วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความอร่อยกลางกองทุกข์ (ความลวงของกาม)


มาคัณ ฑิยะ! บุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล สุกปลั่ง ถูกตัวเชื้อโรคแทะกัดอยู่ ใช้เล็บเกาปากแผลอยู่ รมตัวอยู่ที่หลุมถ่านไฟ. มาคัณ ฑิยะ! เขาทำ เช่นนั้นอยู่เพียงใด, ปากแผลของเขา ก็ยิ่งไม่สะอาด ยิ่งมีกลิ่นเหม็น และเปื่อยเน่ามากยิ่งขึ้น อยู่เพียงนั้น, จะมีความรู้สึกสักว่า ความพอใจ และความสบายเนื้ออยู่บ้าง ก็ตรงที่แผลได้รับการเกาหรื​อการอบอุ่น เพราะไฟนั้นเป็นเหตุข้อนี้ม​ีอุปมาฉันใด;
มาคัณ ฑิยะ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ สัตว์ทั้งหลาย ยังเป็นผู้ไม่ไปปราศจากความ​กำหนัดในกามทั้งหลาย ถูกกามตัณหาแทะกัดอยู่ ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผด​เผาอยู่ ก็ยังขืนเสพกามทั้งหลายอยู่​นั่นเอง. มาคัณฑิยะ! เขายังทำ เช่นนั้น อยู่เพียงใด, กามตัณหาของสัตว์ทั้งหลายเห​ล่านั้น ย่อมเจริญขึ้นด้วย เขาถูกความเร่าร้อนเพราะกาม​แผดเผาอยู่ด้วย และสัตว์เหล่านั้น จะมีความรู้สึกสักว่าความพอ​ใจ และความสบายเนื้ออยู่บ้าง ก็ตรงที่รสอันอาศัยกามคุณ๕ เป็นเหตุอยู่เพียงนั้น เท่านั้นแล.
ม. ม. ๑๓/๒๗๔/๒๘๕

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ღ...สาระแห่งชีวิต.. ღ



ความรัก ความเมตตา ความเข้าใจ ความห่วงใย และความไม่เห็นแก่ตัวเป็นรากฐานของสันติสุขในชีวิตและสันติภาพในสังคม หากแต่ละคนได้บ่มเพาะเมล็ดพนธ์แห่งรักและสิ่งที่ดีงามเหล่านี้ให้เกิดขึ้นและดูแลรักษาให้เจริญงอกงามในดวงจิตน้อยๆ ไม่นานหรอกดอกรัก ดอกเมตตาและดอกไม้แห่งพุทธะ คือ รู้ ตื่น และเบิกบาน จะเบ่งบานแผ่ขยายกระจายเป็น พลังแห่งรัก ออกไปจากแต่ละบุคคล สู่ครอบครัว จากแต่ละครอบครัว สู่ชุมชน จากแต่ละชุมชนสู่ประเทศ จากแต่ละประเทศ สู่สังคมโลก

“จงส่งมอบพลังแห่งรักไปสู่ทุกดวงจิต
เพราะเมื่อเราให้สิ่งดีๆกับคนอื่นเท่ากับเปิดโอกาสให้สิ่งดีๆเข้าสู่ตัวเรา”

คัดลอกจาก : หนังสือ “สาระแห่งชีวิต คือรักและเมตตา” พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ღ..ดีไม่ดี…อยู่ที่ใจเรา.. ღ


ดีไม่ดี…อยู่ที่ใจเรา
ธรรมคำสอนหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

ดีไม่ดี... อยู่ที่ใจเรา
หัวเราะ... เมื่ออยากหัวเราะ
ร้องไห้... เมื่ออยากร้องไห้
และต้องหัวเราะให้ได้หลังร้องไห้ทุกครั้ง!
อย่าทำอะไรที่ไม่อยากทำ...
จงทำอะไรที่ใจอยากทำ!
ตัวหนังสือ... เขียนผิด... ลบได้
การกระทำ... ทำผิด... เอาอะไรลบ
นึกว่าหมากำลังไล่ฟัดซิ...!
... จะได้รีบวิ่งรี่เข้าเส้นชัย...
... ล้มเมื่อไรจะได้รีบลุก...

