วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

ღ..หลักรัก..ღ

ความรักที่บริสุทธิ์

เอกลักษณ์ของความรักที่บริสุทธิ์ คือ
๑. ไม่มีเงื่อนไข
๒. ไม่มีขอบเขต เป็นความหวังดีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย
๓. ไม่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
๔. มีปัญญาและอุเบกขาคอยกำกับ


การที่ความรักประเภทนี้มีจริง และการที่มนุษย์เราทุกคนสามารถพัฒนาความรักนี้ได้เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ เมื่อดูข่าวเห็นความโหดเหี้ยม ความไม่เอาไหนของเพื่อนร่วมโลก การระลึกถึงศักยภาพของมนุษย์ข้อนี้ สามารถละลายความกลุ้มใจและความสิ้นหวังได้ มนุษย์แย่อย่างนี้ก็จริง แต่ดีกว่านี้ก็ได้…


แนวทางปฏิบัติต่อความรัก จึงอยู่ที่การน้อมนำไปในทางเมตตาให้มากที่สุดที่เราทำได้ คือ
๑. ให้ความรักของเรามีเงื่อนไขน้อยลง
๒. มีขอบเขตน้อยลง ลำเอียงน้อยลง
๓. เป็นเหตุให้เกิดทุกข์น้อยลง
๔. มีปัญญาและอุเบกขาคอยกำกับมากขึ้น..”


จากหนังสือ “หลักรัก” โดยพระอาจารย์ ชยสาโร ภิกขุ


ที่มา : http://www.tamboon.net/featured-stories/0001-pure-love/
เครดิตภาพ : Google

ღ ..บทเรียนชีวิต..ღ

"บทเรียนชีวิตที่ดีที่สุด

ล้วนได้มาจากความผิดพลาดล้มเหลวของตนเอง

ความโง่เขลาเบาปัญญาและความผิดพลาดในอดีต

จะกลายเป็นสติปัญญา และความสำเร็จในอนาคต"



ที่มา : http://www.dhamboon.com

เครดิตภาพ : Google

ღ..มุมมองที่แตกต่าง..ღ

เหตุที่ทำให้...คนทั้งสอง... มองวัตถุสิ่งเดียวกัน
แต่บอกลักษณะมาไม่เหมือนกัน
ก็เพราะ...ทั้งสองคนมีมุมมองที่...แตกต่างกันไป
แล้วจะให้มี...ความเห็นเหมือนกันได้อย่างไร

ทั้งสองคนนี้ก็บอกถูกต้องตามลักษณะที่เขาเห็น
ไม่มีใครโกหก
เพียงแต่ว่า

มีมุมมองที่ต่างกัน
แล้วเราจะหาคนผิดได้อย่างไร

ชีวิตของเราทุกคนก็เช่นกัน
หากเรารู้จักมองชีวิตในหลากหลายมุมแล้ว
เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า

ไม่มีใครเลยในโลกนี้ที่ไม่เคยผิดพลาด
ไม่ใครเลยในโลกนี้ที่เกิดมาแล้วไม่เคยทำผิด
ไม่มีใครเลยในโลกนี้ที่จะไม่เคยผิดพลาด... ในชีวิต
ซึ่งก็อยู่ที่ว่าใครก้าวผิดมากผิดน้อยกว่าเท่านั้นเอง

(โดย..พระอาจารย์วิเชียร วชิรปัญโญ)


ที่มา : https://www.facebook.com/niravan1962#!/pages/Love-Friendship♥
เครดิตภาพ : Google

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ღ..ค ว า ม สุ ข ยิ้ ม ไ ด้.. ღ

ทุกขณะของใจที่ดี

หากจิตใจดีในทุกขณะของการดำเนินชีวิต
ทุกวันย่อมมีโอกาสที่จะเต็มไปด้วยสิ่งที่ดีได้
ถึงแม่ว่าสิ่งเลวร้ายจะแผ้วผ่านเข้ามาบ้าง
แต่อย่างน้อยเราก็จะตระหนักรู้ว่า
ควรกลับมาเริ่มต้นที่จะผ่านสิ่งเลวร้ายเหล่านั้น ณ จุดใด

