วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ღ หัวใจแห่งธรรม ღ

สติปัฏฐานสี่หัวใจแห่งการเจริญสมาธิ


สติปัฏฐานคือธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติเป็นข้อปฏิบัติที่มีสติเป็นประธาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง เป็นการมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้ายที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี 4 อย่างคือ

1. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน คือการตั้งสติกำหนดพิจารณากาย การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย ประกอบด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

■อานาปานสติ คือ ไปในที่สงัด นั่งขัดสมาธิตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออกโดยอาการต่างๆ


■กำหนดอิริยาบถ คือ เมื่อยืน เดิน นั่ง นอน หรือร่างกายอยู่ในอาการอย่างไรๆ ก็รู้ชัดในอาการที่เป็นอยู่นั้นๆ

■สัมปชัญญะ คือ การสร้างสัมปชัญญะในการกระทำทุกอย่างและความเคลื่อนไหว เช่น การก้าวเดิน การเหลียวมอง การเหยียดมือ การนุ่งห่มผ้า การกิน การดื่ม การเคี้ยว การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การตื่น การหลับ การพูด การนั่ง เป็นต้น

■ปฏิกูลมนสิการ คือ การพิจารณาร่างกายของตน ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ซึ่งมีส่วนประกอบที่ไม่สะอาดต่างๆ มากมายมารวมๆ อยู่ด้วยกัน


■ธาตุมนสิการ คือ การพิจารณาร่างกายของตนโดยให้เห็นแยกประเภทเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ


■นวสีถิกา คือ มองเห็นศพที่อยู่ในสภาพต่างๆ กันโดยระยะเวลา 9 ระยะ ตั้งแต่ตายใหม่ๆ ไปจนถึงกระดูกผุแล้ว ในกรณีนั้นให้ย้อนมานึกถึงร่างกายของตนว่าจะต้องเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน

2. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา หมายถึงว่า การตามดูรู้ทันเวทนา คือ เมื่อเกิดความรู้สึกสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ก็รู้ชัดตามที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ

3. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต หมายถึง การตามดูรู้ทันจิต คือ จิตของตนในขณะนั้นๆ เป็นอย่างไร เช่น มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิหลุดพ้น ยังไม่หลุดพ้น ฯลฯ ก็รู้ชัดตามที่จิตเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ

4. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม เรียกสั้นๆ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม หมายถึง การตามดูรู้ทันธรรมคือ

■นิวรณ์ (สิ่งที่กีดกั้นขัดขวางการทำงานของจิต) ได้แก่ การรู้ชัดในขณะนั้นๆ ว่า นิวรณ์ 5 แต่ละอย่างคือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ (ความหดหู่ง่วงเหงา) อุทธัจจกุกุกจจะ (ความฟุ้งซ่านกังวลใจ) วิจิกิจฉา (ความสงสัยแคลงใจ) ที่มีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว ละเสียได้อย่างไร เมื่อละได้แล้ว ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปอย่างไร รู้ชัดตามที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ


■ขันธ์ คือ กำหนดรู้ว่า ขันธ์ 5 แต่ละอย่างคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร


■อายตนะ คือ รู้ชัดในอายตนะภายในภายนอกแต่ละอย่างๆ รู้ชัดในสังโยชน์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยอายตนะนั้นๆ รู้ชัดว่า สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้ว ไม่ให้เกิดขึ้นได้อีกต่อไปอย่างไร


■โพชฌงค์ (องค์แห่งการตรัสรู้ คือ สติ ธรรมวีจียะ วิริยะ ปีติ มัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา) โดยรู้ชัดในขณะนั้นๆ ว่า โพชฌงค์แต่ละอย่างๆ มีอยู่ในจิตใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดแล้วเจริญให้เต็มบริบูรณ์ได้อย่างไร


■อริยสัจ คือ รู้ชัดอริยสัจ 4 แต่ละอย่างๆ ตามความเป็นจริงว่า คืออะไร เป็นอย่างไร และจะทำให้รู้แจ้งเห็นจริงได้เมื่อใด

