นรูปก็ดี นามก็ดี) เสื่อมสลาย เพราะเป็นของปรุงแต่งจากเหตุปัจจัยทั้งสิ้น
ฉะนั้น สภาวะของอุเบกขาสัมโพชญงค์ (ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง) จึงเป็นของยากที่จะแสดงออกเป็นคำพูด มีแต่ความนิ่งวางเฉย พร้อมกับรู้ชัดเลยทีเดียวว่า สรรพสิ่งทั้งหลายเสมอกันสิ้น ไม่ว่าสัตว์ บุคคล เรา เขา หรือแม้พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และสัตว์โลกทั้งหลาย ก็มีสภาพอันเดียวกันเสมอกัน แต่ที่เห็นแตกต่างกัน เพราะการยึดถือในสิ่งที่แตกต่างกันคือ ผิดไปจากสัจธรรมแท้เท่านั้น ความประพฤติปฏิบัติและจริยธรรมก็แลดูผิดแผกกันไปต่างๆ นานา
การที่บุคคลใดสามารถปฏิบัติเข้าถึงสภาวะที่จะตัดสินใจได้ว่าสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งภายนอกกับตัวเรานี้ แท้จริงเป็นของสิ่งเดียวกันโดยแท้ (นี่คือสภาวะของความเป็นอยู่ของผู้บรรลุพระนิพพาน) จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า สภาวะเป็นจริง หรือที่เรียกว่าสัจธรรมนั้นมีอยู่ตลอดกาล หากไม่ท้อถอยหรือละความเพียรเสียก่อน ย่อมมีโอกาสเข้าถึงสัจธรรมได้เป็นที่แน่นอน
ที่มา : www.dannipparn.com
เครดิตภาพ : Google
ღ เห็นธรรมในธรรม ღ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรม หมายถึง
๑. เห็นเวทนาในเวทนานั้นคือรู้เวทนาตามความเป็นจริง รู้ว่าเกิดจากเหตุ ปัจจัย แล้วก็ดับไป ไม่มีตัวตน
๒.เห็นจิตในจิตนั้นคือรู้จิตตามความเป็นจริงเป็นเพียงสภาวธรรมอย่างหนึ่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา
๓. เห็นธรรมในธรรมคือรู้ธรรมะที่นอกจากยึดถือว่าเป็นกาย เป็นเวทนา เป็นจิต ที่
เหลือเป็นธรรมะ ได้แก่ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด อายตนะ นิวรณ์ โพชฌงค์ สัจจะ ทั้งหมด
เป็นธรรมะ (ตามนัยสติปัฏฐานสูตร) และอีกอย่างหนึ่ง ที่ว่าเห็นกายในกาย คือเห็น
กายในกาย ไม่ใช่เห็นกายในเวทนา ในจิต ในธรรม
ที่มา : http://www.dhammahome.com
เครดิตภาพ : Google
๑. เห็นเวทนาในเวทนานั้นคือรู้เวทนาตามความเป็นจริง รู้ว่าเกิดจากเหตุ ปัจจัย แล้วก็ดับไป ไม่มีตัวตน
๒.เห็นจิตในจิตนั้นคือรู้จิตตามความเป็นจริงเป็นเพียงสภาวธรรมอย่างหนึ่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา
๓. เห็นธรรมในธรรมคือรู้ธรรมะที่นอกจากยึดถือว่าเป็นกาย เป็นเวทนา เป็นจิต ที่
เหลือเป็นธรรมะ ได้แก่ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด อายตนะ นิวรณ์ โพชฌงค์ สัจจะ ทั้งหมด
เป็นธรรมะ (ตามนัยสติปัฏฐานสูตร) และอีกอย่างหนึ่ง ที่ว่าเห็นกายในกาย คือเห็น
กายในกาย ไม่ใช่เห็นกายในเวทนา ในจิต ในธรรม
ที่มา : http://www.dhammahome.com
เครดิตภาพ : Google
ღ ละความโกรธ ღ
ละความโกรธด้วยความรักและเมตตา
โดย...พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
เมตตาตรงข้ามกับโทสะ และพยาบาท
ซึ่งเป็นความโกรธ ความมุ่งร้าย
เมตตาเป็นความรัก ความปรารถนาดีให้มีความสุข
เป็นความรักที่บริสุทธิ์ ไม่ใช่ความรักที่เป็นราคะคือความใคร่
ดังนั้น หากเราหมั่นอบรมจิตใจให้เมตตาตั้งขึ้นในจิตใจได้
จิตใจก็จะพ้นจากโทสะพยาบาท
เพื่อให้มีเมตตาเป็นพื้นฐานของจิต เราควรพิจารณาว่า
ตัวเรารักสุข เกลียดทุกข์ฉันใด
คนอื่น สัตว์อื่นก็รักสุข เกลียดทุกข์ฉันนั้น
ผู้ที่จะแผ่เมตตาได้จะต้องทำใจตัวเองให้มีเมตตาก่อน
คือทำจิตใจตัวเองให้อ่อนโยน สงบเย็น
แล้วจึงแผ่เมตตาแก่ผู้อื่น
เพราะการจะแผ่สิ่งใดออกมาได้
จิตใจจะต้องมีคุณสมบัตินั้นอย่างแท้จริง
คัดย่อ : หนังสือ เหตุสมควรโกรธ..ไม่มีในโลก
ที่มา : http://kwamjing.freewebsites.com/chapter06.htm
เครดิตภาพ : Google
โดย...พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
เมตตาตรงข้ามกับโทสะ และพยาบาท
ซึ่งเป็นความโกรธ ความมุ่งร้าย
เมตตาเป็นความรัก ความปรารถนาดีให้มีความสุข
เป็นความรักที่บริสุทธิ์ ไม่ใช่ความรักที่เป็นราคะคือความใคร่