ความดีเป็นสิ่งที่ต้องทำ

ความดีเป็นสิ่งที่ต้องทำ
ความดีไม่ใช่สิ่งที่ “ควร” ทำ แต่เป็นสิ่งที่ “ต้อง” ทำ
เพราะยิ่งมีความดีมากเพียงใด
ความดีเหล่านั้นย่อมมีพลังที่จะต่อต้าน ความชั่วที่ถาโถมเข้ามาได้
ถึงแม้ในเบื้องต้นอาจอ่อนกำลัง
จากการขับเคี่ยวกับความชั่วร้าย
แต่ก็เชื่อว่าช่วยทัดทานให้สิ่งร้ายๆ เดินทางช้าลง

ครูของชีวิต

คนที่สามารถยกระดับจิตให้อยู่เหนืออารมณ์ได้
ไม่ว่าสิ่งที่ดีหรือร้ายจะผ่านเข้ามา
สิ่งเหล่านั้นก็เป็นเสมือนครูคนหนึ่ง
ที่แวะผ่านมาเตือนลูกศิษย์ให้มีความรู้
ซึ่งอาจจะเป็นคำชมหรือไม้เรียวที่ฟาดลงไปอย่างหนักๆ
ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกลับทำให้ชีวิตนี้มีตาที่สว่าง
ในการมองเห็นคุณค่าที่มีอยู่ในตน

(คัดลอกบางตอนมาจาก : "ความสุขยิ้มได้" โดย ท่านชุติปัญโญ)

ที่มา : http://www.dhammajak.net
เครดิตภาพ : Google

พระธรรมเทศนาหลวงตามหาบัว

จิตนี้อยู่กับตัว คือความรู้ รู้อยู่กับตัว กิเลสก็แทรกอยู่กับความรู้นี้

และคอยกระซิบความรู้นี้ให้เป็นไปต่างๆ ในแง่ที่เป็นไปในทางต่ำเสมอ
สติปัญญาเป็นเครื่องกำจัด เป็นเครื่องกั้นกางกีดขวางสิ่งเหล่านี้ ที่เป็นของไม่ดี
ให้ผ่านพ้นออกไปได้ จิตใจจะได้สว่างกระจ่างแจ้งเด่นดวงขึ้นโดยลำดับๆ


มองเห็นอรรถเห็นธรรม มองเห็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์ มองเห็นสุขว่าเป็นสุข
มองเห็นสาระว่าเป็นสาระ มองเห็นสิ่งที่ไร้สาระว่าเป็นของไร้สาระโดยความจริง
และประสบพบเห็นความสุขความเจริญภายในใจ
นี่เป็นหลักใหญ่แห่งการประพฤติธรรม


ท่านเคยประพฤติมาอย่างนี้ เราก็ต้องประพฤติอย่างนี้
เพราะทางดำเนินเพื่ออรรถเพื่อธรรม ก็ต้องเหยียบย่ำทำลายหรือฝ่าฝืนกิเลส
คำว่า “กิเลส” ก็เหมือนขวากหนาม ต้องคอยทิ่มแทงเราอยู่เสมอ
การแก้ไขกิเลสจึงเป็นการลำบากบ้างเป็นธรรมดา
แต่ไม่ควรจะถือเอามาเป็นอุปสรรค


“ความตาย” นั้นน่ะ “ขวางหน้า” อยู่แล้วด้วยกันทุกคน!
เราอยู่ด้วยกัน เฉพาะอย่างยิ่งในขณะนี้ก็ล้วนมีความตายเต็มตัวด้วยกัน
ไม่มีใครยิ่งหย่อนกว่ากัน ความตายเต็มร่างกาย
และทุกวินาทีที่เรามานั่งอยู่ที่นี่ ก็เรียกว่า “ก้าวไปทุกชั่วโมง”
กาลเวลากินเข้าไปเรื่อยๆ เป็นวินาที เป็นนาที เป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี
เข้าไป เข้าไปจนถึงจุดแห่งความตาย แล้วก็ตายได้ด้วยกัน
อยู่ด้วยกัน แม้จะรักชอบกันขนาดไหน ความตายมันก็ไม่ได้ไว้หน้าใครทั้งนั้น
ถึงกาลแล้วก็ต้องพลัดพรากจากกันไป


ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงสอนว่า

สพฺเพ สตฺตา อันว่าสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้ร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น
อเวรา โหนฺตุ จงอย่าได้คาดเวร จงอย่าได้มีเวรแก่กันและกัน
อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ จงอย่าได้พยาบาท อาฆาต อย่าได้เบียดเบียนกัน
อนีฆา โหนฺตุ สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ
จงอย่าได้เกลียดหน่าย ชังกัน จงทำตนไปสู่ความสุขโดยทั่วกันเทอญฯ