ซึ่งการเจริญสติปัฏฐานสี่นี่เราสามารถที่จะนำมาพิจารณาได้อยู่เนื่องๆ ทุกๆ วัน ทุกๆ อริยาบถ ไม่จำเป็นเฉพาะในขณะที่เรานั่งสมาธิ เราสามารถใช้หลักสติปัฏฐานสี่นี้พิจารณา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมได้ตลอดเวลาทุกลมหายใจเข้าออก เท่าที่เราจะมีสติกำหนดพิจารณา การหมั่นเจริญสติปัฏฐานสี่นี้ทำให้เรามีสติระลึกรู้สภาวะของจิต สภาวะของธรรมที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ ทำให้จิตของเราสามารถรู้อยู่เป็นอยู่ เมื่อเรามีสภาวะทุกข์ผ่านเข้ามาในชีวิต ผู้ที่พิจารณาอยู่เนื่องๆ จะสามารถที่จะอยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ เข้าใจในสัจจะธรรมและมีสติเข้าไปช่วยแก้ปัญหาในชีวิตที่เกิดขึ้น เป็นของดีของแท้ที่พระพุทธองค์ท่านได้วางแนวทางไว้ให้พุทธบริษัทได้ปฏิบัติตามเพื่อความหลุดพ้นแห่งกองทุกข์

ด้วยเหตุนี้จึงสรุปองค์อริยมรรคแห่งสมาธิในที่นี้คือ สติปัฏฐานสี่ ที่เป็นพื้นฐานแห่งการชำระพฤติกรรมทุกอย่าง ทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ให้บริสุทธิ์ อิสระ ไม่ตกเป็นทาสแห่งอำนาจตัณหา อุปาทาน ใช้สัมปชัญญะทำให้ร่างกายและจิตใจอยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่าเป็นตัวของตัวเอง ผ่อนคลาย รู้สึกเป็นสุข พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆ ได้อย่างได้ผลดีแล้วควบคุมรักษาสภาวะจิตนี้ให้อยู่ในสภาวะปกติ อันเรียกได้ว่าจิตเป็นสมาธิ โดยการยึดหรือจับอารมณ์ที่เป็นวัตถุแห่งการพิจารณาวางไว้ต่อหน้า แล้วจึงพิจารณาวิเคราะห์ให้เห็นจริงตามสภาพข้อเท็จจริง ดังนั้น การตั้งสติเข้าไปตั้งอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลดีที่สุด

ที่มา : http://kaewariyah.com
เครดิตภาพ : Google

ღ ความรัก ღ

คติธรรมสำหรับคู่รัก
โดย..ท่านว.วชิรเมธี

จงรักด้วยสมอง แต่อย่ารักจนขึ้นสมอง
ที่ใดมีรัก (อย่างขาดสติ) ที่นั่นมีทุกข์
ที่ใดมีรัก (อย่างมีสติ) ที่นั่นมีสุข

ความรัก ควรถูกนำมาใช้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างอนาคตที่ดีร่วมกัน ไม่ใช่เป็นตัวทำลายอนาคต

รักแท้ที่ยั่งยืน ควรวางรากฐานอยู่บนทฤษฎี ๔ ส. กล่าวคือ
๑. สมศรัทธา มีศรัทธาเสมอกัน (เชื่อมั่นศรัทธาในสิ่งเดียวกัน)
๒. สมศีลา มีศีลเสมอกัน (ไม่นอกใจซึ่งกันและกัน)
๓. สมจาคา มีความเสียสละเสมอกัน (ลืมความเป็นเธอ ลืมความเป็นฉัน หลอมกันเป็นเรา)
๔. สมปัญญา มีปัญญาเสมอกัน (มีระดับสติปัญญาเสมอหรือใกล้เคียงกัน)

อย่ารักจนหน้ามืดตามัว จนมองไม่เห็นหัวกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมของสังคม
อย่ารักจนหน้ามืดตามัว กระทั่งมองไม่เห็นหัวของมารดรบิดาบังเกิดเกล้า