ทุกย่างก้าว ของ ความฝัน คือ ก้าวอย่าง ของ ความเหน็ดเหนื่อย
ทุกก้าวย่าง ของ ความเหน็ดเหนื่อย คือ ก้าวย่าง ของ ความสำเร็จ

ต่อให้ทุกข์ที่สุด... ก็ต้องผ่านพ้นไปจนได้
เมื่อเรานั่งมองอดีต เรายังผ่านทุกข์มาได้ตั้งหลายทุกข์
ในเมื่อ... ชีวิต... มันยังมีชีวิต
ขอแค่อย่าทุกข์ก่อนเจอทุกข์
หลังทุกข์ อย่าทุกข์อีก
ให้ทุกข์ แค่ตอนทุกข์
แล้วทุกข์ที่สุด... ก็จะเป็นทุกข์แค่นี้เอง!

ให้ทำหน้าที่ทุกหน้าที่ด้วยหัวใจ
ให้หัวใจตระหนักในหน้าที่...
แล้วเราจะไม่รู้สึกว่าหน้าทีี่เป็นหน้าที่
แต่เป็นการกระทำที่เกิดจาก... หัวใจเรียกร้อง... ต่างหาก

ดีไม่ดี... อยู่ที่ใจเรา...
ถ้าใจเรา... คิดดี ก็จะเจอแต่สิ่งดีๆ
ถ้าเรามองในทางที่ดี... ใจเราก็จะรู้สึกดี
ถ้ากำลังใจดี... สิ่งเลวร้าย... ก็จะคลี่คลายเป็น... ดี!

ที่มา : http://www.trueplookpanya.com

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ღ..พลิกกิเลสให้เป็นธรรม..ღ




พลิกกิเลสให้เป็นธรรม
ธรรมคำสอนโดย..หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

กิเลสที่มีอยู่ในจิตในใจของเรานั้น อย่าไปพยายามละแต่ต้องมีสติปัญญา กำหนดพิจารณาให้รู้ว่า เรามีกิเลสตัวใด ในเมื่อเรารู้ว่า เรามีกิเลส โลภ โกรธ หลง เราพยายามใช้กิเลสให้เกิดประโยชน์โดยความเป็นธรรม อย่าปล่อยให้โลภ โกรธ หลง มันพาเราไปทำบาปทำชั่ว ที่เราจะป้องกันอำนาจของกิเลส โลภ โกรธ หลง ไม่ให้พาเราไปทำบาปทำชั่ว เราต้องยึดศีล ๕ เป็นหลัก

เรายังมีกิเลส โลภ โกรธ หลง มากน้อยเพียงใด
พยายามดูจิตของเราให้มันรู้ว่ามีกิเลสตัวไหน
ในเมื่อเรารู้แล้ว เราจะใช้กิเลสให้เกิดประโยชน์อย่างไร
จึงมีความยุติธรรม หรือเป็นไปเพื่อความสันติสุขในสังคมมนุษย์
ถ้าหลง หลงในคุณงามความดี
ถ้าโกรธ โกรธความชั่ว ความไม่ดี ความบาป
ถ้าโลภ โลภในการสร้างคุณธรรมให้มีให้เกิดขึ้นในจิตในใจ
ให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา
สร้างพลังสมาธิปัญญาให้แก่กล้า
ที่มา : http://agaligohome.com/index.php?topic=4370.15

