เมื่อใจเรามีทุกข์
๑. เมื่อมีทุกข์ เราจะคิดปรุงแต่ง กังวลอดีต และอนาคต เสมือนว่าปัจจุบันกำลังเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นจริง เปรียบเหมือนคนที่สร้างภาพจรเข้กระโดดเข้าหาอยู่ตลอดเวลา หากสติระลึกรู้ว่าจิตหลงคิดฟุ้ง ความคิดนั้นจะดับลง
๒. ส่วนใหญ่ที่เรารู้ว่าคิด เรามักคิดต่ออีกเพราะเราพยายามดิ้นรนหนีความทุกข์ หากเราผ่อนคลายและใช้จิตที่เบาสบาย เฝ้าดูความไม่พอใจในทุกข์ จะพบว่าสภาวะทั้งหลายเป็นเพียงสิ่งที่จิตระลึกรู้ เหมือนเมฆฝนที่บดบังจิตใจ
๓. การเจริญสติคือการเฝ้ารู้สภาวะที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง เฉยบ้าง ไม่รู้ชัดบ้าง ไม่จำเป็นต้องแยกแยะว่าคืออะไร เปรียบเหมือนปรากณการณ์ธรรมชาติคือแสงแดดและสายฝนที่หมุนวนเปลี่ยนแปลง เกิดดับอยู่ตลอดเวลา
๔. ชีวิตเราอาจมีภัยหรือปลอดภัย เราก็หลีกเลี่ยงภัยตามหน้าที่ โดยไม่เก็บเรื่องต่างๆ มาคิดให้วุ่นวาย เปรียบเหมือนเสือและงูที่ผ่านเข้ามาในเส้นทางการเดินเรือ แต่อยู่คนละระดับ ไม่เกี่ยวข้องกับคนพายเรือ
๕. เมื่อสติระลึกรู้สภาวะความไม่เที่ยงซ้ำแล้วซ้ำอีก จิตจะเป็นกลาง เห็นทุกข์สุขเสมอกัน ไม่ดิ้นรนหนีทุกข์ และเกิดปัญญาที่แท้จริงว่าทุกสิ่งล้วนไม่เที่ยง ปัญญานี้จะคลายความหลงยึดมั่นว่ากายนี้ จิตนี้เป็นตัวตนของเรา
๖. การปฏิบัติธรรมเหมือนการออกเรือเดินทาง จะถึงฝั่งหรือไม่นั้น อยู่เหนือการควบคุมของเรา แต่เมื่อเราแจวเรืออย่างไม่ย่อท้อ เราก็อิ่มใจได้เพราะเราอยู่ในเส้นทางของการพ้นทุกข์ เมื่อธรรมะคือเรือที่ช่วยให้เราพ้นทุกข์ เรือนั้นก็สืบทอดสู่คนรุ่นหลังต่อไป
๗. จากผู้ที่จมอยู่กับทุกข์ กลายเป็นผู้รู้ทุกข์แจ่มแจ้ง พระพุทธองค์ก็เกิดมาบนกองทุกข์และกิเลศ เมื่อได้ลงมือเพียรปฏิบัติธรรม ย่อมอยู่ในเส้นทางของมรรคผล
ที่มา : http://swhappinessss.blogspot.com
๑. เมื่อมีทุกข์ เราจะคิดปรุงแต่ง กังวลอดีต และอนาคต เสมือนว่าปัจจุบันกำลังเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นจริง เปรียบเหมือนคนที่สร้างภาพจรเข้กระโดดเข้าหาอยู่ตลอดเวลา หากสติระลึกรู้ว่าจิตหลงคิดฟุ้ง ความคิดนั้นจะดับลง
๒. ส่วนใหญ่ที่เรารู้ว่าคิด เรามักคิดต่ออีกเพราะเราพยายามดิ้นรนหนีความทุกข์ หากเราผ่อนคลายและใช้จิตที่เบาสบาย เฝ้าดูความไม่พอใจในทุกข์ จะพบว่าสภาวะทั้งหลายเป็นเพียงสิ่งที่จิตระลึกรู้ เหมือนเมฆฝนที่บดบังจิตใจ
๓. การเจริญสติคือการเฝ้ารู้สภาวะที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง เฉยบ้าง ไม่รู้ชัดบ้าง ไม่จำเป็นต้องแยกแยะว่าคืออะไร เปรียบเหมือนปรากณการณ์ธรรมชาติคือแสงแดดและสายฝนที่หมุนวนเปลี่ยนแปลง เกิดดับอยู่ตลอดเวลา
๔. ชีวิตเราอาจมีภัยหรือปลอดภัย เราก็หลีกเลี่ยงภัยตามหน้าที่ โดยไม่เก็บเรื่องต่างๆ มาคิดให้วุ่นวาย เปรียบเหมือนเสือและงูที่ผ่านเข้ามาในเส้นทางการเดินเรือ แต่อยู่คนละระดับ ไม่เกี่ยวข้องกับคนพายเรือ
๕. เมื่อสติระลึกรู้สภาวะความไม่เที่ยงซ้ำแล้วซ้ำอีก จิตจะเป็นกลาง เห็นทุกข์สุขเสมอกัน ไม่ดิ้นรนหนีทุกข์ และเกิดปัญญาที่แท้จริงว่าทุกสิ่งล้วนไม่เที่ยง ปัญญานี้จะคลายความหลงยึดมั่นว่ากายนี้ จิตนี้เป็นตัวตนของเรา
๖. การปฏิบัติธรรมเหมือนการออกเรือเดินทาง จะถึงฝั่งหรือไม่นั้น อยู่เหนือการควบคุมของเรา แต่เมื่อเราแจวเรืออย่างไม่ย่อท้อ เราก็อิ่มใจได้เพราะเราอยู่ในเส้นทางของการพ้นทุกข์ เมื่อธรรมะคือเรือที่ช่วยให้เราพ้นทุกข์ เรือนั้นก็สืบทอดสู่คนรุ่นหลังต่อไป
๗. จากผู้ที่จมอยู่กับทุกข์ กลายเป็นผู้รู้ทุกข์แจ่มแจ้ง พระพุทธองค์ก็เกิดมาบนกองทุกข์และกิเลศ เมื่อได้ลงมือเพียรปฏิบัติธรรม ย่อมอยู่ในเส้นทางของมรรคผล
ที่มา : http://swhappinessss.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น