ทุกครั้งที่มีความรัก ควรเผื่อใจไว้สำหรับการอกหักที่อาจจะเกิดขึ้นได้เสมอ
ที่ใดมีรัก ที่นั่น (อาจมีทุกข์) ที่ใดมีกิ๊ก ที่นั่นมีกรรม, ที่ใดมีชู้ ที่นั่นมีช้ำ

ทุกคนที่มีความรัก ควรภาวนาคาถากันน้ำตาไหลที่ว่า “ไม่แน่ ไม่ได้ดั่งใจ ไม่มีอะไรสมบูรณ์” เอาไว้เสมอ
เลือกคนรักอย่ามองแค่หน้าตา แต่จงพิจารณาไปถึงนิสัย สติปัญญา และคุณธรรม

ผู้ชายจงมองให้เห็นความเป็นแม่ที่มีอยู่ในผู้หญิง ส่วนผู้หญิงจงมองให้เห็นความเป็นพ่อที่มีอยู่ในผู้ชาย
ความรักไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต อย่าอุทิศทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความรักจนเสียผู้เสียคน

จงเรียนรู้ที่จะพัฒนาความรักจากระดับสามัญไปสู่รักที่สร้างสรรค์เพื่อเกื้อกูลโลก เพราะมนุษย์ทุกคนมี
ความสามารถที่จะรักได้มากกว่าการรักตัวเอง

รักแท้ที่ควรสร้างสรรค์มี ๔ ระดับ คือ
๑. รักตัวกลัวตาย (รักพื้นฐานระดับสัญชาตญาณ)
๒. รักใคร่ปรารถนา (รักอิงกามารมณ์)
๓. รักเมตตาอารี (รักอิงสายเลือดและสายสัมพันธ์)
๔. รักมีแต่ให้ (รักที่ลอยพ้นอัตตา ต้องการพัฒนาทั้งโลกให้มีความสุข)


ที่มา : http://dhammatoday.org
เครดิตภาพ : Google

คติธรรม..หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล

ถ้าหากภูมิจิตของผู้ปฏิบัติจะมองเห็นแต่เพียงกายทั้งหมดนี้เป็นแต่เพียงธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ
รู้แต่เพียงว่าธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ และภูมิจิตของท่านอยู่แค่นั้น
ก็มีความรู้เพียงแค่ชั้นสมถกรรมฐาน
ถ้าภูมิจิตของผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติความรู้ไปสู่พระไตรลักษณ์
ถ้าหากมีอนิจจสัญญา
ความสำคัญมั่นหมายว่าไม่เที่ยง
ทุกขสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นทุกข์ (เพราะตั้งอยู่ไม่ได้)
อนัตตสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่าไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง
ภูมิจิตของผู้ปฏิบัตินั้นก็ก้าวเข้าสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา


ที่มา : http://watbangnoynai.igetweb.com
เครดิตภาพ : Google

คติสอนใจ..ไม้ขีดไฟ เพียงอันเดียว

ชีวิตคนเราอาจเปรียบได้กับไม้ขีดไฟ

ก้านไม้ขีด..ก็เหมือนกันเวลาชีวิตของเรา
เวลาชีวิตของเรา..หากมองจริงๆ ก็แสนจะสั้นเหลือเกิน เมื่อเรามีบางสิ่งบางอย่างทำ
บางคน..อาจมองว่าชีวิตของเรา ทำไมมันช่างแสนจะยาวนานนัก
เพราะนั่น..คือการที่เรายังไม่ได้จุดไม้ขีดไฟ

เมื่อเกิดการเสียดสีกับกล่องไม้ขีด ไฟก็จะลุกโชน
ในช่วงเวลาที่เราเริ่มจุดไม้ขีดนั้น
ไม้ขีดบางอัน ก็อาจจะลุกติดในทันที แต่บางอัน ก็ต้องใช้เวลานานกว่าจะติด
ไฟ..ก็เปรียบเสมือนงาน หรือจุดมุ่งหมายของเรา

