สติและสัมปชัญญะ ธรรมคู่นี้เป็นเครื่องมือเยี่ยมที่สุด ซึ่งธรรมชาติให้เรามา เพื่อรบทัพจับศึกกับกิเลสผู้ทรงพลัง
ได้อย่างสมน้ำสมเนื้อทีเดียว การทำความเข้าใจกับธรรมคู่นี้ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพราะเราใช้สติสัมปชัญญะปฏิบัติ
เจริญวิปัสสนา ตามแบบ มหาสติปัฏฐาน ๔
สติ ทำหน้าที่ระลึกรู้อารมณ์ที่ปรากฏ กับจิตต่อหน้าต่อตา เช่นรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้สึกกังวล รู้สึกกลัว รู้สึกสงสัย
รู้สึกรัก รู้สึกชัง เป็นต้น
สัมปชัญญะ เป็นตัวปัญญา ทำหน้าที่รู้ชัดเห็นชัดใน อารมณ์นั้นๆ ตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน
คือเห็นทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกายและจิตมีแต่ความแปรเปลี่ยน ไปทั้งนั้น พระองค์สอนไม่ให้ยึดมั่นในสิ่งไม่แน่นอน
มีอารมณ์อะไรผ่านมาผ่านไปก็ระลึกรู้อยู่เสมอ ผู้ปฏิบัติแค่สังเกตดูความเกิดดับเท่านั้น อะไรที่เกิดมา ก็ปล่อยวางไป
จิตที่ปล่อยวางอารมณ์คือจิตที่พ้นจากทุกข์
โบราณาจารย์ท่านเปรียบการเจริญสติสัมปชัญญะเหมือนชาว นาเกี่ยวข้าว คือสติทำหน้าที่ รวบรวมข้าวเข้ามาไว้ในกำมือ
(ดูอารมณ์) และสัมปชัญญะทำหน้าที่เอาเคียวตัดรวงข้าวนั้น (วางอารมณ์)
ที่มา : http://www.saradhamlanna.com/index.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น