ดังนั้น หากเราหมั่นอบรมจิตใจให้เมตตาตั้งขึ้นในจิตใจได้
จิตใจก็จะพ้นจากโทสะพยาบาท
เพื่อให้มีเมตตาเป็นพื้นฐานของจิต เราควรพิจารณาว่า
ตัวเรารักสุข เกลียดทุกข์ฉันใด
คนอื่น สัตว์อื่นก็รักสุข เกลียดทุกข์ฉันนั้น
ผู้ที่จะแผ่เมตตาได้จะต้องทำใจตัวเองให้มีเมตตาก่อน
คือทำจิตใจตัวเองให้อ่อนโยน สงบเย็น
แล้วจึงแผ่เมตตาแก่ผู้อื่น
เพราะการจะแผ่สิ่งใดออกมาได้
จิตใจจะต้องมีคุณสมบัตินั้นอย่างแท้จริง
คัดย่อ : หนังสือ เหตุสมควรโกรธ..ไม่มีในโลก
ที่มา : http://kwamjing.freewebsites.com/chapter06.htm
เครดิตภาพ : Google
วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555
ღ ปัจจุบันสำคัญที่สุด ღ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า
"บุคคลไม่ควรคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง บุคคลใดเห็นแจ้งในปัจจุบันธรรม ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ผู้นั้นควรเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ความเพียรควรทำเสียในวันนี้ เดี๋ยวนี้ ไม่มีใครจะรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ เพราะการผัดเพี้ยนกับความตาย ไม่มีใครทำได้ ผู้รู้ผู้สงบย่อมเรียกผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืนว่า ผู้นั้นมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวประเสริญที่สุด"
ภัทเทกรัตตสูตร ๑๔/๒๙๗
ที่มา : www.larndham.org
เครดิตภาพ : Google
"บุคคลไม่ควรคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง บุคคลใดเห็นแจ้งในปัจจุบันธรรม ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ผู้นั้นควรเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ความเพียรควรทำเสียในวันนี้ เดี๋ยวนี้ ไม่มีใครจะรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ เพราะการผัดเพี้ยนกับความตาย ไม่มีใครทำได้ ผู้รู้ผู้สงบย่อมเรียกผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืนว่า ผู้นั้นมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวประเสริญที่สุด"
ภัทเทกรัตตสูตร ๑๔/๒๙๗
ที่มา : www.larndham.org
เครดิตภาพ : Google
วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555
ღ ถักจิตทอใจด้วยใยธรรม ღ
ธรรมเทศนา...หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
ธรรมะในคัมภีร์อยู่ไกล... ธรรมะในใจอยู่ใกล้แค่เอื้อม
ถ้าเราไปอ่านเรื่องธรรมะในคัมภีร์ ก็ดูเหมือนกับว่าธรรมะนี้อยู่ไกลสุดเอื้อม แต่เมื่อเราจะมาศึกษาและเรียนให้รู้ธรรมะในตัวของเรานี่ เราจะรู้สึกว่าธรรมะที่จะต้องเรียนรู้และจำเป็นต้องรู้ก็ไม่ใช่อื่นไกล ก็คือเรื่องของกายกับใจของเรานั่นเอง
กายกับใจเป็นที่เกิดของความสุขและความทุกข์ ความดีและความชั่วเกิดที่กายกับใจ บุญและบาปเกิดที่กายกับใจ มรรค ผล นิพพาน ความดีเกิดที่กายกับใจ เพราะฉะนั้น การเรียนรู้ธรรมะ เราควรจะได้เรียนรู้เรื่องกายกับใจของเรา มากกว่าที่จะไปเรียนในคัมภีร์ให้มันมีความรู้มากๆ เป็นการส่งเสริมทิฎฐิมานะให้มันเกิดมากขึ้นๆ แล้วก็เที่ยวแบกเอาคัมภีร์ไปขัดคอกัน
ผู้ปฏิบัติธรรมที่จะสำเร็จมรรค ผล นิพพานกันจริงๆ ต้องเรียนรู้เรื่องของโลก ในหลักธรรมะท่านสอนให้เรียนรู้ เรื่องกาย เรื่องจิต
รู้อะไรก็ไม่สู้รู้ใจตนเอง
ถ้าเราพิจารณาธรรมะ เราพิจารณาที่ใจเรา น้อมเข้ามาที่ใจ มารู้อยู่ที่ใจ นึกแต่เพียงว่าสิ่งภายนอกเป็นแต่เพียงอารมณ์ สิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติเท่านั้น
รู้นอกเป็นสมุทัย รู้ในเป็นมรรค
ถ้าไปรู้นอก เป็นเหตุให้สร้างบาปสร้างกรรม
ถ้ารู้เข้ามาในเป็นเหตุให้ละวาง
ความรู้ที่จำเป็นที่สำคัญที่สุด ก็คือรู้จิตรู้ใจของเราเอง ว่าปัจจุบันนี้สภาพจิตใจของเราเป็นอย่างไร เศร้าหมองหรือผ่องใส มีกิเลสตัวไหนอยู่ในใจเราบ้าง เมื่อเรารู้ความจริงของตัวเราแล้ว เราจะแก้ไขดัดแปลงอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับความตั้งใจของเรา
