วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

♠ ความยึดมั่นถือมั่น ♠

"ความยึดมั่นถือมั่น" โดย....หลวงพ่อชา สุภัทโท

การกระทำทุกวัน การประพฤติทุกวัน การพิจารณาทุกเวลา จึงเป็นปัญญาที่จะแก้ปัญหาให้รู้จักตัวว่าเราหรือไม่ใช่ของเราออก ถ้ายังมีตัวเราอยู่อย่างอุปาทาน ก็มีของเราตลอดไป เมื่อมีของเรา ก็มีของหาย มีของได้ เมื่อมีได้เมื่อมีเสีย ก็มีสุขก็มีทุกข์ เมื่อมีสุขเมื่อมีทุกข์ก็มีเหตุมีปัจจัยหมุนเวียนเปลี่ยนไป ไม่มีที่สิ้นสุดที่จบลงได้ ฉะนั้นพระพุทธเจ้าของเราท่านจึงเน้น เน้นข้อประพฤติ เน้นข้อปฏิบัติให้เห็นตามเป็นจริง เมื่อเห็นตามเป็นจริงแล้วก็สบาย แต่เราไม่ค่อยเห็นตามเป็นจริงได้ง่าย สมัยก่อนศีล สมาธิ ปัญญาไม่ค่อยมี มีแต่ว่าบรรลุธรรมะไปฟังธรรมก็ภาวนาไปด้วย เมื่อรู้จักธรรมความละอายก็เกิดขึ้นมาไม่กล้าทำในสิ่งที่ผิดทางกาย วาจา ใจ เพราะได้ฟังธรรมะ รู้เรื่องตามความเป็นจริงแล้วจึงมีความละอาย ความละอายท่านเรียกว่า"ศีล" จิตที่มั่นอยู่กับความละอายว่าจะเป็นบาปอยู่นั้น ความมั่นในอารมณ์ที่ว่ามันเป็นบาปอันเดียวนั้นเรียกว่า "สมาธิ" ก็ได้ เมื่อสมาธิความมั่นอยู่ในอารมณ์ ไม่กระทำบาป ทำใจให้สุขุม "ปัญญา" ความรู้เท่าทั้งหลายก็เกิดขึ้นมา บรรลุถึง "สนติธรรม"เห็นตัวเราของเราตามความเป็นจริงว่ามิใช่เราขึ้นมา เป็นตัวปัญญาเกิดขึ้นมาพ้นจากวัฏฏะสงสารอันนี้ได้ ฉะนั้นในครั้งพุทธกาลท่านว่า เมื่อมีการฟังธรรมก็บรรลุธรรมเท่านั้นเอง เมื่อมีศีล สมาธิแล้ว ปัญญาก็เกิดขึ้นมา

ที่มา : http://www.isangate.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น