คัดย่อจากพระธรรมเทศนาหลวงตามหาบัว "พุทธบริษัทพึงรู้และปฏิบัติตนอย่างไร"

ที่มา : http://www.dlitemag.com
เครดิตภาพ : Google


ღ ..ทำใจเป็นธรรม.. ღ

ทำใจเป็นธรรม
โดย...พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

ชีวิตมีทั้งวันวาน วันนี้ และวันพรุ่งนี้
เมื่อปัจจุบันธรรม เป็นสิ่งสำคัญของชีวิต
ชีวิตในวันนี้ จึงเป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึงมากกว่ากาลใดๆ
วันนี้มีไว้สำหรับแก้ไข ไม่ใช่แก้ตัว
แก้ตัว คือไม่ยอมรับความจริงในการทำผิดของตน
พยายามผลักความผิดไปให้ผู้อื่น หรือ...สิ่งแวดล้อม
แก้ไข คือยอมรับความจริง
หากมีอะไรผิดพลาดบกพร่อง ก็ยอมรับผิด
แล้วพยายามแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาตนเอง
คนดี ชอบหาดูจุดบกพร่องของตน
มีหิริโอตตัปปะ ละอายแก่ใจ กลัวบาป
คนชั่ว ชอบหาดูจุดบกพร่องของคนอื่น จับผิดคนอื่น
และคิดไปว่า ...เราดี เขาไม่ดี...
เมื่อเขาดีกว่า ก็คิด อิจฉา ริษยา น้อยใจ
ถ้าดีกว่าเขา ก็คิด ถือตัวถือตน ดูถูกดูหมิ่นเขา
เป็นสภาวะที่เกิด อัตตา เกิดตัวตน
อัตตาตัวตน และทุกข์ เป็นบริษัทเดียวกัน
อัตตาตัวตน สร้างขึ้นใช้เวลานานแสนนาน
เป็นเวลาหลายภพหลายชาติ
ด้วยอำนาจของอวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน
คิดผิดและสำคัญผิด

เมื่อใจดี จะไม่มีความคิด ...เป็นเรา เป็นเขา...
แต่จะเห็นสัตว์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ให้ ...เห็น... เป็นหลัก เป็นกิริยา
คนเรานั้นเมื่ออยู่ในสมมติโลก
เราต้องอยู่ด้วยกันหลายคน มองเห็นเป็นธรรม
ไม่ให้ตัวตนเข้าไปยึด ควบคุมจิตเป็นโอปนยิกธรรม
น้อมเข้ามาหาตนเสมอ พอใจ ไม่พอใจ
ศึกษาเป็นธรรม แยกแยะเป็นธรรม พิจารณาเป็นธรรม
อริยสัจ ๔ สติปัฏฐาน ๔ ใครทำให้เสื่อมลาภ หรือ มีลาภ
ใครทำให้เสื่อมยศ หรือ มียศ
ใครทำให้ถูกนินทา หรือ สรรเสริญ
ใครทำให้ทุกข์ หรือ สุข ...ใคร...ก็ไม่สำคัญ
ตัดออกจากความคิด ไม่มีใคร ไม่มีเขา ไม่มีเรา
มีแต่ทุกข์ และคิดหาทางออกจากทุกข์ให้ได้
พยายามลดอัตตาตัวตน ลดกิเลส ลดทุกข์
ใครทำความดี ยินดี อนุโมทนาในการทำความดี
ใครทำชั่ว ก็ให้เห็นปัญหาในการทำความชั่ว
ใคร ไม่สำคัญ เห็นเป็นกิริยา
เมื่อใครทำความชั่วในสังคมเรา รักษาใจเราเป็นกลางๆ
สุขภาพใจดี ใจดี มีเมตตา
ยกขึ้นมา ยกการทำชั่วขึ้นมาพิจารณา
ใคร ไม่สำคัญ หาวิธี แก้ไขตักเตือน สำรวม ระวัง
จัดการตามกฎหมาย จัดการตามวินัย ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้
ให้ลดปัญหาสังคมลง
ใจเราให้ตั้งมั่นใน เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ละมานะ ละอัตตา ให้ได้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้ วันนี้