อ่านจริตของเราให้รู้ว่า เราเป็นราคจริต โทสจริต โมหจริต วิตกจริต พุทธิจริต ศรัทธาจริต อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจะดูให้รู้แจ้ง เพื่อจะเป็นพื้นฐานที่เราจะแก้ไขดัดแปลงจิตของเรา เมื่อเรารู้ชัดลงไปแล้ว เรามีกิเลสตัวไหน เป็นจริตประเภทไหน เราจะได้แก้ไขดัดแปลง ตัดทอนสิ่งที่เกินแล้วเพิ่มสิ่งที่หย่อนให้อยู่ในระดับพอดีพองาม เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา
วางใจเป็นกลาง ละวางความทุกข์
ความทุกข์ที่บังเกิดขึ้นที่จิต เพราะอาศัยความยินดียินร้าย เป็นตัวสมุทัยหนุนให้เกิดทุกข์ ทุกข์ตัวนี้ คือทุกข์อริยสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เมื่อเรามีสติกำหนดอารมณ์จิตของเราอยู่ตลอดเวลา สุขทุกข์เกิดสลับกันไป เมื่อสติสัมปชัญญะตัวนี้เด่นขึ้น มีพลังแก่กล้าขึ้นเมื่อใด เราสามารถที่จะกำหนดรู้ รู้ธรรมะตามความเป็นจริง... เมื่อจิตของท่านสามารถที่จะดำรงอยู่ในความเป็นปกติ ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์นั้น ๆ ความเป็นปกติจิตปรากฏเด่นชัดอยู่ตลอดเวลา ตัวปกติของจิตนั่นแหละคือตัวนิโรธ เพราะฉะนั้น การกำหนดรู้อารมณ์จิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ศีล ๕ บริสุทธิ์ สุดประเสริฐ
แม้ทำสมาธิไม่เป็น ภาวนาไม่เป็น แต่ศีล ๕ บริสุทธิ์ เป็นสิ่งประเสริฐสุดในการปฏิบัติธรรม ศีลมากก็ไร้ค่า ถ้าศีล ๕ ไม่มี ท่านที่ทะนงตัวว่ามีศีลมาก ๆ เป็นกอบเป็นกำ แต่ถ้าหากมองข้ามศีล ๕ ยังละเมิดศีล ๕ ข้อใดข้อหนึ่งอยู่ ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด เพราะเหตุว่าที่มีกายใจที่จะรองรับคุณธรรมเบื้องสูงขึ้นไปต้องมีศีล ๕ บริสุทธิ์บริบูรณ์ดี
ศีล ๕ ละกิเลสทางกาย กิเลสไม่ใช่เรื่องที่เราจะละได้ กิเลสที่ละได้คือละการไม่ทำ ละการไม่พูด แต่ความรู้สึกทางใจนี่ตั้งใจละเองไม่ได้ การละกิเลสทางกาย ก็คือ ศีล ๕ ข้อ
พลิกกิเลสให้เป็นธรรม
กิเลสที่มีอยู่ในจิตในใจของเรานั้น อย่าไปพยายามละ แต่ต้องมีสติปัญญา ถ้ากำหนดพิจารณาให้รู้ว่า เรามีกิเลสตัวใด ในเมื่อเรารู้ว่า เรามีกิเลส โลภ โกรธ หลง เราพยายามใช้กิเลสให้เกิดประโยชน์โดยความเป็นธรรม อย่าปล่อยให้ โลภ โกรธ หลง มันพาเราไปทำบาปทำชั่ว ที่เราจะป้องกันอำนาจของกิเลส โลภ โกรธ หลง ไม่ให้พาเราไปทำบาปทำชั่ว เราต้องยึดศีล ๕ เป็นหลัก
เรายังมีกิเลส โลภ โกรธ หลง มากน้อยเพียงใด พยายามดูจิตของเราให้มันรู้ว่ามีกิเลสตัวไหน ในเมื่อเรารู้แล้ว เราจะใช้กิเลสให้เกิดประโยชน์อย่างไร จึงมีความยุติธรรม หรือเป็นไปเพื่อความสันติสุขในสังคมมนุษย์
ถ้าหลง หลงในคุณงามความดี
ถ้าโกรธ โกรธความชั่ว ความไม่ดี ความบาป
ถ้าโลภ โลภในการสร้างคุณธรรมให้มีให้เกิดขึ้นในจิตในใจ
ให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา สร้างพลังสมาธิปัญญาให้แก่กล้า
โลภอย่างไร ไม่เป็นบาป
ท่านจะโลภเพียงใดแค่ไหน เชิญท่านโลภไปเถิด ท่านจะทะเยอทะยานไปถึงไหน เชิญท่านทะเยอทะยานไปเถิด แต่การประพฤติ หรือการกระทำของท่าน หรือการแสวงหาผลประโยชน์ที่ท่านต้องการ อย่าให้ผิดศีลข้ออทินนาทาน คืออย่าลักขโมย จี้ ปล้น ฉ้อโกง อย่าให้มันผิดศีลข้อนี้ ข้อมุสาวาท อย่ายักยอกหลอกลวง
ศีล คือ เจตนาสำรวมระวัง
การสำรวม นั่นแหละ คือศีล ศีล คือ เจตนาที่จะสำรวมระวัง แล้วศีลของเราจะบริสุทธิ์สะอาด เพราะความมีสติสังวรระวังอยู่
สมาธิภาวนาแก้ปัญหาใจ
ที่เราแก้ไขปัญหาจิตใจของเราไม่ได้อยู่นี้ เพราะเราไม่รู้จักตัวของเราเอง ...ในเมื่อเป็นเช่นนั้น เราจึงควรจะศึกษาให้รู้จักตนของตน วิธีที่จะศึกษาปฏิบัติให้รู้ตนของตน ก็ไม่หนีไปจากหลักของการทำสมาธิ ในเมื่อฝึกสมาธิ จิตสงบเป็นสมาธิ ได้สติสัมปชัญญะ ได้ความรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี แต่ถ้าสมาธิมันมีพลังงานแล้ว มันทำให้เกิดปัญญา สามารถแก้ไขปัญหาจิตใจของตนเองได้ดี
