วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

♠ ธรรมะในการทำงาน ♠



ผู้ที่จะปฏิบัติเพื่อระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงย่อมเป็นผู้ที่ตรง นั่นหมายความว่า ในการทำงาน ถึงแม้เราจะเจอคนรอบข้างที่ชอบแสดงสภาวธรรมที่ไม่ตรง ไม่ซื่อสัตย์ พูดต่อหน้าอย่างหนึ่งพูดลับหลังอย่างหนึ่ง แต่เราก็จะต้องเป็นผู้ที่ตรง ไม่ว่าจะเกิดผลพูด เสียต่อเรา ถูกต้องหรือไม่……
ความเป็นผู้ตรง หมายถึง ตรงตามหลักพระธรรมคำสอน เป็นผู้ที่มีสัจจะ จริงใจที่จะศึกษาเพื่อการละกิเลส สำหรับการดำรงชีวิตประจำวัน กับครอบครัว ผู้ร่วมงานและสังคม ก็เช่นเดียวกัน คือ เป็นผู้มีปกติเจริญกุศลทุกประการ สิ่งใดที่ดีมีประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือส่วนรวม ควรกระทำ แต่สิ่งใดที่ไม่ดี ไม่เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น ไม่ควรกระทำ ทางวาจา คำพูดก็เช่นเดียวกัน เป็นผู้รู้จักกาลเทศะ สิ่งใดที่ไม่มีประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น ไม่ควรพูด ที่สำคัญ คือ เราไม่สามารถแก้ไขคนอื่นให้ดีได้ทั้งหมด ธรรมะในการทำงาน ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าเราไม่มีธรรมะในการทำงานเราจะทุกข์มาก เพราะการมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน เราสามารถเห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริงทุกขณะ เห็นความโกรธ ความเสียใจ ความไม่พอใจต่างๆ มากมาย ถ้าเราเข้าใจธรรมะ เราสามารถอยู่กับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้โดยไม่ทุกข์ หรือทุกข์น้อยลง ต้องอาศัยความ เข้าใจและมองโลกตามความเป็นจริง ที่เป็นอยู่ในขณะนั้น
การดำเนินชีวิตประจำวัน ย่อมพบปะผู้คน ดังนั้น การอยู่ร่วมกับบุคลต่างๆ ที่ดี ก็ต้องอาศัยความเข้าใจพระธรรม ว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร พระพุทธจ้าสอนให้ทำดี ละชั่วแต่ต้องไม่ลืมว่าต้องเป็นหน้าที่ของปัญญา ไม่ใช่เรา เมื่อยังมีกิเลสอยู่ก็มีเหตุให้เกิดกิเลสระดับต่างๆ ไม่ว่าจะที่ทำงาน และที่ไหนเพราะปัญญาเรายังน้อย ก็ต้องเป็นผู้ตรงว่า ปัญญายังน้อยจริงๆ และปัญญาขั้นการฟัง ทำอะไรอนุสัยกิเลสที่เป็นพืชเชื้อของกิเลสต่างๆ ไม่ได้เลย จึงเป็นที่มาให้เรายังโกรธ ยังโลภ อยู่ จึงต้องเป็นผู้ตรงว่า การจะดับกิเลสเริ่มจากการรู้ว่า เป็นธัมมะไม่ใช่เรา ดับความเห็นผิดก่อน ดังนั้น จึงไม่มีคำว่า จะเอาธัมมะไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เลยหรือที่ทำงาน เพราะไม่มีใครเอาธัมมะไป
ใช้ได้ แต่เป็นหน้าที่ของธัมมะ เมื่อฟังพระธรรมมากขึ้นและเข้าใจมากขึ้น สภาพธัมมะที่เป็นฝ่ายดี ย่อมเกิดบ่อยขึ้นตามระดับปัญญา ไม่ว่าจะอยู่ที่ทำงานหรือที่ไหนก็ตามอย่าลืมว่าบังคับบัญชาธัมมะไม่ได้ แต่ทุกอย่างต้องมีเหตุ แม้สภาพธัมมะที่เป็น ฝ่ายดี(ขันติ เมตตา) ที่จะเกิด ก็มีเหตุ จากการฟังพระธรรมนั่นเอง เราใช้คำว่าเป็น
ผู้ตรงบ่อยๆ มาดูความหมายของคำว่า ตรง ซึ่งก็มีหลายระดับ จนถึงขั้นที่เป็นผู้ตรงด้วยการอบรมสมถภาวนา (อารัมมณูปนิชฌาน) และอบรมสติปัฏฐาน(ลักขณูปนิชฌาน) แม้อบรมสติปัฏฐานก็ชื่อว่าเป็นผู้ตรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 340 ข้อความบางตอนจากอรรรถกถา เมตตสูตร หรือว่าชื่อว่า ตรง (อุชุ) เพราะทำด้วยความไม่อวดดี ชื่อว่า ตรงดี (สุหุชู)เพราะ ไม่มีมายา. หรือว่า ชื่อว่า ตรง เพราะละความคดทางกายและวาจา ชื่อว่าตรงดี เพราะละความคดทางใจ. หรือชื่อว่า ตรง เพราะไม่อวดคุณที่ไม่มีจริง ชื่อว่าตรงดี เพราะไม่อดกลั้นต่อลาภที่เกิดเพราะคุณที่ไม่มีจริง. พึงชื่อว่าเป็นผู้ตรงและตรงดีด้วยอารัมมณูปนิชฌานและลักขณูปนิชฌาน

_/\_ ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ที่มา : บ้านธัมมะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น