บางคน...กว่าจะค้นหาเป้าหมายของตัวเองเจอ ก็ช่างนานแสนนาน
และเมื่อจะเริ่มทำเป้าหมายที่วางไว้ให้สำเร็จ..หัวไม้ขีดก็เก่าเสียแล้ว
จะจุดไม้ขีดก็ต้องยากเป็นธรรมดา
เมื่อไฟลุกติด..เมื่อเราเริ่มทำความฝันให้เป็นความจริง

ไฟก็จะมอดก้านไม้ขีด..เวลาแห่งชีวิต เวลาแห่งอิสระก็เริ่มจะสั้นลงๆ
ขณะที่ไฟลามไปยังก้านไม้ขีด
บางอันอาจจะช้า บางอันอาจจะเร็ว ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งต่างๆ
ตอนที่ไฟลุกอยู่...อาจจะมีลมแรงพัดผ่านเข้ามา อาจจะมีฝนตก ไฟก็อาจจะดับได้

เมื่อลุกมาถึงกลางก้านไม้ขีดแล้ว ก็เป็นไปไม่ได้ที่ไฟจะกลับมาลุกโชนอีกครั้งได้ง่ายๆ
ก็จำเป็นต้องพึ่งไม้ขีดอีกอัน พึ่งเพื่อนรักของเรา มาประคองไฟให้ลุกใหม่ได้อีกครั้ง
เมื่อจุดหมายของเราใกล้จะประสบความสำเร็จ ก้านไม้ขีดที่เหลือก็มีอยู่น้อยเต็มทีแล้ว
แต่เมื่อใดที่ไฟสุดท้ายของไม้ขีดดับมอดลง เมื่อวาระสุดท้ายของคนเรามาถึง
ก็จำเป็นที่จะต้องจากไป

แต่ประโยชน์ที่เราสร้างไว้ จุดหมายที่ประสบความสำเร็จ ไฟที่สร้างความสว่างไสวเอาไว้
แม้จะเป็นแค่เพียงไฟดวงเล็กๆ แต่ก็ได้สร้างประโยชน์เอาไว้ให้แก่คนรอบข้าง

และบางที
ก้านไม้ขีดไฟอันนี้…ก็อาจนำไปเพื่อจุดกองไฟกองโต
เพื่อความสว่างไสวและอบอุ่นของคนมากมาย..ตลอดคืน

ในทางกลับกัน..บางคนอาจกล่าวว่า
ถ้าเราไม่จุดไฟ..เราก็มีก้านไม้ขีดที่เหลืออีกมากมายเหลือเฟือ

แต่ถ้าหากเราปล่อยก้านไม้ขีดเอาไว้อย่างนั้น
นานวันเข้า..นานวันเข้า
ก้านไม้ขีดก็จะจุดติดยาก หรืออาจจะจุดไม่ติด
พอถึงวันนั้น..
คนที่จะใช้ไม้ขีดก็คงจะทำอะไรไปไม่ได้...นอกจากจะต้องทิ้งไม้ขีดไฟก้านนั้นทิ้งไป...



ที่มา : http://board.postjung.com
เครดิตภาพ : Google

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

_♠_ละได้ย่อมสงบ_♠_

คติธรรมคำสอนโดย..หลวงปู่ทวด

ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้

ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ทุกอย่างในโลกนี้

เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้น

ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข

ละได้..ย่อมสงบ


ที่มา : http://board.palungjit.com
เครดิตภาพ : Google

_♠_ความรู้สึกตัว_♠_

ความรู้สึกตัว...ที่เกิดขึ้นมาทีละขณะนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับหยดน้ำ
ที่เรากำลังสะสมทีละหยด..ทีละหยด

น้ำหนึ่งหยดนั้น..อาจดูเหมือนทำอะไรไม่ได้มาก
แต่เมื่อจากหนึ่งเป็นสอง..สองเป็นสิบ..สิบเป็นร้อย..มากเข้า ๆ
และเราก็ยังสะสมต่อไปเรื่อย ๆ น้ำหนึ่งหยดก็จะกลายเป็นน้ำหนึ่งถัง
..และเป็นน้ำจำนวนมหาศาลที่สามารถสร้างพลังงาน
สร้างสรรค์ประโยชน์เพิ่มเป็นทวีคูณในไม่ช้า