ใช้แก้ปัญหาชีวิตและสังคม การทำสมาธิเช่นอย่างเราจะไปเข้าห้องกรรมฐาน ไม่เอาไหนเลย ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดเลย อันนั้นมันก็ไม่ดี เพราะเราทิ้งการทิ้งงานส่วนอื่น
การทำสมาธินี่เรามุ่งหวังให้เรามีพลังจิต มีสติสัมปชัญญะ ต่อสู้กับการงานที่เรารับผิดชอบอยู่ สามารถที่จะแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ สามารถที่จะแก้ไขปัญหาสังคมได้ ไม่ใช่ทำสมาธิแล้วไปหลับหูหลับตาไม่เอาไหน แบบนั้นไม่ถูกต้องแน่ ทำสมาธิเป็นแล้วต้องสนใจการงาน สนใจในหมู่คณะ สนใจในการรับผิดชอบ สนใจในทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้เป็นสภาวธรรม
สวดมนต์ภาวนา
บทสวดมนต์ที่เราเปล่งวาจา เช่น สวดอิติปิโส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ เป็นต้น เมื่อเรามีสติสัมปชัญญะกำหนดตามรู้บทสวดที่กำลังสวดอยู่ ทำจิตให้มันรู้ชัดเจนว่า เราสวดไปอักษรไหน ทำจิตให้รู้ มีสติรู้ชัด ๆ ได้ชื่อว่าเป็นการฝึกสมาธิเช่นเดียวกัน
แม้เราสวดมนต์อยู่ก็คือสมาธิ แม้เรานั่งสมาธิบริกรรมภาวนา ก็คือการฝึกสมาธิ ต้องมีความเข้าใจให้มันสัมพันธ์กัน แม้ว่าเราทำธุรกิจอย่างอื่น ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ก็คือการฝึกสมาธิ
คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติธรรม
การปฏิบัติธรรมต้อง...ใจเย็น ๆ
เชื่อสมรรถภาพของตนเอง
มีความเพียรพยายามให้มาก ๆ
นักปฏิบัติสมาธิต้องสู้ สู้ต่อการงานทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะการทำสมาธิ ทำให้จิตมีสมาธิ มีความตั้งมั่น มีความมั่นใจ มั่นใจต่อหน้าที่การงานที่เรารับผิดชอบอยู่ อันนี้คือผลของการทำสมาธิ
อย่าติดวิธีการ
เป็นนักปฏิบัติสมาธิ อย่าไปติดวิธีการ ถ้าเราไปติดวิธีการแล้ว เราจะเอาวิธีการนั้นมาฟัดกัน เสร็จแล้วก็จะเกิดทะเลาะกัน การทำสมาธิเป็นกิริยาของจิต นั่งทำสมาธิได้ เดินทำสมาธิได้ นอนทำสมาธิได้ หรือใครจะแน่จริงวิ่งทำสมาธิก็ได้ ถ้าหากการปฏิบัติ เราไม่ยึดวิธีการเป็นใหญ่ เราเอาประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในจิตเป็นเครื่องตัดสิน เราจะหมดปัญหาข้อสงสัย
ยึดถูกเห็นทิศ ยึดผิดหลงทาง
แม้ว่าผู้ภาวนาอาจสร้างนิมิตเป็นดวงอะไรก็ตาม หรืออาจเห็นภาพนิมิตต่างๆ ก็ตาม หรือสามารถทำจิตให้บันดาลให้เกิดภูมิความรู้อะไรได้มากมายก่ายกองสักเพียงใดก็ตาม แต่สิ่งเหล่านั้นก็เป็นเพียงสภาวธรรม เครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติเท่านั้น
ถ้าใครไปยึดเอาความรู้ความเห็น ความเป็นเช่นนั้น เป็นสาระแก่นสารในการปฏิบัติ ไม่ยึดเอาตัว “สติ” ที่มีความมั่นคง ซึ่งสามารถรู้เท่าทันเหตุการณ์ภายในจิต ทั้งภายนอกภายในได้ ก็ยังชื่อว่าจับหลักการปฏิบัติไม่ได้แน่นอน
หมดเมื่อไร ได้เมื่อนั้น
สมาธิ เกิดขึ้นได้เมื่อเราหมดความตั้งใจ
วิปัสสนาจะเกิดได้เมื่อเราหมดความคิด
สมาธิปัญญา
การรู้กายรู้จิต รู้ด้วยความตั้งใจกำหนดรู้ เรียกว่ารู้โดยสติปัญญาธรรมดา แต่ถ้าจิตมีพลังงานเกิดจากสมาธิ มีสติสัมปชัญญะ สามารถกำหนดรู้กายและจิตเอง เรียกว่ารู้เห็นโดยสมาธิปัญญา ความคิดอันใดที่มีสติรู้ทันทุกขณะจิต แล้วจิตก็คิดขึ้นมาเอง โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ มีสติรู้พร้อมทุกขณะจิต ความคิดอันนั้นเป็นสมาธิปัญญา ปัญญา ตามสัญญาหรือความทรงจำ เป็นอุปกรณ์ให้เกิดสติปัญญาในขั้นสมาธิภาวนา เป็นสิ่งที่อาศัยซึ่งกันและกัน
เหนือสมมติบัญญัติ
ของจริงที่ปรากฏขึ้นกับจิตของผู้ภาวนานั้น ต้องอยู่เหนือสมมติบัญญัติเสมอ ถ้าสิ่งใดยังมีสมมติบัญญัติอยู่ สิ่งนั้นยังไม่ใช่ความจริง ยังไม่ใช่สัจจธรรม
สัจจบารมี