ღ..รากธรรม..ღ



รากไม้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลำต้นทรงตัวอยู่ได้ฉันใด ศีลธรรมก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บุคคลทรงคุณค่าอยู่ได้ฉันนั้น ธรรมชาติแห่งพุทธะในตัวคนแต่ละคนอาจเปรียบได้กับผลไม้แต่ละผลหรือเมล็ดข้าวเปลือก ถ้าหากได้เพาะในดินชุ่มมีเงื่อนไขต่างๆ พอเหมาะก็จะงอกขึ้นมาเป็นต้น ส่วนจะช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับสภาพของเมล็ดพืชนั้นๆ เปรียบได้กับมนุษย์ที่อยู่ในโลกนี้ บางคนต้องอาศัยกาลเวลา ที่จะกล่อมเกลาให้เข้าใจในศีลธรรม แต่บางคนเพียงแค่ได้สัมผัสสัจธรรมเพียงเล็กน้อยก็เข้าใจในศีลธรรมคำสั่งสอน และสามารถดับทุกข์ให้ตัวเองได้เช่นเมื่อรู้ว่ามีทุกข์ ต้องมีเหตุแห่งทุกข์ คือ "สมุทัย" แฝงอยู่เมื่อรู้เหตุแห่งทุกข์ก็ย่อมรู้จักดับทุกข์คือ"นิโรธ"และรู้วิธีดับทุกข์คือ"มรรค"ถ้าเรารู้แจ้งเพียงเท่านี้เราก็จะเป็นผู้พ้นทุกข์ และอยู่ในโลกใบนี้อย่างมีคุณค่าทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น

ที่มา : Veera เหลืองชมพูเหนือหัวชาวไทย-Dha7
https://www.facebook.com/photo.php

ღ..วางใจเป็นกลาง ละวางความทุกข์..ღ



วางใจเป็นกลาง ละวางความทุกข์
โดย…หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

ความทุกข์ที่บังเกิดขึ้นที่จิต เพราะอาศัยความยินดียินร้าย
เป็นตัวสมุทัยหนุนให้เกิดทุกข์
ทุกข์ตัวนี้ คือทุกข์อริยสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
เมื่อเรามีสติกำหนดอารมณ์จิตของเราอยู่ตลอดเวลา
สุขทุกข์เกิดสลับกันไป เมื่อสติสัมปชัญญะตัวนี้เด่นขึ้น
มีพลังแก่กล้าขึ้นเมื่อใด เราสามารถที่จะกำหนดรู้
รู้ธรรมะตามความเป็นจริง…
เมื่อจิตของท่านสามารถที่จะดำรงอยู่ในความเป็นปกติ
ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์นั้น ๆ
ความเป็นปกติจิตปรากฏเด่นชัดอยู่ตลอดเวลา
ตัวปกติของจิตนั่นแหละคือตัวนิโรธ
เพราะฉะนั้น การกำหนดรู้อารมณ์จิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ที่มา : http://agaligohome.com/index.php?topic=4370.15

ღ..รู้อะไรก็ไม่สู้รู้ใจตนเอง..ღ


รู้อะไรก็ไม่สู้รู้ใจตนเอง
ธรรมคำสอนโดย..หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

ถ้าเราพิจารณาธรรมะ เราพิจารณาที่ใจเรา น้อมเข้ามาที่ใจมารู้อยู่ที่ใจ นึกแต่เพียงว่าสิ่งภายนอกเป็นแต่เพียงอารมณ์สิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติเท่านั้น

รู้นอกเป็นสมุทัย รู้ในเป็นมรรค
ถ้าไปรู้นอก เป็นเหตุให้สร้างบาปสร้างกรรม
ถ้ารู้เข้ามาในเป็นเหตุให้ละวาง
ความรู้ที่จำเป็นที่สำคัญที่สุด ก็คือรู้จิตรู้ใจของเราเอง
ว่าปัจจุบันนี้สภาพจิตใจของเราเป็นอย่างไร เศร้าหมองหรือผ่องใส มีกิเลสตัวไหนอยู่ในใจเราบ้าง เมื่อเรารู้ความจริงของตัวเราแล้ว เราจะแก้ไขดัดแปลงอย่างไรนั้น
ก็ขึ้นอยู่กับความตั้งใจของเรา อ่านจริตของเราให้รู้ว่า เราเป็นราคะจริต โทสจริต โมหะจริต วิตกจริต พุทธิจริต ศรัทธาจริต อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจะดูให้รู้แจ้ง เพื่อจะเป็นพื้นฐานที่เราจะแก้ไขดัดแปลงจิตของเรา เมื่อเรารู้ชัดลงไปแล้ว เรามีกิเลสตัวไหน เป็นจริตประเภทไหน เราจะได้แก้ไขดัดแปลง ตัดทอนสิ่งที่เกินแล้วเพิ่มสิ่งที่หย่อนให้อยู่ในระดับพอดีพองาม เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา

ที่มา : http://agaligohome.com/index.php?topic=4370.15