วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ღ ปัญญาขั้นต้น ღ

ตามกระแสพระธรรมเทศนาของสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "ทุกข์" เป็นของไม่ควรละ แต่เป็นของควรต่อสู้




ความทะยานอยากได้สุขหรือไม่อยากให้มีทุกข์ต่างหาก เป็นของควรละ

ผู้ที่จะพ้นจากทุกข์ได้ในโลกนี้ ก็ล้วนแล้วแต่ยกทุกข์ขึ้นมาเป็นเหตุทั้งนั้น

ทุกข์กับความเพียรเท่านั้นที่มีค่ามากในโลกนี้ หากไม่มีทุกข์กับความเพียรเสียแล้ว ใคร ๆ ในโลกนี้ จะไม่ทำความดีเพื่อพ้นทุกข์ในโลกนี้และโลกหน้า ตลอดถึงพระนิพพาน



แท้จริงความนึกคิดไม่ใช่ทุกข์ แต่การไปยึดความนึกคิดมาเป็นของตน จึงเป็นทุกข์



หลักอนัตตา ในทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาอันชอบ พระองค์มิได้ตรัสว่าอนัตตาเป็นของไม่มีตนไม่มีตัว เป็นของว่างเปล่า พระองค์ตรัสว่า ตนตัวคือร่างกายของคนเรา อันได้แก่ขันธ์ทั้ง ๕ นี้ มันมีอยู่แล้ว แต่จะหาสิ่งเป็นสาระในขันธ์ ๕ นั้นไม่มี ดังนี้ต่างหาก

การเห็นความฟุ้งซ่านของจิตนั้นคือ “ปัญญาขั้นต้น"



โอวาทธรรมหลวงปู่เทศก์ เทสรังสี



ที่มา : www.luangpordu.com
เครดิตภาพ : Google







ღ พุทธโอวาท ღ




ความทุกข์ทั้งมวลมีมูลรากมาจากตัณหาอุปาทานความทะยานอยากดิ้นรน และความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราเป็นของเรา รวมถึงความเพลินใจในอารมณ์ต่าง ๆ



สิ่งที่เข้าไปเกาะเกี่ยวยึดถือไว้โดยความเป็นตนเป็นของตนที่จะไม่ก่อทุกข์ก่อโทษให้นั้นไม่มี หาไม่ได้ในโลกนี้



เมื่อใดบุคคลเห็นสักแต่ว่าได้เห็น ฟังสักแต่ว่าได้ฟัง รู้สึกสักแต่ว่าได้รู้สึก เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เพียงสักแต่ว่า

ไม่หลงใหล พัวพัน มัวเมา เมื่อนั้นจิตก็จะว่างจากความยึดถือต่าง ๆ ปลอดโปร่งแจ่มใสเบิกบานอยู่



เธอ จงมองดูโลกนี้ โดยความเป็นของว่างเปล่า (ไม่มีสาระแก่นสารอันใด) มีสติอยู่ทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฏฐิ คือ ความยึดมั่นถือมั่นเรื่องตัวตนเสีย



ด้วยประการฉะนั้น เธอจะเบาสบายคลายทุกข์คลายกังวล ไม่มีความสุขใดยิ่งไปกว่าการปล่อยวาง และการสำรวมตนอยู่ในธรรม





ที่มา : http://www.dharma-gateway.com
เครดิตภาพ : www.facebook.com/nawatt.shutter.

ღ คติธรรมพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ღ


~ ..ดูใจเรา พัฒนาตัวเอง


ทำใจเราให้ปกติ หัด-ฝึก ปล่อยวาง

ไม่มีอะไรสำคัญกว่าการตามรักษาจิตของเรา

คิดดี พูดดี ทำดี มีความสุข.. ~






คัดย่อจาก : www.dhammajak.net
เครดิตภาพ : www.facebook.com/nawatt.shutter

ღ สติ รักษาสมาธิ ღ





สิ่งที่รักษาสมาธินี้ไว้ได้ คือสติ สตินี้เป็นธรรมเป็นสภาวธรรมอันหนึ่ง ซึ่งให้ธรรมอันอื่นๆ ทั้งหลายเกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียง สตินี้ก็คือชีวิต ถ้าขาดสติเมื่อใดก็เหมือนตาย ถ้าขาดสติเมื่อใดก็เป็นคนประเภท ในระหว่างขาดสตินั้น พูดไม่มีความหมาย การกระทำไม่มีความหมาย ธรรมคือสตินี้คือความระลึกได้ในลักษณะใดก็ตาม สติเป็นเหตุให้สัมปชัญญะเกิดขึ้นมาได้ เป็นเหตุให้ปัญญาเกิดขึ้นมาได้ ทุกสิ่งสารพัด



ธรรมทั้งหลายถ้าหากว่าขาดสติ ธรรมทั้งหลายนั้นไม่สมบูรณ์ อันนี้คือการควบคุม การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ไม่ใช่เพียงขณะนั่งสมาธิเท่านั้น แม้เมื่อเราออกจากสมาธิไปแล้ว สติก็ยังเป็นสิ่งประจำใจอยู่เสมอ มีความรู้อยู่เสมอ เป็นของที่มีอยู่เสมอ ทำอะไรก็ต้องระมัดระวัง เมื่อระมัดระวังทางจิตใจ ความอายมันก็เกิดขึ้นมา การพูด การกระทำอันใดที่ไม่ถูกต้อง เราก็อายขึ้น อายขึ้น เมื่อความอายกำลังกล้าขึ้นมา ความสังวรก็มากขึ้นด้วย เมื่อความสังวรมากขึ้น ความประมาทก็ไม่มี



ธรรมคำสอนหลวงพ่อชา สุภัทโท



ที่มา : http://www.baanjomyut.com

เครดิตภาพ : Google