การนอนเป็นเวลา การตื่นเป็นเวลา การรับประทานเป็นเวลา... ทำอะไรให้ตรงต่อเวลา ก็ให้มีสัจจะไว้ในใจว่า เราจะทำอะไรให้มันจริงใจสักอย่างหนึ่ง ให้เป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่ของใจ นี่คือแผนการสร้างพลังจิตพลังใจ การทำอะไรเป็นเวลาตรงไปตรงมา เป็นการสร้างสัจจบารมี ถ้าใครมีสัจจะความจริงใจ มีสัจจบารมี ใกล้ต่อการตรัสรู้ ถ้าขาดสัจจะความจริงใจแล้วยังห่างพระพุทธเจ้า ผิดรู้ว่าตัวผิด ถูกรู้ว่าตัวถูก ไม่โกหกใคร ผิดรับไปตามผิด ถูกรับไปตามถูก นั่นเป็นการสร้างสัจจบารมี เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายก็ควรจะได้ฝึกตัวเองให้มีสัจจบารมีบ้าง
สร้างบารมีธรรม
หน้าที่ของผู้ศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม ก็คือพยายามละความชั่ว เริ่มต้นตั้งแต่ตั้งใจละโดยเจตนา ฝึกฝนจนกระทั่งเป็นนิสัยที่เคยชินต่อการละ นิสัยที่เคยชินเพิ่มพลังงานขึ้น กลายเป็นอุปนิสัยวาสนาบารมี สิ่งที่เป็นอุปนิสัย คือสิ่งที่เป็นเองโดยอัตโนมัติ ที่เราฝึกหัดเสียจนคล่องตัว จนเป็นอุปนิสัยฝังแน่นอยู่ในสันดาน สิ่งที่เป็นอุปนิสัยที่สะสมอบรมบ่มเอาให้มากๆ เมื่อเพิ่มพูนขึ้น หนักแน่นลงไปเป็นวาสนาบารมี ในเมื่อถึงขั้นแห่งอุปนิสัยวาสนาบารมี คุณงามความดีที่เราทำมาแล้ว ไม่ต้องนึกก็ได้ นึกถึงก็ได้ มันมีอยู่ในจิตของเราตลอดเวลา
ที่มา : www.thaniyo.com
เครดิตภาพ : Google
ธรรมะในคัมภีร์อยู่ไกล... ธรรมะในใจอยู่ใกล้แค่เอื้อม
ถ้าเราไปอ่านเรื่องธรรมะในคัมภีร์ ก็ดูเหมือนกับว่าธรรมะนี้อยู่ไกลสุดเอื้อม แต่เมื่อเราจะมาศึกษาและเรียนให้รู้ธรรมะในตัวของเรานี่ เราจะรู้สึกว่าธรรมะที่จะต้องเรียนรู้และจำเป็นต้องรู้ก็ไม่ใช่อื่นไกล ก็คือเรื่องของกายกับใจของเรานั่นเอง
กายกับใจเป็นที่เกิดของความสุขและความทุกข์ ความดีและความชั่วเกิดที่กายกับใจ บุญและบาปเกิดที่กายกับใจ มรรค ผล นิพพาน ความดีเกิดที่กายกับใจ เพราะฉะนั้น การเรียนรู้ธรรมะ เราควรจะได้เรียนรู้เรื่องกายกับใจของเรา มากกว่าที่จะไปเรียนในคัมภีร์ให้มันมีความรู้มากๆ เป็นการส่งเสริมทิฎฐิมานะให้มันเกิดมากขึ้นๆ แล้วก็เที่ยวแบกเอาคัมภีร์ไปขัดคอกัน
ผู้ปฏิบัติธรรมที่จะสำเร็จมรรค ผล นิพพานกันจริงๆ ต้องเรียนรู้เรื่องของโลก ในหลักธรรมะท่านสอนให้เรียนรู้ เรื่องกาย เรื่องจิต
รู้อะไรก็ไม่สู้รู้ใจตนเอง
ถ้าเราพิจารณาธรรมะ เราพิจารณาที่ใจเรา น้อมเข้ามาที่ใจ มารู้อยู่ที่ใจ นึกแต่เพียงว่าสิ่งภายนอกเป็นแต่เพียงอารมณ์ สิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติเท่านั้น
รู้นอกเป็นสมุทัย รู้ในเป็นมรรค
ถ้าไปรู้นอก เป็นเหตุให้สร้างบาปสร้างกรรม
ถ้ารู้เข้ามาในเป็นเหตุให้ละวาง
ความรู้ที่จำเป็นที่สำคัญที่สุด ก็คือรู้จิตรู้ใจของเราเอง ว่าปัจจุบันนี้สภาพจิตใจของเราเป็นอย่างไร เศร้าหมองหรือผ่องใส มีกิเลสตัวไหนอยู่ในใจเราบ้าง เมื่อเรารู้ความจริงของตัวเราแล้ว เราจะแก้ไขดัดแปลงอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับความตั้งใจของเรา
อ่านจริตของเราให้รู้ว่า เราเป็นราคจริต โทสจริต โมหจริต วิตกจริต พุทธิจริต ศรัทธาจริต อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจะดูให้รู้แจ้ง เพื่อจะเป็นพื้นฐานที่เราจะแก้ไขดัดแปลงจิตของเรา เมื่อเรารู้ชัดลงไปแล้ว เรามีกิเลสตัวไหน เป็นจริตประเภทไหน เราจะได้แก้ไขดัดแปลง ตัดทอนสิ่งที่เกินแล้วเพิ่มสิ่งที่หย่อนให้อยู่ในระดับพอดีพองาม เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา
วางใจเป็นกลาง ละวางความทุกข์
ความทุกข์ที่บังเกิดขึ้นที่จิต เพราะอาศัยความยินดียินร้าย เป็นตัวสมุทัยหนุนให้เกิดทุกข์ ทุกข์ตัวนี้ คือทุกข์อริยสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เมื่อเรามีสติกำหนดอารมณ์จิตของเราอยู่ตลอดเวลา สุขทุกข์เกิดสลับกันไป เมื่อสติสัมปชัญญะตัวนี้เด่นขึ้น มีพลังแก่กล้าขึ้นเมื่อใด เราสามารถที่จะกำหนดรู้ รู้ธรรมะตามความเป็นจริง... เมื่อจิตของท่านสามารถที่จะดำรงอยู่ในความเป็นปกติ ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์นั้น ๆ ความเป็นปกติจิตปรากฏเด่นชัดอยู่ตลอดเวลา ตัวปกติของจิตนั่นแหละคือตัวนิโรธ เพราะฉะนั้น การกำหนดรู้อารมณ์จิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ศีล ๕ บริสุทธิ์ สุดประเสริฐ