ที่มา : คัดย่อจากหนังสือทำใจเป็นธรรม

เครดิตภาพ : Google

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

ღ..สามัคคีธรรมนำสันติสุข..ღ

ธรรมคำสอน หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

สามัคคีธรรมนำสันติสุข สร้างความสุขไว้ในชีวิตของตน...ไม่เดือดร้อนใคร
การเดือดร้อนนี้ไม่ใช่หมายความว่า เขาทำให้เราเดือดร้อน เราเดือดร้อนเอง...เราร้อนรุ่มกลุ้มใจเอง
เหมือนทำให้สนิมในใจเกิดขึ้นเป็นสนิมขุม คือ ผูกพยาบาท
มันกลัดกลุ้มอยู่ในหัวใจตลอดรายการ หาความสุขสบายใจไม่ได้เลย....

ที่มา : http://www.watchari.com
เครดิตภาพ : Google

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

ღ..สุข สงบ ร่มเย็น..ღ



ห้วงเวลาห้วงหนึ่งแห่งชีวิต ได้นำสังขารและจิตมาสัมผัสกับความสุขที่เป็น “ความสุขแท้”
ประโยคหนึ่งที่ดังก้องกังวานอยู่ในจิตใจเสมอ

“นำตัวกับใจมา”

เป็นคำพูดของพ่อแม่ครูอาจารย์ เป็นประโยคทองฝังจิตฝังใจเมื่อครั้งที่ได้มีโอกาสย่างก้าวเข้ามาสัมผัสดิน แห่งธรรมที่สุขสงบและร่มเย็นยิ่งแห่งนี้

ความสุขที่ไม่เคยได้สัมผัสมาก่อนในชีวิต

ความสุขที่ไม่ต้องแลกได้สิ่งที่สังคมเรียกว่า “เงิน”

ความสุขที่ไม่ต้องหาสิ่งตอบแทนมาซึ่งวัตถุธาตุใด ๆ

ความสุขที่เพียงแค่ใช้ใจน้อมเข้าสัมผัสและก้มกราบกรานพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

ความสุขแท้แห่งชีวิต ที่อุดมไปด้วยความสงบ

เป็นความสุขที่ไม่ถูกทับถมหรือมีเวทนาใด ๆ ซ้อนทับ

ข้อวัตรปฏิบัติที่ฝึกฝน “ตนและใจ” เป็นเครื่องขูดกิเลสต่าง ๆ ที่ตกตะกอนอยู่ในจิต ที่ฝังลึกอยู่ในใจ ความขี้เกียจขี้คร้านทางกาย
“ล้าง ตัวและล้างใจ” ขจัดสันดานซึ่งเป็นพฤติกรรมฝังลึก (Tacit Behavior) ที่ถูกหล่อหลอมด้วยสังคมนิยมทุน นิยมเงิน นิยมกาม นิยมกิน นิยมเกียรติ

กวาดพื้น เพื่อกวาดใจ

ถูพื้น เพื่อถูใจ

ล้างห้องน้ำ เพื่อล้างใจ
ทำและปฏิบัติสิ่งใด ๆ เพื่อล้างสันดานแห่งกิเลสให้ล่วงพ้นจากตัวและใจ

ความสุขที่อยู่บนฐานแห่ง “ศีล” นำมาซึ่งความร่มเย็นภายในใจฉันใด

ความสุขที่เกิดขึ้นในทุกขณะที่มีลมหายใจขณะนี้ จึงเป็นความสุขแท้ที่อิ่มเอมใจอย่างหาที่สุดและไม่มีประมาณได้ฉันนั้น

วัด ที่เป็นวัดโดยแท้
วัดที่ใจ

ที่มา : http://board.palungjit.com
เครดิตภาพ : Google

ღ..ธรรมะสุดยอด.. ღ

ธรรมะเป็นสิ่งที่อยู่เหนือคำพูด……
คำสอนธรรมะทั้งหลายนั้นมันเป็นคำสมมุติกันขึ้นมาพูด……
ตัวธรรมะแท้ๆนั้นอยู่เหนือคำพูด…..