เช่นกันกับ..ความรู้สึกตัว..ที่เมื่อเราสะสมจนมีความต่อเนื่องมากพอ
ความรู้สึกตัวนี้..ก็จะมีพลังทำให้เราค้นพบชีวิตที่เป็นอิสระ
สามารถอยู่ร่วมกับความรู้สึกต่าง ๆ ได้โดยไม่เจ็บปวด
หรือโดนทำร้ายเหมือนที่เคยเป็น


ที่มา : http://board.palungjit.com
เครดิตภาพ : Google

_♠_ความคิด_♠_

คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้...ต้องหยุดคิดให้ได้..จึงรู้
แต่ก็ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละ..จึงรู้
คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มี เพื่ออาศัยสิ่งนั้นเป็นผู้ปฏิบัติธรรม
ต้องปฏิบัติถึงสิ่งที่ไม่มี และอยู่กับสิ่งที่ไม่มี..

คติธรรมของ........หลวงปู่ดุลย์ อตุโล


ที่มา : http://www.blogger.com
เครดิตภาพ : Google

_♠_ธรรมแท้_♠_

๐ ธรรมแท้ ๆ ! เป็นกลาง ๆ ..
ใคร ? ปล่อยวางได้..ก็.."สบาย
"

๐ ธรรมแท้ ๆ ! ไม่มี..สู้!..ไม่มี..หนี!
เพียงแต่..ดู-รู้-ตรง "ปัจจุบัน" นี้
แล้วก็..ปล่อยไป..เท่านั้นเอง!

๐ น้ำไม่ไหล! ขังไว้..ย่อม..เน่า ฉันใด!
จิตที่..รู้เรื่องอะไร ? แล้วไม่ยอมปล่อย
ย่อม "ทุกข์" ฉันนั้น..


ที่มา : http://board.palungjit.com
เครดิตภาพ : Google

_♠_ธรรมะโอวาท หลวงพ่อชา_♠_

"การละบาป เป็นสิ่งสำคัญมากกว่าการทำบุญ
ถ้าทำบาปแลกบุญจะขาดทุนเรื่อยไป"


"ใจจะสงบได้ ก็เพราะความเห็นที่ถูกต้อง"


"ธรรมดาจิตนั้นนะ..มันมีเวลาขยัน และขี้เกียจ
ถ้าทำเพียรด้วยสัจจะ เราต้องทำเรื่อยทั้งที่ขี้เกียจ
ทำจิตให้จิตรู้อยู่ การรู้ภายใน การฉลาดภายในจิตจะเป็นอย่างนี้
การทำทุกวัน บางทีสงบ บางทีไม่สงบ เป็นอนิจจัง"


"เมื่อมีปัญญาเกิดขึ้นในจิตใจของเราแล้ว
จะมองไปที่ไหน..จะมีแต่ธรรมะทั้งนั้น
เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตลอดเวลา"


ที่มา : http://board.palungjit.com
เครดิตภาพ : Google

_♥_ยุ่งยาก*เยือกเย็น_♥_

ยุ่งยาก กับ เยือกเย็น

ในยามที่เราพบกับความยุ่งยาก ต้องพึ่งพาความเยือกเย็น
ค่อย ๆ ย้อนลงไปแยกแยะสาเหตุแห่งปัญหา ที่ทำให้เราเร่าร้อน

เราจะเอาชนะความยุ่งยากของชีวิตได้ ด้วยการเอาชนะความวิตกกังวล
ที่เกิดขึ้นในใจของเราเสียก่อน

จงมองดูความวิตกกังวลของตนเอง มองดูว่ามันทำให้เราเอาชนะปัญหาของเรา
หรือมันทำให้เราหมดพลัง และพ่ายแพ้

ปัญหาต่าง ๆ ของชีวิตผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ความทุกข์ยากที่เราคิดว่ามันแสนสาหัส
สำหรับเราในวันนี้ ในวันข้างหน้าเราอาจรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อย..

ที่มา : http://board.palungjit.com
เครดิตภาพ : Google