แม้ทำสมาธิไม่เป็น ภาวนาไม่เป็น แต่ศีล ๕ บริสุทธิ์ เป็นสิ่งประเสริฐสุดในการปฏิบัติธรรม ศีลมากก็ไร้ค่า ถ้าศีล ๕ ไม่มี ท่านที่ทะนงตัวว่ามีศีลมาก ๆ เป็นกอบเป็นกำ แต่ถ้าหากมองข้ามศีล ๕ ยังละเมิดศีล ๕ ข้อใดข้อหนึ่งอยู่ ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด เพราะเหตุว่าที่มีกายใจที่จะรองรับคุณธรรมเบื้องสูงขึ้นไปต้องมีศีล ๕ บริสุทธิ์บริบูรณ์ดี
ศีล ๕ ละกิเลสทางกาย กิเลสไม่ใช่เรื่องที่เราจะละได้ กิเลสที่ละได้คือละการไม่ทำ ละการไม่พูด แต่ความรู้สึกทางใจนี่ตั้งใจละเองไม่ได้ การละกิเลสทางกาย ก็คือ ศีล ๕ ข้อ
พลิกกิเลสให้เป็นธรรม
กิเลสที่มีอยู่ในจิตในใจของเรานั้น อย่าไปพยายามละ แต่ต้องมีสติปัญญา ถ้ากำหนดพิจารณาให้รู้ว่า เรามีกิเลสตัวใด ในเมื่อเรารู้ว่า เรามีกิเลส โลภ โกรธ หลง เราพยายามใช้กิเลสให้เกิดประโยชน์โดยความเป็นธรรม อย่าปล่อยให้ โลภ โกรธ หลง มันพาเราไปทำบาปทำชั่ว ที่เราจะป้องกันอำนาจของกิเลส โลภ โกรธ หลง ไม่ให้พาเราไปทำบาปทำชั่ว เราต้องยึดศีล ๕ เป็นหลัก
เรายังมีกิเลส โลภ โกรธ หลง มากน้อยเพียงใด พยายามดูจิตของเราให้มันรู้ว่ามีกิเลสตัวไหน ในเมื่อเรารู้แล้ว เราจะใช้กิเลสให้เกิดประโยชน์อย่างไร จึงมีความยุติธรรม หรือเป็นไปเพื่อความสันติสุขในสังคมมนุษย์
ถ้าหลง หลงในคุณงามความดี
ถ้าโกรธ โกรธความชั่ว ความไม่ดี ความบาป
ถ้าโลภ โลภในการสร้างคุณธรรมให้มีให้เกิดขึ้นในจิตในใจ
ให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา สร้างพลังสมาธิปัญญาให้แก่กล้า
โลภอย่างไร ไม่เป็นบาป
ท่านจะโลภเพียงใดแค่ไหน เชิญท่านโลภไปเถิด ท่านจะทะเยอทะยานไปถึงไหน เชิญท่านทะเยอทะยานไปเถิด แต่การประพฤติ หรือการกระทำของท่าน หรือการแสวงหาผลประโยชน์ที่ท่านต้องการ อย่าให้ผิดศีลข้ออทินนาทาน คืออย่าลักขโมย จี้ ปล้น ฉ้อโกง อย่าให้มันผิดศีลข้อนี้ ข้อมุสาวาท อย่ายักยอกหลอกลวง
ศีล คือ เจตนาสำรวมระวัง
การสำรวม นั่นแหละ คือศีล ศีล คือ เจตนาที่จะสำรวมระวัง แล้วศีลของเราจะบริสุทธิ์สะอาด เพราะความมีสติสังวรระวังอยู่
สมาธิภาวนาแก้ปัญหาใจ
ที่เราแก้ไขปัญหาจิตใจของเราไม่ได้อยู่นี้ เพราะเราไม่รู้จักตัวของเราเอง ...ในเมื่อเป็นเช่นนั้น เราจึงควรจะศึกษาให้รู้จักตนของตน วิธีที่จะศึกษาปฏิบัติให้รู้ตนของตน ก็ไม่หนีไปจากหลักของการทำสมาธิ ในเมื่อฝึกสมาธิ จิตสงบเป็นสมาธิ ได้สติสัมปชัญญะ ได้ความรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี แต่ถ้าสมาธิมันมีพลังงานแล้ว มันทำให้เกิดปัญญา สามารถแก้ไขปัญหาจิตใจของตนเองได้ดี
ใช้แก้ปัญหาชีวิตและสังคม การทำสมาธิเช่นอย่างเราจะไปเข้าห้องกรรมฐาน ไม่เอาไหนเลย ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดเลย อันนั้นมันก็ไม่ดี เพราะเราทิ้งการทิ้งงานส่วนอื่น
การทำสมาธินี่เรามุ่งหวังให้เรามีพลังจิต มีสติสัมปชัญญะ ต่อสู้กับการงานที่เรารับผิดชอบอยู่ สามารถที่จะแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ สามารถที่จะแก้ไขปัญหาสังคมได้ ไม่ใช่ทำสมาธิแล้วไปหลับหูหลับตาไม่เอาไหน แบบนั้นไม่ถูกต้องแน่ ทำสมาธิเป็นแล้วต้องสนใจการงาน สนใจในหมู่คณะ สนใจในการรับผิดชอบ สนใจในทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้เป็นสภาวธรรม
สวดมนต์ภาวนา
บทสวดมนต์ที่เราเปล่งวาจา เช่น สวดอิติปิโส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ เป็นต้น เมื่อเรามีสติสัมปชัญญะกำหนดตามรู้บทสวดที่กำลังสวดอยู่ ทำจิตให้มันรู้ชัดเจนว่า เราสวดไปอักษรไหน ทำจิตให้รู้ มีสติรู้ชัด ๆ ได้ชื่อว่าเป็นการฝึกสมาธิเช่นเดียวกัน