ผู้มีปัญญารู้เห็นธรรมะ……ท่านไม่ต้องการอะไร…..ไม่เอาอะไรอีกแล้ว.
เพราะถ้าจะเอาความสุข…..ความสุขมันก็ดับ.
ถ้าจะเอาความทุกข์……ความทุกข์มันก็ดับ.
จะเอาวัตถุสมบัติข้าวของอะไรต่างๆ……สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันก็จะดับเหมือนกัน.
แม้นแต่ร่างกายที่คนหวงแหนกันนี้…..เกิดขึ้นแล้วที่สุดแล้วมันก็ดับ

คัดลอกจาก : วิมุตติธรรม คำสอนของหลวงพ่อชา สุภัทโท


ที่มา : http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_cha/lp-cha_60.htm
เครดิตภาพ : Google

ღ..เข้าใจว่าเป็นสุข..ღ

ธรรมคำสอนท่าน ก. เขาสวนหลวง

ชีวิตหมดไป วันหนึ่งๆ ด้วยการกินอิ่ม หลับนอนเพลิดเพลินไปอยู่กับความหลง สรรพสัตว์ก็เข้าใจว่าเป็นสุข

ไม่ได้รู้ ไม่ได้เข้าใจว่าในขณะเวลาเดียวกันนั้น ทุกข์ก็กำลังเกิดขึ้นกับตัวตน ทุกข์เพราะ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ใครบังคับไม่ได้ มันจัดการเล่นงานอยู่กับรูปกายของสรรพสัตว์ และก็ในขณะเดียวกัน ความอยากหนาตัณหาแรงก็เป็นตัวช่วยทิ่มแทง เล่นงานใจของสรรพสัตว์ เดี๋ยวโลก เดี๋ยวหลง เดี๋ยวโกรธ พยาบาท เดือดร้อนอยู่ไม่มีหยุด ไม่มีหย่อน


ผู้ที่พิจารณาตามรู้ได้โดยแยบคายมีน้อย ผู้ไม่รู้มีมากมาย

จึงมีแต่ผู้ที่หลงตัวเองว่า กำลังเป็นสุขนั้นอยู่ดาษดื่นทั่วทั้งโลก
ด้วยอุบายตื้นๆ เช่นนี้ กิเลสก็หลอกครองโลกได้ทั้งหมดทั่วไตรภพ คือ ตลอดกามภพ รูปภพ และอรูปภพ

เมื่อเข้าใจเช่นนั้นว่าเป็นสุข สรรพสัตว์ก็จึงหลงเสาะแสวงหา จึงได้แต่ภาพลวงตา ภาพลวงใจ เวียนว่ายตายเกิด อยู่มิรู้สิ้นสุด

ความไม่รู้จริง คือรู้ผิด เพียงเท่านี้ก็ทำให้ทางเดินในวัฎสงสารยาวไกลไม่รู้สิ้นสุด


เมื่อรู้จักคิดรู้จักพิจารณา เพียงรู้ความจริง ว่างจากตัวตนได้จริง เพียงเท่านี้ การเดินทางอันยาวไกลในวัฎสงสารก็จะสิ้นสุดลงได้ จบกรรม!

ที่มา : http://www.innovaclub.net/SMF-Board/index.php?topic=15331.0
เครดิตภาพ : Google

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

ღ..จิตสงบเย็น ไม่เป็นทุกข์..ღ.

ถ้าท่านไม่มองหาความสงบ...
ไม่ทำจิตให้ปล่อยวาง...
แต่หันไปอยากได้อยากดีกับสิ่งภายนอก...

เห็นสิ่งนั้นก็อยากได้อย่างนั้น...
เห็นสิ่งโน้นก็อยากได้สิ่งโน้น...
จิตของท่านก็จะสับสนวุ่นวาย และเป็นทุกข์...

แต่ถ้าท่านมองเห็นความสงบของ'จิต'....
และควบคุมจิตไม่ให้เกิดความอยาก...
ความทะเยอทะยานที่ไม่รู้จักพอ...ขึ้นมาแล้ว

จิตของท่านก็จะสงบเย็นอยู่ตลอดเวลา...
ไม่ว่าท่านจะยืน-เดิน-นั่ง หรือนอนที่ใดก็ตาม...
ไม่ว่าท่านจะเป็นคนร่ำรวยหรือยากจน..

สักเพียงใดก็ตาม....
ท่านก็จักไม่เป็นทุกข์...

ที่มา : บทความจากหนังสือ...ชีวิตเป็นสุข
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=11103
เครดิตภาพ : Google