แม้เราสวดมนต์อยู่ก็คือสมาธิ แม้เรานั่งสมาธิบริกรรมภาวนา ก็คือการฝึกสมาธิ ต้องมีความเข้าใจให้มันสัมพันธ์กัน แม้ว่าเราทำธุรกิจอย่างอื่น ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ก็คือการฝึกสมาธิ
คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติธรรม
การปฏิบัติธรรมต้อง...ใจเย็น ๆ
เชื่อสมรรถภาพของตนเอง
มีความเพียรพยายามให้มาก ๆ
นักปฏิบัติสมาธิต้องสู้ สู้ต่อการงานทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะการทำสมาธิ ทำให้จิตมีสมาธิ มีความตั้งมั่น มีความมั่นใจ มั่นใจต่อหน้าที่การงานที่เรารับผิดชอบอยู่ อันนี้คือผลของการทำสมาธิ
อย่าติดวิธีการ
เป็นนักปฏิบัติสมาธิ อย่าไปติดวิธีการ ถ้าเราไปติดวิธีการแล้ว เราจะเอาวิธีการนั้นมาฟัดกัน เสร็จแล้วก็จะเกิดทะเลาะกัน การทำสมาธิเป็นกิริยาของจิต นั่งทำสมาธิได้ เดินทำสมาธิได้ นอนทำสมาธิได้ หรือใครจะแน่จริงวิ่งทำสมาธิก็ได้ ถ้าหากการปฏิบัติ เราไม่ยึดวิธีการเป็นใหญ่ เราเอาประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในจิตเป็นเครื่องตัดสิน เราจะหมดปัญหาข้อสงสัย
ยึดถูกเห็นทิศ ยึดผิดหลงทาง
แม้ว่าผู้ภาวนาอาจสร้างนิมิตเป็นดวงอะไรก็ตาม หรืออาจเห็นภาพนิมิตต่างๆ ก็ตาม หรือสามารถทำจิตให้บันดาลให้เกิดภูมิความรู้อะไรได้มากมายก่ายกองสักเพียงใดก็ตาม แต่สิ่งเหล่านั้นก็เป็นเพียงสภาวธรรม เครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติเท่านั้น
ถ้าใครไปยึดเอาความรู้ความเห็น ความเป็นเช่นนั้น เป็นสาระแก่นสารในการปฏิบัติ ไม่ยึดเอาตัว “สติ” ที่มีความมั่นคง ซึ่งสามารถรู้เท่าทันเหตุการณ์ภายในจิต ทั้งภายนอกภายในได้ ก็ยังชื่อว่าจับหลักการปฏิบัติไม่ได้แน่นอน
หมดเมื่อไร ได้เมื่อนั้น
สมาธิ เกิดขึ้นได้เมื่อเราหมดความตั้งใจ
วิปัสสนาจะเกิดได้เมื่อเราหมดความคิด
สมาธิปัญญา
การรู้กายรู้จิต รู้ด้วยความตั้งใจกำหนดรู้ เรียกว่ารู้โดยสติปัญญาธรรมดา แต่ถ้าจิตมีพลังงานเกิดจากสมาธิ มีสติสัมปชัญญะ สามารถกำหนดรู้กายและจิตเอง เรียกว่ารู้เห็นโดยสมาธิปัญญา ความคิดอันใดที่มีสติรู้ทันทุกขณะจิต แล้วจิตก็คิดขึ้นมาเอง โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ มีสติรู้พร้อมทุกขณะจิต ความคิดอันนั้นเป็นสมาธิปัญญา ปัญญา ตามสัญญาหรือความทรงจำ เป็นอุปกรณ์ให้เกิดสติปัญญาในขั้นสมาธิภาวนา เป็นสิ่งที่อาศัยซึ่งกันและกัน
เหนือสมมติบัญญัติ
ของจริงที่ปรากฏขึ้นกับจิตของผู้ภาวนานั้น ต้องอยู่เหนือสมมติบัญญัติเสมอ ถ้าสิ่งใดยังมีสมมติบัญญัติอยู่ สิ่งนั้นยังไม่ใช่ความจริง ยังไม่ใช่สัจจธรรม
สัจจบารมี
การนอนเป็นเวลา การตื่นเป็นเวลา การรับประทานเป็นเวลา... ทำอะไรให้ตรงต่อเวลา ก็ให้มีสัจจะไว้ในใจว่า เราจะทำอะไรให้มันจริงใจสักอย่างหนึ่ง ให้เป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่ของใจ นี่คือแผนการสร้างพลังจิตพลังใจ การทำอะไรเป็นเวลาตรงไปตรงมา เป็นการสร้างสัจจบารมี ถ้าใครมีสัจจะความจริงใจ มีสัจจบารมี ใกล้ต่อการตรัสรู้ ถ้าขาดสัจจะความจริงใจแล้วยังห่างพระพุทธเจ้า ผิดรู้ว่าตัวผิด ถูกรู้ว่าตัวถูก ไม่โกหกใคร ผิดรับไปตามผิด ถูกรับไปตามถูก นั่นเป็นการสร้างสัจจบารมี เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายก็ควรจะได้ฝึกตัวเองให้มีสัจจบารมีบ้าง
สร้างบารมีธรรม
หน้าที่ของผู้ศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม ก็คือพยายามละความชั่ว เริ่มต้นตั้งแต่ตั้งใจละโดยเจตนา ฝึกฝนจนกระทั่งเป็นนิสัยที่เคยชินต่อการละ นิสัยที่เคยชินเพิ่มพลังงานขึ้น กลายเป็นอุปนิสัยวาสนาบารมี สิ่งที่เป็นอุปนิสัย คือสิ่งที่เป็นเองโดยอัตโนมัติ ที่เราฝึกหัดเสียจนคล่องตัว จนเป็นอุปนิสัยฝังแน่นอยู่ในสันดาน สิ่งที่เป็นอุปนิสัยที่สะสมอบรมบ่มเอาให้มากๆ เมื่อเพิ่มพูนขึ้น หนักแน่นลงไปเป็นวาสนาบารมี ในเมื่อถึงขั้นแห่งอุปนิสัยวาสนาบารมี คุณงามความดีที่เราทำมาแล้ว ไม่ต้องนึกก็ได้ นึกถึงก็ได้ มันมีอยู่ในจิตของเราตลอดเวลา
ที่มา : www.thaniyo.com
เครดิตภาพ : Google
วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555
ღ ฝึกจิตให้มีความสุข ღ
ฝึกจิตให้มีความสุข
โดย...สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
การบริหารจิต คือการฝึกอบรมจิตให้มีความสงบ เยือกเย็นเป็นสุข ขณะเดียวกันรู้ว่าอะไรผิดอะไรถูกควรแก้ไข อะไรควรส่งเสริมอย่างไร และเมื่อรู้แล้วก็ควรปฏิบัติเพื่อแก้ไข หรือส่งเสริมให้เหมาะให้ควร
คือปฏิบัติเพื่อแก้ไขสิ่งที่ควรได้รับการแก้ไข และส่งเสริมสิ่งที่ควรได้รับการส่งเสริมการบริหารทางจิตมิใช่เพียงเพื่อฝึกอบรมจิตใจให้สงบเยือกเย็นเป็นสุขอย่างไม่รับรู้เลยว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรควรแก้ไข อะไรควรส่งเสริม
อันจิตที่ได้รับการฝึกอบรมในทางที่ถูกนั่น ต้องเป็นจิตที่มีความสงบเป็นพื้นฐานนี้แหละ ที่จะทำให้มีความรู้ในสิ่งที่ควรรู้ เห็นในสิ่งที่ควรเห็น เช่นความผิดถูก ความควรไม่ควร รู้วิธีปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างถูกต้อง
ปรารถนาความสงบ เยือกเย็นเป็นสุข และความมีปัญญารู้เห็นอะไร ๆ โดยชอบ
จึงจำเป็นต้องบริหารจิตและจำเป็นต้องบริหารหลักของพระพุทธศาสนา จึงจะได้ผลสมดังปรารถนานั้น
ข้อว่า จิตที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างถูกต้อง จะเป็นจิตที่มีความสงบเยือกเย็นเป็นสุข และมีปัญญารู้ในสิ่งที่ควรรู้ เห็นในสิ่งที่ควรเห็น เช่น รู้ความถูกความผิด ความควรความไม่ควรและรู้วิธีปฏิบัติเพื่อแก้ไขหรือส่งเสริมเรื่องทั้งหลาย โดยไม่จำเป็นต้องใช้อำนาจอารมณ์กิเลส
เช่น ไม่จำเป็นต้องโลภจึงจะขยันหมั่นเพียรประกอบอาชีพ เพื่อให้ได้ทรัพย์สินเงินทอง ไม่จำเป็นต้องโกรธจึงจะว่ากล่าวตักเตือน หรือลงโทษผู้ที่กระทำความผิด ไม่จำเป็นต้องหลงจึงจะสามารถทำเหมือนไม่รู้ไม่เห็น สิ่งที่ไม่ควรรู้ไม่ควรเห็นเสียได้
ที่มา : http://variety.teenee.com/foodforbrain/2312.html
เครดิตภาพ : Google
โดย...สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
การบริหารจิต คือการฝึกอบรมจิตให้มีความสงบ เยือกเย็นเป็นสุข ขณะเดียวกันรู้ว่าอะไรผิดอะไรถูกควรแก้ไข อะไรควรส่งเสริมอย่างไร และเมื่อรู้แล้วก็ควรปฏิบัติเพื่อแก้ไข หรือส่งเสริมให้เหมาะให้ควร
คือปฏิบัติเพื่อแก้ไขสิ่งที่ควรได้รับการแก้ไข และส่งเสริมสิ่งที่ควรได้รับการส่งเสริมการบริหารทางจิตมิใช่เพียงเพื่อฝึกอบรมจิตใจให้สงบเยือกเย็นเป็นสุขอย่างไม่รับรู้เลยว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรควรแก้ไข อะไรควรส่งเสริม
อันจิตที่ได้รับการฝึกอบรมในทางที่ถูกนั่น ต้องเป็นจิตที่มีความสงบเป็นพื้นฐานนี้แหละ ที่จะทำให้มีความรู้ในสิ่งที่ควรรู้ เห็นในสิ่งที่ควรเห็น เช่นความผิดถูก ความควรไม่ควร รู้วิธีปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างถูกต้อง
ปรารถนาความสงบ เยือกเย็นเป็นสุข และความมีปัญญารู้เห็นอะไร ๆ โดยชอบ
จึงจำเป็นต้องบริหารจิตและจำเป็นต้องบริหารหลักของพระพุทธศาสนา จึงจะได้ผลสมดังปรารถนานั้น
ข้อว่า จิตที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างถูกต้อง จะเป็นจิตที่มีความสงบเยือกเย็นเป็นสุข และมีปัญญารู้ในสิ่งที่ควรรู้ เห็นในสิ่งที่ควรเห็น เช่น รู้ความถูกความผิด ความควรความไม่ควรและรู้วิธีปฏิบัติเพื่อแก้ไขหรือส่งเสริมเรื่องทั้งหลาย โดยไม่จำเป็นต้องใช้อำนาจอารมณ์กิเลส
เช่น ไม่จำเป็นต้องโลภจึงจะขยันหมั่นเพียรประกอบอาชีพ เพื่อให้ได้ทรัพย์สินเงินทอง ไม่จำเป็นต้องโกรธจึงจะว่ากล่าวตักเตือน หรือลงโทษผู้ที่กระทำความผิด ไม่จำเป็นต้องหลงจึงจะสามารถทำเหมือนไม่รู้ไม่เห็น สิ่งที่ไม่ควรรู้ไม่ควรเห็นเสียได้
ที่มา : http://variety.teenee.com/foodforbrain/2312.html
เครดิตภาพ : Google
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)